ReadyPlanet.com
dot dot
งานสานเสวนา "นโยบายรัฐกับความร่วมมือการส่งเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ"

 เมื่อวันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2561 เวลา 09.30-15.00 น. ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร 

ชั้น 5 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทยและเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกันจัดเวทีสานเสวนานโยบายรัฐกับความร่วมมือการส่งเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ

สามารถสรุปสาระสำคัญรวม 5 ประเด็น ได้แก่

(1)   กล่าวรายงานโดยเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.)

(2) กล่าวต้อนรับและเปิดสานเสวนาปาฐกถาพิเศษ หัวข้อนโยบายรัฐกับความร่วมมือการส่งเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

(3)   นำเสนอสาระสำคัญโครงการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ
(คพสก.)

(4)   สานเสวนา บทบาทและความร่วมมือภาครัฐกับภาคีที่เกี่ยวข้อง

(5)   สรุปการเสวนา

 

 
   
   
   
   
   

 

(1) กล่าวรายงานโดยเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.)

นายมนัส โกศล ประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) กล่าวรายงานดังนี้

ในนามของผู้จัดงานขอขอบพระคุณที่ท่านรัฐมนตรีได้มาเป็นเกียรติในการเปิดงานสานเสวนาในครั้งนี้ การคุ้มครองแรงงานให้มีความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในระดับนโยบายของภาครัฐ เนื่องจากเป็นการป้องกันหรือทำให้แรงงานปลอดเหตุอันจะทำให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจหรือสุขภาพอนามัยอันเนื่องจากการทำงาน

ดังนั้นการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน จึงต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนเพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ แม้ ภาครัฐจะมีนโนบายชัดเจนในเรื่องดังกล่าว แต่หากการดำเนินกิจการไม่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยที่มีมาตรฐานและเป็นระบบแล้ว สถานประกอบกิจการนั้นก็มีความเสี่ยงต่อความสูญเสียโอกาสทางธุรกิจและความมั่นคงได้

ดังข้อเท็จจริงซึ่งเป็นปัญหาต่อเนื่องประการหนึ่งของสถานประกอบกิจการในประเทศไทย คือ การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างที่ทำงาน ซึ่งยังคงมีจำนวนการประสบอันตรายค่อนข้างสูง กล่าวคือมีจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนการประสบอันตรายของลูกจ้างทั่วประเทศ

พบว่า สถานประกอบกิจการยังขาดกลไกการจัดการระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 4 ด้าน คือ กลไกด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจ , กลไกด้านการจัดการและติดตามระบบความปลอดภัยและอาชีว
อนามัย
, กลไกด้านการให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจริงจังและมุ่งมั่นของผู้บริหาร และกลไกด้านการมีส่วนรวมอย่างจริงจังของผู้ที่มีส่วนได้เสีย

 

ด้วยสถานการณ์ที่กล่าวมาทั้งหมด โครงการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ (คพสก.) ภายใต้สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ผ่านการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้จัดเวทีสานเสวนานโยบาย นโยบายรัฐกับ ความร่วมมือการส่งเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการขึ้นมาในวันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2561
ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น 5 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร

 โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการดังนี้

1) เพื่อพัฒนากลไกความร่วมมือทั้งในส่วนของหน่วยงานภาครัฐ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและองค์กรแรงงานในสถานประกอบการ นักวิชาการ เพื่อการพัฒนาแนวทางการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ

2) เพื่อเสริมศักยภาพผู้นำแรงงานและองค์กรเครือข่ายให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการเข้าถึงสิทธิและบริการการคัดกรองโรค ทั้งที่เนื่องจากการทำงานและไม่เนื่องจากการทำงาน

3) เพื่อให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขระเบียบหรือประกาศหรือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับสถานประกอบการต้นแบบการส่งเสริมป้องกันโรคทั้งที่เนื่องจากการทำงานและไม่เนื่องจากการทำงาน

มีองค์กรที่เข้าร่วมประมาณ 14 องค์กร รวม 90 คน ประกอบด้วย 1) ผู้แทนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 2) ผู้แทนสำนักงานประกันสังคม (สปส.) 3) ผู้แทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) 4) ผู้แทนกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 5) ผู้แทนกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 6) ผู้แทนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 7) ผู้แทนสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) 8) ผู้แทนสภาองค์การนายจ้าง 9) ผู้แทนสภาองค์การลูกจ้าง 10) ผู้แทนเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) และ 11) ผู้แทนสถานประกอบการ

การจัดเวทีครั้งนี้จะนำไปสู่ผลดังนี้

1) การได้รับความร่วมมือทั้งในส่วนของหน่วยงานภาครัฐ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและองค์กรแรงงานในสถานประกอบการ นักวิชาการ เพื่อการพัฒนาแนวทางการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ

2) ผู้นำแรงงานและองค์กรเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการเข้าถึงสิทธิและบริการการคัดกรองโรค ทั้งที่เนื่องจากการทำงานและไม่เนื่องจากการทำงาน

3) ได้แนวทางการปรับปรุงแก้ไขระเบียบหรือประกาศหรือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับสถานประกอบการต้นแบบการส่งเสริมป้องกันโรคทั้งที่เนื่องจากงานและไม่เนื่องจากงาน

 

(2) กล่าวต้อนรับและเปิดสานเสวนาปาฐกถาพิเศษ หัวข้อนโยบายรัฐกับความร่วมมือการส่งเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวต้อนรับและเปิดสานเสวนาปาฐกถาพิเศษ หัวข้อนโยบายรัฐกับความร่วมมือการส่งเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

