สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย CONFEDRATION OF THAI LABOUR (CTL)
นาย มนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย
อดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีด้านแรงงาน
อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
มุ่งมั่นอาสา..พัฒนาเศรษฐกิจ..พิชิตความจน..สู้ทนเพื่อคนขายแรงกิน
การเยียวยาผู้ประกันตน จากพิษโควิด-19 จะดำเนินการได้เต็มรูปแบบหรือไม่ ร่วมพูดคุยกับ คุณมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย กับประเด็น "หวั่นเสถียรภาพกองทุนประกันสังคม เหตุชดเชยผู้รับผลกระทบโควิด-19" ในรายการ Inside รัฐสภา (16 เม.ย. 63)
#วิทยุรัฐสภา FM 87.5 MHz พร้อมกัน 14 เครือข่ายทุกภูมิภาค และ AM 1071 KHz
วันที่ 12 เมษายน 2563 คณะกรรมการสภาฯพัฒนาฯ ได้ประชุมหารือปัญหาแรงงานในสถานการณ์โควิค ณ สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย จ.สมุทรปราการ
เผยข้อมูลไตรมาสสุดท้ายปี 62 นายจ้างหันใช้ม.75 ไม่มีออเดอร์ให้ลูกจ้างทำงานที่บ้าน -ได้เงินชดเชย แต่บางแห่งปิดถาวร กระทบลูกจ้างตกงานเพียบ! เตรียมดันแก้อัตราจ่ายเงินว่างงานเพิ่ม
“จากการติดตามการใช้สิทธิรับเงินชดเชยกรณีว่างงาน พบว่ามีเงินกองทุนที่มีอยู่ประมาณเกือบ 2 แสนล้านบาท ไม่มีการไหลออกเลย ก็ไม่รู้ทำไมคนว่างงานถึงไม่ไปใช้สิทธิรับเงินทดแทนการว่างงานตรงนี้ กรณีเลิกจ้างจะได้ชดเชยร้อยละ 50 ของเงินเดือนติดต่อกันนาน 6 เดือน ถ้าลาออกจะได้ ร้อยละ 30 นาน 3 เดือน เป็นต้น ดังนั้นตนพยายามตามเรื่องเดิมที่เคยยื่นต่อม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รมว.แรงงาน ให้ดำเนินการแก้ไขเรื่องการจ่ายชดเชยทุกกรณีว่างงานต้องจ่ายให้ร้อยละ 75 ของเงินเดือน เพราะต่อให้คนที่ถูกไล่ออก เขาก็ยังเป็นคนที่ส่งเงินสมทบอยู่ ถ้าให้แค่ร้อยละ 30 เท่ากับว่าเขาไม่ได้ใช้เงินที่เขาสมทบมาเลย” นายมนัส กล่าว
นายมนัส กล่าวอีกว่า กลุ่มที่มีการใช้มาตรา 75 มากสุดคือกลุ่มยานยนต์ แล้วกรณีสมัครใจลาออกก็เป็นกลุ่มยานยนต์ ส่วนกลุ่มสิ่งทอนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2561 แล้ว นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยตอนนี้เรื่องการปิดกิจการถาวรก็มี แต่ยังไม่เห็นตัวเลขชัดเจน ส่วนสถานการณ์ปี 2563 ตนยังไม่มีตัวเลขในมือ แต่ในเครือสภาพัฒน์ที่ตนดูอยู่นั้นไม่มีการปิดกิจการ แต่กลุ่มอื่นๆ ต้องดูตัวเลขส่วนกลาง เพราะไม่มั่นใจว่าที่มีปัญหาจากสหรัฐอเมริกาตัดจีเอสพีนั้นจะรวนมาถึงปี 2563 หรือไม่ หากรัฐบาลแก้เกมไม่ได้ แต่แน่นอนที่สุดเรามองดูจีนว่าเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของไทย ใหญ่กว่าอเมริกา โดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ทุนใหญ่ของจีน 1 ใน 3 อยู่ที่ประเทศไทย หากจีนกับอเมริกามีปัญหามากขึ้น จีนอาจจะมีการย้ายฐานการผลิตบางส่วนที่อเมริกามาอยู่ที่ไทยก็ได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จะทำให้เกิดการจ้างงานในประเทศไทยมากขึ้น สิ่งสำคัญ สภาฯ จะผลักดันให้มีการปรับเพิ่มอัตราเงินทดแทนว่างงานทุกกรณีต้องจ่าย 75%ของค่าจ้าง
อนึ่ง ปัจจุบันการจ่ายเงินกรณีว่างงาน จะแบ่งเป็น 1.กรณีถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างจะได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน 50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน 2.กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ลูกจ้างได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน 30% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน และ3.กรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณชนและถึงขนาดผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้หรือนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติได้รับเงินทดแทน ลูกจ้างจะได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเวทีเสวนา “โรคระบาดโควิด – 19 กับการปฏิรูปการส่งเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ” จัดโดย สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย (สพท.) และเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เน้นย้ำ ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะของคนทำงานให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้คนทำงานมีสุขภาพอนามัยที่ดี
วันที่ 19 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.00 น. หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้เกียรติ เป็นประธานเปิดงานเสวนา “โรคระบาดโควิด – 19 กับการปฏิรูปการส่งเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ” โดยมีนายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน ร่วมเป็นเกียรติในการเปิดงานเสวนาฯ ดังกล่าว ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น 5 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน
วันที่ 26 พฤษภาคม 2563
สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเสวนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "แรงงานในระบบและนอกระบบ ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ..
โดยนายมนัส โกศล ประธานสภาฯ นำเสนอสถานการณ์ผลกระทบต่อแรงงานในระบบจากสถานการณ์โควิด-19 .. และนางภรณี ภู่ประเสริฐ ผุู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) พูดถึงบทบาท สสส. ต่อการสร้างเสริมสุขภาวะเครือข่าย "แรงงานในระบบ" ทั้งในสถานการณ์ปกติ และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
พร้อมได้มอบชุุดอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 หน้ากากอนามัย และเจลแอลกอฮอล์
13/5/63 ท่านประธานมนัสฯคุณนิคม คุณภาคภูมิทนายศรศาสตร์ นำลูกจ้างเข้าร้องเรียนต่ออธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สรุปปัญหาการช่วยเหลือลูกจ้างบ.นครหลวงถุงเท้าไนล่อน จก.อ.สามพราน จ.นครปฐม
1 พฤษภาคม 2563 สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย โดยนายมนัส โกศล ประธานสภาฯ และคณะกรรมการ ที่ปรึกษา ผูู้นำแรงงาน ได้แถลงการณ์ต่อสาธารณะชนโดยไลฟ์สดทางเฟชบุ๊คสภาฯ ตั้งแต่เวลา 14.00 น. และได้จัดทำหนังสือเพื่อยื่นข้อเรียกร้องถึงท่านนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับแก้ไขปัญหาแรงงานในปัจจุบัน. ณ สำนักงานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย จังหวัดสมุทรปราการ
https://www.youtube.com/watch?v=gsT3wFsyzkA
27/4/2563 สภาฯพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย(สพท)และเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน(คปค.)ไปยื่นหนังสือถึงพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี )
โดยมีข้อเสนอให้มีคำชี้แจงและกำหนดให้หลักเกณฑ์ให้ชัดเจนถึงมาตรการการบังคับใช้กฎกระทรวงฯฉบับวันที่17เมษายน2563กรณีหยุดงาน อันเนื่องจากเหตุสุดวิสัย ที่ลูกจ้างจะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน เพื่อมิให้นายจ้างจะหลบเลี่ยงกฎหมาย ที่ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย แต่อ้างเหตุสุดวิสัย จะทำให้กองทุนเสียหายและเรื่องให้รัฐจัดงบมาสนับสนุนกองทุนประกันสังคมให้ลูกจ้างที่ว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยตามพรบประกันสังคมมาตรา24วรรคสองเป็นการเฉพาะ โดยคัดค้านนโยบายที่สปสจะนำดอกผลที่เกิดจากการลงทุนของเงินกองทุนฯมาใช้ในกรณีว่างงานจะทำให้กองทุนมีเงินลดน้อยลง