สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย CONFEDRATION OF THAI LABOUR (CTL)
นาย มนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย
ประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.)
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
มุ่งมั่นอาสา..พัฒนาเศรษฐกิจ..พิชิตความจน..สู้ทนเพื่อคนขายแรงกิน
การเยียวยาผู้ประกันตน จากพิษโควิด-19 จะดำเนินการได้เต็มรูปแบบหรือไม่ ร่วมพูดคุยกับ คุณมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย กับประเด็น "หวั่นเสถียรภาพกองทุนประกันสังคม เหตุชดเชยผู้รับผลกระทบโควิด-19" ในรายการ Inside รัฐสภา (16 เม.ย. 63)
#วิทยุรัฐสภา FM 87.5 MHz พร้อมกัน 14 เครือข่ายทุกภูมิภาค และ AM 1071 KHz
วันที่ 12 เมษายน 2563 คณะกรรมการสภาฯพัฒนาฯ ได้ประชุมหารือปัญหาแรงงานในสถานการณ์โควิค ณ สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย จ.สมุทรปราการ
เผยข้อมูลไตรมาสสุดท้ายปี 62 นายจ้างหันใช้ม.75 ไม่มีออเดอร์ให้ลูกจ้างทำงานที่บ้าน -ได้เงินชดเชย แต่บางแห่งปิดถาวร กระทบลูกจ้างตกงานเพียบ! เตรียมดันแก้อัตราจ่ายเงินว่างงานเพิ่ม
“จากการติดตามการใช้สิทธิรับเงินชดเชยกรณีว่างงาน พบว่ามีเงินกองทุนที่มีอยู่ประมาณเกือบ 2 แสนล้านบาท ไม่มีการไหลออกเลย ก็ไม่รู้ทำไมคนว่างงานถึงไม่ไปใช้สิทธิรับเงินทดแทนการว่างงานตรงนี้ กรณีเลิกจ้างจะได้ชดเชยร้อยละ 50 ของเงินเดือนติดต่อกันนาน 6 เดือน ถ้าลาออกจะได้ ร้อยละ 30 นาน 3 เดือน เป็นต้น ดังนั้นตนพยายามตามเรื่องเดิมที่เคยยื่นต่อม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รมว.แรงงาน ให้ดำเนินการแก้ไขเรื่องการจ่ายชดเชยทุกกรณีว่างงานต้องจ่ายให้ร้อยละ 75 ของเงินเดือน เพราะต่อให้คนที่ถูกไล่ออก เขาก็ยังเป็นคนที่ส่งเงินสมทบอยู่ ถ้าให้แค่ร้อยละ 30 เท่ากับว่าเขาไม่ได้ใช้เงินที่เขาสมทบมาเลย” นายมนัส กล่าว
นายมนัส กล่าวอีกว่า กลุ่มที่มีการใช้มาตรา 75 มากสุดคือกลุ่มยานยนต์ แล้วกรณีสมัครใจลาออกก็เป็นกลุ่มยานยนต์ ส่วนกลุ่มสิ่งทอนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2561 แล้ว นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยตอนนี้เรื่องการปิดกิจการถาวรก็มี แต่ยังไม่เห็นตัวเลขชัดเจน ส่วนสถานการณ์ปี 2563 ตนยังไม่มีตัวเลขในมือ แต่ในเครือสภาพัฒน์ที่ตนดูอยู่นั้นไม่มีการปิดกิจการ แต่กลุ่มอื่นๆ ต้องดูตัวเลขส่วนกลาง เพราะไม่มั่นใจว่าที่มีปัญหาจากสหรัฐอเมริกาตัดจีเอสพีนั้นจะรวนมาถึงปี 2563 หรือไม่ หากรัฐบาลแก้เกมไม่ได้ แต่แน่นอนที่สุดเรามองดูจีนว่าเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของไทย ใหญ่กว่าอเมริกา โดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ทุนใหญ่ของจีน 1 ใน 3 อยู่ที่ประเทศไทย หากจีนกับอเมริกามีปัญหามากขึ้น จีนอาจจะมีการย้ายฐานการผลิตบางส่วนที่อเมริกามาอยู่ที่ไทยก็ได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จะทำให้เกิดการจ้างงานในประเทศไทยมากขึ้น สิ่งสำคัญ สภาฯ จะผลักดันให้มีการปรับเพิ่มอัตราเงินทดแทนว่างงานทุกกรณีต้องจ่าย 75%ของค่าจ้าง
อนึ่ง ปัจจุบันการจ่ายเงินกรณีว่างงาน จะแบ่งเป็น 1.กรณีถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างจะได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน 50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน 2.กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ลูกจ้างได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน 30% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน และ3.กรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณชนและถึงขนาดผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้หรือนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติได้รับเงินทดแทน ลูกจ้างจะได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน
สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ได้จัดกิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2565 และยื่นข้อเรียกร้องต่อท่านนายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) โดย ท่านมนัส โกศล ประธานสภาฯ และนายภาคภูมิ สุกใส เลขาธิการสภาฯ เป็นคณะกรรมการจัดวันแรงงานแห่งชาติในปีนี้ .. และในปีนี้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นายสุชาติ ชมกลิ่น) เป็นประธานเปิด ณ กระทรวงแรงงาน .. และทางสภาฯได้จัดริ้วขบวนจากสนามหลวงไปยังกระทรวงแรงงาน ..
สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ได้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปีครั้งที่ 29/2564 ในอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ห้องราชพฤกษ์ ร้านอาหารครัวบุญเลิศ ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทปราการ มีสหภาพแรงงานสมาชิกสังกัดสภาฯเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ 100 กว่าสหภาพแรงงาน .. มีการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “เศรษฐกิจไทยหลังยุคโควิด - ๑๙ กับการพัฒนาคุณภาพแรงงานไทยและความเป็นไปได้ในการจัดตั้งธนาคารแรงงาน, โรงพยาบาลประกันสังคม” โดย อ.วิมล ปั้นคง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและส่งเสริมการวิจัยสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา เป็นผุู้บรรยาย และได้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีฯ ตามวาระ
เมื่อวันที่ 23 มกราคม พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “โรงพยาบาลประกันสังคมและธนาคารแรงงาน” ซึ่งจัดโดย คณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย และเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) ที่โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ กรุงเทพมหานคร โดยมี นายณรงค์ รัตนานุกูล เลขานุการคณะกรรมาธิการการแรงงาน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านการประกันสังคม และประธานคณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทางการจัดทำประมวลกฎหมายแรงงานและศึกษาแนวทางการจัดตั้งธนาคารแรงงาน กล่าวรายงาน นายมนัส โกศล คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย (สพท.) นายสุรชัย กำพลานนท์วัฒน์ อดีตรองกรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย พล.ต.ท.นพ.ธนา ธุระเจน กรรมการการแพทย์ กองทุนประกันสังคม และประธานอนุกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งโรงพยาบาล (รพ.) ประกันสังคม เป็นวิทยากรร่วมเวทีการสัมมนา โดยถ่ายทอดสดการสัมมนาผ่านเฟซบุ๊ก ไลฟ์ วุฒิสภา และศูนย์ประสานงานรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ด้านแรงงาน
รมว.แรงงานจับมือสภาองค์การลูกจ้างฯ มอบเครื่องอุปโภคบริโภคให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานในสถานการณ์โควิด-19
20 สิงหาคม 64 เวลา 10.00 น.ที่ห้องประชุมคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการฯนายมนัส โกศล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน,สำนักเลขาฯรมต.รง,คณะทำงานรัฐมนตรีฯซึ่งได้รับมอบหมายจากท่านรัฐมนตรีฯให้มารับหนังสือขอความช่วยเหลือจากสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทยในฐานะผู้บริหารโครงการลดความเหลื่อมการเข้าถึงสิทธิและการบริการ ด้านสุขภาวะให้กับผู้ใช้แรงงาน โดยมีตัวแทนจากคณะทำงานโครงการฯที่มาขอให้กระทรวงแรงงานโดยขอให้ประกันสังคมได้ดำเนินการจัดหาชุดตรวจหาเชื้อโควิด ATK ที่ได้รับอย.ให้กับผู้ประกันตนม33./39/40 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือในราคาถูกเพื่อการเข้าถึงสิทธิและบริการการป้องกันและคัดกรองโรคเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้แรงงาน