วันนี้ผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งในการเปิดงานเสวนาในครั้งนี้ ขอเรียนว่ารัฐบาลนี้ได้เข้ามาบริหารประเทศกว่า 4 ปีเศษ ภารกิจสำคัญ คือ การขับเคลื่อนประเทศตามแนวทางการปฏิรูป 7 ด้าน และการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่วางไว้ นายกรัฐมนตรีมีความมุ่งหวังว่า ประเทศไทยต้องหลุดพ้นจากความยากจน ประชาชนร่ำรวยขึ้น มีรายได้สูงขึ้น โดยมีเทคโนโลยี 4.0 เป็นเครื่องมือในการวางแผน เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน แต่ยังยึดถือความพอเพียงและไม่ทิ้งคนระดับล่างที่ยากจนอยู่

นายกรัฐมนตรีได้วางกรอบการพัฒนาไว้ 6 ด้าน คือ ความมั่นคงของประเทศ , ความสามารถในการแข่งขัน ยืนให้ได้ในแถวหน้าของโลก , การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ , การลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมในสังคม, ความยั่งยืนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการกลไกต่างๆเชิงระบบ

ประชากรในประเทศไทยมี 66 ล้านคน มีวัยแรงงานประมาณ 38 ล้านคน ในจำนวนนี้มีงานทำ 37 ล้านคน มีคนว่างงาน 4 แสนคน ถือว่าว่างงานน้อยที่สุดในระดับโลก มีคนไปทำงานต่างประเทศประมาณ 4 แสนกว่าคน มีแรงงานข้ามชาติประมาณ 3 ล้านคน มีผู้สูงอายุ 11 ล้านคน คนพิการ 1 ล้านกว่าคน ดังนั้นการขับเคลื่อนด้านความปลอดภัยนี้จึงต้องดำเนินการให้ครบถ้วนทุกด้านทุกกลุ่มแรงงานให้ได้

นโยบายของกระทรวงแรงงานได้ให้ความสำคัญกับการยกระดับฝีมือแรงงานให้มีทักษะ นี้เป็นเป้าหมายสำคัญ ดังนั้นการทำงานของคนงานในสถานประกอบการจึงต้องอาศัยเทคโนโลยี ภาษา เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันกระทรวงก็ยังให้ความสำคัญกับหลักความปลอดภัยและการมีระบบประกันสังคมรองรับ วันนี้มีแรงงานในระบบเข้าสู่ระบบประกันสังคม 15 ล้านคน แรงงานนอกระบบ 2 ล้านกว่าคน

 

การเสวนาวันนี้จึงถือได้ว่าจะนำไปสู่การทำให้แรงงานเกิดความยั่งยืน มีงานทำ และถูกหลักตามความปลอดภัย ตามหลักการยศาสตร์ ที่วันนี้ยังคงมีประชากรไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เจ็บป่วย พิการ ถือเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจกว่า 9 แสนล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงมาก ดังนั้นการทำให้แรงงานมีทักษะฝีมือตามนโยบายที่ผมกล่าวมานั้น จึงต้องมีมิติสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัยร่วมด้วยควบคู่กันไป

(3) นำเสนอสาระสำคัญโครงการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ (คพสก.)

สืบเนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่มุ่งเน้นการสร้างคนให้มีคุณภาพ ด้วยยุทธศาสตร์ดังกล่าวนี้โครงการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ (คพสก.) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย จึงเกิดขึ้นมาเพื่อเสริมสร้างสุขภาพหรือสุขภาวะคนทำงาน ภายใต้ระยะเวลาทำงาน 18 เดือน มีสถานประกอบการต้นแบบจำนวน 20 แห่งเป็นสถานประกอบการนำร่องในการดำเนินการ โดยโครงการฯเห็นว่าที่ผ่านมาหลายสถานประกอบการก็มีห้องพยาบาลอยู่แล้ว การยกระดับห้องพยาบาลให้เป็นศูนย์ primary health care จึงสำคัญ ทั้งเพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพคนทำงาน การลดความแออัดในโรงพยาบาล ตลอดจนการดูแลพนักงานในสถานประการให้ปลอดโรคต่างๆ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการดังนี้

1) เพื่อเสริมศักยภาพและสนับสนุนกระบวนการทำงานของผู้นำแรงงานและองค์กรเครือข่ายในการขับเคลื่อนและรณรงค์นโยบายสู่การปฏิบัติ เพื่อการเข้าถึงสิทธิและบริการการคัดกรองโรค ทั้งที่เนื่องจากการทำงานและไม่เนื่องจากการทำงาน และมีการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง

2) เพื่อให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขระเบียบหรือประกาศหรือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับสถานประกอบการต้นแบบการส่งเสริมป้องกันโรค ทั้งที่เนื่องจากการทำงานและไม่เนื่องจากการทำงาน

3) เพื่อพัฒนากลไกความร่วมมือทั้งในส่วนของหน่วยงานภาครัฐ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและองค์กรแรงงานในสถานประกอบการ นักวิชาการ เพื่อการพัฒนาแนวทางการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ

โดยมีเป้าหมายโครงการ คือ สถานประกอบการต้นแบบจัดการปัญหาความไม่ปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งเป็นผลกระทบต่อสุขภาพ ความปลอดภัยในการทำงานและสภาพแวดล้อม โดยใช้ข้อมูลสถานการณ์ การขับเคลื่อนนโยบายด้านการคัดกรองและการส่งเสริมป้องกันโรคทั้งที่เนื่องจากงานและไม่เนื่องจากงาน ผ่านกลไกการมีส่วนร่วมจากภาคีความร่วมมือ ทั้งหน่วยงานรัฐ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและองค์กรแรงงานในสถานประกอบการ สู่การปฏิบัติจริงในระดับพื้นที่

มีขั้นตอนและวิธีการทำงาน 5 ขั้นตอน คือ 1) การเสริมศักยภาพผู้นำและกลไกการดำเนินงาน 2) การจัดทำข้อมูลวิชาการสนับสนุนการดำเนินงาน 3) สนับสนุนการจัดกิจกรรมรณรงค์และขับเคลื่อนนโยบายทั้งการผลักดันให้เกิดกฎหมายลำดับรองและการนำนโยบายสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่/กลุ่มต่างๆ 4) จัดเวทีนโยบายสาธารณะ/เวทีวิชาการหรือเวทีเสวนาเชิงนโยบาย และ 5) การติดตาม ประเมินผลและสรุปบทเรียน

กำหนดพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงาน 9 พื้นที่ โดยมีการคัดเลือกองค์กรแรงงานในพื้นที่ ซึ่งได้จากพื้นที่การทำงานเดิมในระยะการดำเนินงานที่ผ่านมาและมีการเพิ่มพื้นที่ใหม่ ประกอบด้วย สมุทรปราการ กรุงเทพ ชลบุรี ระยอง สระบุรี อยุธยา ปราจีนบุรี ปทุมธานี และนนทบุรี


สืบเนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่มุ่งเน้นการสร้างคนให้มีคุณภาพ ด้วยยุทธศาสตร์ดังกล่าวนี้โครงการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ (คพสก.) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย จึงเกิดขึ้นมาเพื่อเสริมสร้างสุขภาพหรือสุขภาวะคนทำงาน ภายใต้ระยะเวลาทำงาน 18 เดือน มีสถานประกอบการต้นแบบจำนวน 20 แห่งเป็นสถานประกอบการนำร่องในการดำเนินการ โดยโครงการฯเห็นว่าที่ผ่านมาหลายสถานประกอบการก็มีห้องพยาบาลอยู่แล้ว การยกระดับห้องพยาบาลให้เป็นศูนย์ primary health care จึงสำคัญ ทั้งเพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพคนทำงาน การลดความแออัดในโรงพยาบาล ตลอดจนการดูแลพนักงานในสถานประการให้ปลอดโรคต่างๆ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการดังนี้

1) เพื่อเสริมศักยภาพและสนับสนุนกระบวนการทำงานของผู้นำแรงงานและองค์กรเครือข่ายในการขับเคลื่อนและรณรงค์นโยบายสู่การปฏิบัติ เพื่อการเข้าถึงสิทธิและบริการการคัดกรองโรค ทั้งที่เนื่องจากการทำงานและไม่เนื่องจากการทำงาน และมีการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง

2) เพื่อให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขระเบียบหรือประกาศหรือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับสถานประกอบการต้นแบบการส่งเสริมป้องกันโรค ทั้งที่เนื่องจากการทำงานและไม่เนื่องจากการทำงาน

3) เพื่อพัฒนากลไกความร่วมมือทั้งในส่วนของหน่วยงานภาครัฐ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและองค์กรแรงงานในสถานประกอบการ นักวิชาการ เพื่อการพัฒนาแนวทางการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ

โดยมีเป้าหมายโครงการ คือ สถานประกอบการต้นแบบจัดการปัญหาความไม่ปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งเป็นผลกระทบต่อสุขภาพ ความปลอดภัยในการทำงานและสภาพแวดล้อม โดยใช้ข้อมูลสถานการณ์ การขับเคลื่อนนโยบายด้านการคัดกรองและการส่งเสริมป้องกันโรคทั้งที่เนื่องจากงานและไม่เนื่องจากงาน ผ่านกลไกการมีส่วนร่วมจากภาคีความร่วมมือ ทั้งหน่วยงานรัฐ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและองค์กรแรงงานในสถานประกอบการ สู่การปฏิบัติจริงในระดับพื้นที่

มีขั้นตอนและวิธีการทำงาน 5 ขั้นตอน คือ 1) การเสริมศักยภาพผู้นำและกลไกการดำเนินงาน 2) การจัดทำข้อมูลวิชาการสนับสนุนการดำเนินงาน 3) สนับสนุนการจัดกิจกรรมรณรงค์และขับเคลื่อนนโยบายทั้งการผลักดันให้เกิดกฎหมายลำดับรองและการนำนโยบายสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่/กลุ่มต่างๆ 4) จัดเวทีนโยบายสาธารณะ/เวทีวิชาการหรือเวทีเสวนาเชิงนโยบาย และ 5) การติดตาม ประเมินผลและสรุปบทเรียน

นายภาคภูมิ สุกใส ผู้จัดการโครงการ นำเสนอสาระสำคัญโครงการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ (คพสก.) ดังนี้ 

สืบเนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่มุ่งเน้นการสร้างคนให้มีคุณภาพ ด้วยยุทธศาสตร์ดังกล่าวนี้โครงการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ (คพสก.) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย จึงเกิดขึ้นมาเพื่อเสริมสร้างสุขภาพหรือสุขภาวะคนทำงาน ภายใต้ระยะเวลาทำงาน 18 เดือน มีสถานประกอบการต้นแบบจำนวน 20 แห่งเป็นสถานประกอบการนำร่องในการดำเนินการ โดยโครงการฯเห็นว่าที่ผ่านมาหลายสถานประกอบการก็มีห้องพยาบาลอยู่แล้ว การยกระดับห้องพยาบาลให้เป็นศูนย์ primary health care จึงสำคัญ ทั้งเพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพคนทำงาน การลดความแออัดในโรงพยาบาล ตลอดจนการดูแลพนักงานในสถานประการให้ปลอดโรคต่างๆ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการดังนี้

1) เพื่อเสริมศักยภาพและสนับสนุนกระบวนการทำงานของผู้นำแรงงานและองค์กรเครือข่ายในการขับเคลื่อนและรณรงค์นโยบายสู่การปฏิบัติ เพื่อการเข้าถึงสิทธิและบริการการคัดกรองโรค ทั้งที่เนื่องจากการทำงานและไม่เนื่องจากการทำงาน และมีการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง

2) เพื่อให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขระเบียบหรือประกาศหรือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับสถานประกอบการต้นแบบการส่งเสริมป้องกันโรค ทั้งที่เนื่องจากการทำงานและไม่เนื่องจากการทำงาน

3) เพื่อพัฒนากลไกความร่วมมือทั้งในส่วนของหน่วยงานภาครัฐ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและองค์กรแรงงานในสถานประกอบการ นักวิชาการ เพื่อการพัฒนาแนวทางการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ

โดยมีเป้าหมายโครงการ คือ สถานประกอบการต้นแบบจัดการปัญหาความไม่ปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งเป็นผลกระทบต่อสุขภาพ ความปลอดภัยในการทำงานและสภาพแวดล้อม โดยใช้ข้อมูลสถานการณ์ การขับเคลื่อนนโยบายด้านการคัดกรองและการส่งเสริมป้องกันโรคทั้งที่เนื่องจากงานและไม่เนื่องจากงาน ผ่านกลไกการมีส่วนร่วมจากภาคีความร่วมมือ ทั้งหน่วยงานรัฐ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและองค์กรแรงงานในสถานประกอบการ สู่การปฏิบัติจริงในระดับพื้นที่

มีขั้นตอนและวิธีการทำงาน 5 ขั้นตอน คือ 1) การเสริมศักยภาพผู้นำและกลไกการดำเนินงาน 2) การจัดทำข้อมูลวิชาการสนับสนุนการดำเนินงาน 3) สนับสนุนการจัดกิจกรรมรณรงค์และขับเคลื่อนนโยบายทั้งการผลักดันให้เกิดกฎหมายลำดับรองและการนำนโยบายสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่/กลุ่มต่างๆ 4) จัดเวทีนโยบายสาธารณะ/เวทีวิชาการหรือเวทีเสวนาเชิงนโยบาย และ 5) การติดตาม ประเมินผลและสรุปบทเรียน

กำหนดพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงาน 9 พื้นที่ โดยมีการคัดเลือกองค์กรแรงงานในพื้นที่ ซึ่งได้จากพื้นที่การทำงานเดิมในระยะการดำเนินงานที่ผ่านมาและมีการเพิ่มพื้นที่ใหม่ ประกอบด้วย สมุทรปราการ กรุงเทพ ชลบุรี ระยอง สระบุรี อยุธยา ปราจีนบุรี ปทุมธานี และนนทบุรี

(4) สานเสวนา บทบาทและความร่วมมือภาครัฐกับภาคีที่เกี่ยวข้อง

 

          มีผู้ร่วมนำสานเสวนาจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐ เอกชน แรงงาน กว่า 20 คน ดำเนินรายการโดยนายธนกิจ สาโสภา คณะกรรมการอำนวยการโครงการฯ 

การสานเสวนาในวันนี้มีหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน แรงงาน มาขับเคลื่อนร่วมกันโดยตรง หากมาพิจารณานโยบายของรัฐผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ได้กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ที่ 1 เรื่องทรัพยากรมนุษย์ ที่มุ่งเน้นให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี ถือได้ว่าสามารถหนุนเสริมกับการทำงานของโครงการได้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทั้งโรคจากการทำงานและไม่ทำงานก็ตาม

กรณีระบบประกันสังคมจะเป็นการมุ่งเน้นในการรักษา แต่การส่งเสริมและการป้องกันโรคยังมีจุดอ่อนอยู่ แม้จะมีเรื่องการตรวจสุขภาพของผู้ประกันตนก็ยังพบปัญหาอยู่ ต้องยอมรับว่าผู้ประกันตนจำนวนไม่น้อยมีรายได้แบบรายวัน การลางานไปตรวจสุขภาพจะทำให้เสียรายได้ ทำอย่างไรจะให้มีนโยบายรัฐที่สนับสนุนการตรวจสุขภาพโดยตรง ไม่ใช่แค่เป็นเรื่องของสถานประกอบการหรือลูกจ้างต้องดำเนินการกันเองเท่านั้น

ทำอย่างไรให้ห้องพยาบาลเป็น primary health care ให้ได้จริง เข้ามาดูแลสุขภาพคนทำงาน โดยเฉพาะในโรคที่ไม่เรื้อรัง เช่น ความดันโลหิต เบาหวาน หรืออื่นๆ ที่แตกต่างจากโรคจากการทำงาน ซึ่งมีเหตุจากการเสียชีวิตพอสมควรในวัยทำงาน หรืออย่างในกรณีสถานประกอบการมีการทำงานเป็นกะ โดยเฉพาะในเวลากลางคืนจะมีการป้องกันหรือดำเนินการอย่างไร ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพคนงานแต่ก็ถูกมองว่าโรคที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากการทำงาน เป็นต้น

 

          ในช่วงที่ผ่านมาคนงานมักเรียกร้องโบนัส สวัสดิการ แต่ในเรื่องความปลอดภัยต่างๆคนงานยังเห็นความสำคัญน้อย ผมเคยได้รับรายงานเรื่องการเกิดอุบัติเหตุจากเครื่องจักร แต่นายจ้างก็ไม่เปลี่ยนเครื่องจักรนั้น และทำให้ลูกจ้างก็ยังประสบอุบัติเหตุซ้ำซาก จนมีการพูดกันว่าลูกจ้างต้องเอาผ้าแพรมาผูกที่เครื่องจักรเพื่อไม่ให้เครื่องจักรมาทับมือในระหว่างทำงาน ทั้งๆที่นี้คือความไม่ใส่ใจนายจ้างมากกว่าไม่ใช่เรื่องอื่นใด

นางอรพิน วิมลภูษิต แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ผู้แทนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ในนามผู้แทน สสส. ที่ได้ทำงานกับทั้งแรงงานและภาครัฐ ถามว่ามีเจตนาอย่างไรในการสนับสนุนโครงการนี้ ก็ต้องบอกว่าโครงการนี้คือ การสานและเสริมพลังภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ให้เกิดการทำงานร่วมกัน ซึ่งแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน อยู่ภายใต้สำนัก 9 สสส. ที่เรียกว่าสำนักประชากรกลุ่มเฉพาะ แม้แรงงานไม่ใช่ประชากรกลุ่มเฉพาะแต่ถือว่าเป็นประเด็นเฉพาะ ที่ยังพบว่ามีข้อจำกัดอยู่ ดังเช่นในเรื่องประเด็นความปลอดภัย แรงงานนอกระบบมีการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก แต่ในกลุ่มแรงงานในระบบยังมีน้อยอยู่

เวลาพูดคำว่าสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานโดยตรง จะพบว่า พี่น้องแรงงาน 1 คน จะมีนโยบายส่งเสริมป้องกันโรคชัดๆ 5 พ.ร.บ. คือ ความปลอดภัยในการทำงาน ,คุ้มครองแรงงาน , เงินทดแทน , ประกันสังคม , หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้ง 5 พ.ร.บ. ใน 1 คน ถ้าไม่สานและเสริมพลังกัน การคุ้มครองก็อาจไม่เกิดขึ้นจริง เพราะไปทีละส่วน ทีละภาค ตั้งแต่การคัดกรองที่ต้องทำให้ครบวงจร ดังนั้นทำอย่างไรให้ทั้ง 5 พ.ร.บ. ทำงานร่วมกันได้ ใช้กระบวนการทำงานร่วมกันในภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงพ.ร.บ.อื่นๆร่วมด้วย

รวมถึงในเรื่องของการเสริมความเข้มแข็งขบวนการแรงงานในสถานประกอบการอยู่แล้วให้จัดการตนเองให้ได้จริงด้วย สนับสนุนแล้วต้องจัดการตนเองให้ได้ด้วย โดยเฉพาะการสร้างเสริมสุขภาพต้องทำให้เป็นวิถีปฎิบัติในการป้องกันตนเอง ซึ่งเมื่อ สสส. สนับสนุนโครงการนี้ขึ้นมา ก็ถือว่าน่าจะเป็นส่วนสำคัญในการหนุนให้เป็นพลังและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงระบบบริการ เมื่อคนกลุ่มนี้มี พ.ร.บ.คุ้มครองตั้ง 5 พ.ร.บ. จึงต้องลดความเสี่ยงให้ได้ สาน 5 องค์กรในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ให้นโยบายได้บังคับใช้ กลไกมีการปฏิบัติ ผ่านการทำงานของขบวนการแรงงานโดยตรง นี้คือเป้าหมายหลักของ สสส. คือ ให้คนได้พัฒนาและดูแลตนเองให้ได้จริง

อีกทั้งยังอยากเห็นต้นแบบและองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการทำงานผ่านการทำงานในสถานประกอบการ ว่ามีองค์ความรู้อะไรบ้างที่จะไปปิดช่องว่างในการทำงานที่โครงการฯบอกว่าเป็นข้อจำกัดที่ผ่านมา ที่จะทำให้พี่น้องแรงงานเอาไปปรับใช้หรือลดเงื่อนไขข้อจำกัดได้น้อยลง และเข้าถึงบริการภาครัฐได้จริง

นี้คือความคาดหวังของ สสส. เป็นการหนุนเสริมให้เจ้าภาพหลักให้ทำงานได้จริง แต่ที่ผ่านมาพบว่าเจ้าภาพหลักกับเจ้าของเรื่องยังขาดการอุดช่องว่างร่วมกัน สสส. จึงเข้ามาหนุนเสริมและเชื่อมต่อตรงนี้ การปิดช่องว่างจึงต้องการกลไกเสริมมาช่วยกันทำงาน

พญ.สาริษฐา สมทรัพย์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

จากที่ฟัง สสส.กล่าวมา กรณี พ.ร.บ.ต่างๆเหล่านั้นก็เพื่อให้พี่น้องแรงงานเกิดสุขภาวะที่ดี ลดรายได้ เพิ่มผลิตภาพแรงงาน กรมอนามัยเป็นกรมวิชาการที่ทำหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพและดูแลสุขภาพ เราได้รับงบประมาณจาก สสส. เช่นกัน มาทำงานเรื่องส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ

วันนี้จะมาเสนอไอเดียเรื่องการทำงานร่วมกัน โดยกรมอนามัยมีแพคเกจสำหรับหน่วยบริการในสถานประกอบการ รวม 10 แพคเกจ ให้ประชากรวัยทำงานมีสุขภาวะที่ดี ได้แก่

(1)       smart & healthy worker

(2)       happy working with the balance

(3)       smart and healthy youth worker

(4)       preretirement and longevity planning

(5)       tobacco and alcohol free living

(6)       office syndrome management

(7)       happy and healthy foreigner worker

(8)       smart mom

(9)       healthy canteen

(10)   well-being workplace and happy for life

เวทีนี้คือการระดมพลังสมองมาร่วมกันทำงาน โดยแพคเกจที่กรมอนามัยเสนอ คือ การนำกระบวนการนี้ไปช่วยทำงาน พอนำเข้าไปใช้แล้วก็จะมีการวัดผลด้วยตัวชี้วัดที่วัดได้ในเชิงปริมาณว่าสุขภาพดีขึ้นไหม และสามารถลดรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าไหร่ โรงงานเกิดผลิตภาพแรงงานต่อหัวต่อคนต่อปีเท่าไหร่ ทั้งยังมีการทำงานร่วมกับกรมอื่นๆในกระทรวงสาธารณสุข ผ่านการมอบรางวัลให้กับสถานประกอบการที่รักษามาตรฐานแบบนี้ได้จริงและสม่ำเสมอร่วมด้วย

วันนี้คือการฉายภาพปัญหาให้เห็นร่วมกัน และนำไปสู่การตระหนักและร่วมมือร่วมใจทำงาน แม้ที่ผ่านมาอาจยังไม่ชัดเจน แต่วันนี้มีความชัดเจนและเจตจำนงร่วมกันในการทำงาน

          นายสุวรรณ สุขประเสริฐ สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย

          ในฐานะนายจ้างยอมรับว่าเราต้องจัดการยกใหญ่เลย เพราะเรื่องสุขภาพความปลอดภัยในโรงงานมี 2 ด้าน คือ อุบัติเหตุเป็นศูนย์กับแรงงานสุขภาพดี วันนี้เราพูดเรื่อง health กัน เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีในสถานประกอบการ คนที่เจ็บป่วยจากการทำงานเขาไม่รู้ตัวหรอก เมื่อถึงเวลารับบำนาญชราภาพตอน 55 ปี บางทีก็ไม่ได้รับด้วยซ้ำ เพราะเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยก่อน

          ในเรื่องนี้ทางสภาอุตสาหกรรมไม่ได้นิ่งนอนใจ เพราะรู้ดีว่าหากปล่อยให้มีคนเจ็บป่วย โรงงานก็แย่ลง บางโรงงานมีเงินแต่ก็จัดการเองหรือทำเองไม่ได้เท่ากระทรวง แม้เราจะมีการอบรมลูกจ้างก่อนการทำงานถึง 6 ชั่วโมง เพื่อให้มีความรู้และลดความเสี่ยงจากการทำงานก็ตาม

ดังนั้นด้านแรกนายจ้างต้องเริ่มก่อนเลยแล้วลูกจ้างจะให้ความร่วมมือเอง แต่บางครั้งก็พบว่าลูกจ้างก็ไม่ให้ความร่วมมือเช่นกัน อันนี้ก็อันตราย การขับเคลื่อนทุกอย่างภาครัฐจึงต้องมีส่วนสนับสนุนสำคัญ โดยเฉพาะในคณะกรรมการความปลอดภัยระดับชาติต่างๆ ต้องมีการประชุมบ่อยๆ นายจ้าง ลูกจ้าง รัฐบาล 10 ประเด็นของกรมอนามัยดีมาก ที่สามารถนำไปใช้ได้เลยเพื่อให้คนไทยมีสุขภาพดี

อีกประเด็นสำคัญ คือการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ ที่ต้องตระหนักมากเป็นพิเศษอีกกลุ่ม เพราะเราเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หากเราดูแลไม่ดีตั้งแต่วัยรุ่น จะจ้างงานผู้สูงอายุได้อย่างไร ฉะนั้นต้องดูแลตั้งแต่วัยทำงาน เพื่อให้มีสุขภาพดีและมาทำงานในวัยสูงอายุได้ ภาครัฐต้องกวดขันมากขึ้นร่วมด้วย ไม่ใช่ปล่อยนายจ้างอย่างเดียว ต้องบังคับให้แต่ละสถานประกอบการต้องจริงจังร่วมด้วย 

          นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส ผู้อำนวยการกองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นองค์กรที่เป็นคนกลาง โดยมีเครื่องมือคือกฎหมายในการทำงาน ที่กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างอบรมด้านความปลอดภัยอย่างน้อย 6 ชั่วโมงในรอบแต่ละเดือน เราบริหารจัดการกฎหมาย มีการเข้าไปตรวจสอบทั้ง 76 จังหวัด มีเงินเข้ากองทุนจากการปรับนายจ้างเกือบ 2 ล้านบาทต่อเดือน เราจึงไม่ได้แค่บังคับใช้กฎหมายแต่ส่งเสริมด้วย เชิญ 10 กระทรวง 20 กว่าหน่วยงาน มาทำ MOU มาทำงานเรื่องความปลอดภัยในกลุ่มแรงงานร่วมกัน มีการทำงานระดับจังหวัด มีอนุกรรมการความปลอดภัย หาแนวทางในการทำงานร่วมกัน ในโรงงานก็มีคณะกรรมการความปลอดภัยมาบริหารจัดการร่วมกันต่างๆเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการทำงานทั้งสิ้น

สมเด็จพระเทพฯเคยปรารภเมื่อเสด็จไปที่ศูนย์ฟื้นฟูขอนแก่นว่า จะทำอย่างไรไม่ให้ลูกจ้างบาดเจ็บจากการทำงาน กรมสวัสดิการฯรับมาขับเคลื่อน ทั้งบังคับกฎหมาย สร้างการรับรู้ ดึงทุกเครือข่ายมาทำงานร่วมกัน วันนี้แม้ตัวเลขประสบอันตรายลดลงแต่ก็ยังสูงอยู่ ตั้งแต่ตุลาคม 2560 ถึงสิงหาคม 2561 มีคนเสียชีวิต 500 กว่าคนจากการทำงาน สาเหตุ คือ ไม่ปฏิบัติตามกฎ เครื่องจักรชำรุด ตัวเลขเหล่านี้ทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข ที่ผ่านมาเราทำงานร่วมกันตลอด เพราะบางทีนายจ้างก็ดูแลไม่ทั่วถึง ทุกภาคส่วนต้องดูแลร่วมกัน ปี 64 ต้องเท่ากับมาเลเซีย ปี 69 เท่ากับสิงคโปร์ การขับเคลื่อนต้องร่วมมือกันทุกภาคส่วน เพื่อให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี

สำหรับคลินิคความปลอดภัยในสถานประกอบการ กรมสวัสดิการฯได้วางไว้ในโรงงานว่าแต่ละสถานประกอบการต้องเตรียมเรื่องความปลอดภัยอย่างไรบ้าง ถ้าเราไปตรวจจะไปดูที่คลินิคความปลอดภัยเลย ดูรายละเอียด ดูการเบิกจ่ายยาต่างๆ เพื่อเห็นความเสี่ยง มีข้อมูลในการป้องกันแก้ไข ที่ผ่านมาก็ทำได้ดีระดับหนึ่ง แต่ก็ยังมีปัญหาในทางปฏิบัติ

          นางสาวรุ้งประกาย วิฤทธิ์ชัย สำนักโรคจากการประกอบอาชีพ กรมควบคุมโรค

สถานการณ์โรคของพี่น้องแรงงานในปัจจุบัน  ไม่ใช่โรคจากการทำงาน เจอเยอะมากที่สุด คือปัญหา โรคอ้วน เบาหวาน ความดัน ซึ่งเพิ่มขึ้นทุกปี รองลงมาปัญหาความเครียด  เป็นโรคซึมเศร้าคิดฆ่าตัวตายสูงขึ้นเรื่อยๆ   เรื่องนี้หลายภาคส่วน ต้องผนึกกำลังตามนโยบายชาติ เซฟตี้ไทยแลนด์  โดยเฉพาะการ แชร์ข้อมูลร่วมกัน เพื่อวางแผน การดูแลขับเคลื่อนสุขภาพทุกมิติ ที่รวมไปถึง สุขภาพจิตของผู้ใช้แรงงานด้วย

นายบรรจง บุญรัตน์ สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแห่งประเทศไทย

เวลาคนงานป่วยก็จะกินยา แต่สารพัดโรคที่ยังอุดมอยู่ พอออกจากงานไม่ทันได้ใช้เงินบำนาญประกันสังคมก็เสียชีวิตแล้ว นโยบายรัฐไปสู่สถานประกอบการจึงเป็นสิ่งสำคัญ วันนี้จึงไม่ใช่มีแค่กรรมการสวัสดิการแล้ว แต่ต้องมีกรรมการส่งเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้นมาในโรงงานแบบเป็นนโยบายรัฐเลยด้วย
เป็นกฎหมายเพื่อให้เกิดความเข้มงวด ต้องดูว่าในโรงงานสภาพแวดล้อมดีไหม ส่งเสริมการออกกำลังกาย การตรวจโรคแต่ละปี ไม่ใช่แค่การตรวจสายตาเพื่อขายแว่นเท่านั้น กองความปลอดภัยแรงงานต้องเข้มมากกว่านี้ให้เห็นถึงปัญหาในสถานประกอบการตรงๆ อย่างในอุตสาหกรรมรถยนต์มีสารเคมี มีอุบัติเหตุเยอะมาก แต่เป็นโรคเท่าไหร่ ไม่มีข้อมูล หรือมีแต่อยู่ที่คลินิคบ้าง กรมสวัสดิการบ้าง กองสาธารณสุขบ้าง โยนกันไปมา ทั้งที่จริงๆต้องอยู่ในกองทุนเงินทดแทน เพราะเป็นโรคจากการทำงาน

ผมไปฟังสาธารณสุขพูด บางครั้งใช้คำพูดยาก มีคำถามว่าแปลว่าอะไร เหมือนหากเราไปพูดในโรงงานก็ต้องใช้คำง่ายๆ หรือฝึกปฏิบัติเลย ให้เขาได้เรียนรู้ และบอกเลยว่านายจ้างจะได้อะไรบ้าง หมอจะต้องเข้ามาจัดการเลย เพราะบางทีนายจ้างพูดเอง คนงานไม่เชื่อก็มี

การมีโรงงานตัวอย่างเป็นเรื่องที่ดีเพื่อเป็นรูปธรรมให้โรงงานที่ไม่ทำได้ทำตามบ้าง เช่น โลตัส มีการออกกำลังกาย 10 นาทีก่อนเริ่มงาน นี้จะช่วยลดการลาป่วย ถือได้ว่าเป็นการส่งเสริมให้บริษัทลดค่ารักษาพยาบาล ลดรายจ่าย พนักงานก็มีสุขภาพดี เพิ่มผลิตภาพแรงงานได้

นายมานิตย์ พรหมการีย์กุล สภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย

ทุกคนต่างก็มีความมุ่งหวังอยากให้คนงานมีสุขภาพดี แต่คำถามคือรูปธรรมที่ชัดเจนคืออะไรมากกว่าหรือแค่มีแผนการทำงานเท่านั้น  ในการทำงานในสถานประกอบการ ความปลอดภัยจะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ นายจ้าง ลูกจ้าง ภาครัฐที่บังคับใช้กฎหมาย บางทีเวลาเกิดปัญหาให้เงินไปรักษามากกว่ารายงาน เพราะจะส่งผลต่อเรื่องเงินสมทบที่สูงขึ้น ทำให้นายจ้างจะหลีกเลี่ยง สิ่งที่นายจ้างหลีกเลี่ยง คือ ค่าปรับจะสูงขึ้นทำให้ต้องปกปิดข้อมูลที่แท้จริง ดังนั้นเรื่องนี้ปัญหาคือช่องว่างกฎหมายด้วย ทำให้นายจ้างไม่พูดความจริง ประกันสังคมก็มีแนวคิดนี้เหมือนกัน เช่น โดนทับนิ้วแต่บอกเกิดอุบัติเหตุจากที่บ้านมา เป็นต้น

หรือการที่เราอยากให้สถานประกอบการมีห้องพยาบาลจริงๆ แต่สถานประกอบการขนาดกลางและเล็กยังไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ บางทีเป็นห้องเก็บของก็มี แต่สถานประกอบการขนาดใหญ่จะชัดเจนมากในเรื่องนี้ เรามี medical care clinic ดังนั้นการสนับสนุนจากภาครัฐในการพัฒนาคลินิคขึ้นมาจึงดีมาก เพราะหากลางานไปหาหมอ จะถูกหักเงินหลายอย่าง ทำให้โรคที่เป็นจึงไม่ยอมไปรักษาและสะสมมาเรื่อยๆ ถ้ารู้ล่วงหน้าก็จะป้องกันได้

คนงานอยากได้เรื่องอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม สร้างจิตสำนึก มีวัฒนธรรมความปลอดภัย อย่างโรงงานผมก็จะมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องในเรื่องนี้  มีการให้หัวหน้างานแต่ละแผนกเข้ามาควบคุมดูแล เน้นเรื่องการสร้างจิตสำนึกเป็นสำคัญ เป็นความร่วมมือทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง และภาครัฐต้องสนับสนุนจริงจัง นำร่องในเรื่องนี้ ปัจจุบันคนงานเผชิญความเครียดมากขึ้นในการเกิดโรคที่ไม่ใช่แค่โรคจากการทำงานเท่านั้น การส่งเสริมป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก การรณรงค์ตลอดก็ต้องทำต่อเนื่องเช่นกัน

นางสาวอรุณี ศรีโต สมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชนเพื่อการพัฒนา

ประเทศไทยผ่านเรื่องโรงงานเคเดอร์ในปี 2536 และเกิดกระทรวงแรงงานขึ้นมา ไปดูงานต่างประเทศในเรื่องนี้แต่กลับมาก็ขาดการจัดการ ดังนั้นต้องเอาจริงเอาจังเรื่องนี้ ที่ผ่านมามีข้อมูลว่าเราล้มเหลวในเรื่องการจัดการความปลอดภัยมากสูงสุดในอาเซียน ไม่ใช่แค่มีเหตุร้ายแล้วค่อยทำ ดังนั้นต้องทำเป็นเรื่องหลัก

กองทุนทดแทนตอนนี้มีเงินมาก แต่การเข้าถึงเงินกองทุนทดแทนยากมาก คนงานเข้าถึงไม่ง่าย กระบวนการยังมีปัญหา รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลที่แท้จริง เพื่อหาทางลดปัญหาจริงๆ

หรือกรณีการมอบรางวัลความปลอดภัยของกรมสวัสดิการฯ ก็มีทั้งคุณและโทษ ที่สมุทรปราการมีโรงงานแห่งหนึ่ง คนงานแขนหัก หยุดงานมาหลายวัน เพราะโดนเครื่องกระสวยพุ่งมาโดน แต่นายจ้างให้บอกว่าจักรยานล้ม เพราะโรงงานกำลังจะได้รางวัลจากกระทรวงแรงงานอยู่ เลยต้องปกปิดข้อมูลนี้  เดี๋ยวจะอดได้รางวัล ทำให้จากป่วยจริงเป็นป่วยไม่จริงทันที ต้องไม่ลืมว่าในปี 2536 เราสูญเสียวัยทำงานสูงมาก ILO ตั้งคำถามอย่างมากในกลไกการป้องกัน หลังจากนั้นมีการสัมมนามากมาย แต่ก็ยังพบปัญหามาจนวันนี้

ตอนที่ดิฉันทำงานโรงงานทอผ้า บอกว่าห้ามเสียงดังเกินขนาดนี้ แต่เราก็ไม่มีความรู้ ดังนั้นการให้กรรมการมีความรู้ที่แท้จริงก็สำคัญ ไม่ใช่แค่เดินตรวจโรงงานแบบทั่วๆไปเท่านั้น

นายคณาธิศ เกิดคล้าย สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

สถาบันเป็นหน่วยงานอิสระในการกำกับของรัฐ หลักการบริหารความปลอดภัยมี 3 E คือ engineering enforcement และ education ซึ่งทั้ง 3 ส่วนสำคัญ โดยเฉพะ engineering เกี่ยวกับโครงสร้างอาคารต่างๆ ที่ต้องให้ความสำคัญ ดังที่เห็นกรณีโรงงานเคเดอร์ที่มาจากปัญหานี้โดยตรง มีอาคาร 3 อาคาร ตั้งห่างกัน 10 เมตร แต่ก็วางวัสดุสิ่งของ เป็นยุคสิ่งทอเติบโตและไฟก็ลามอย่างรวดเร็วจากของที่วางไว้ ในปัจจุบันโรงงานขนาดเล็ดหรือกลางที่ไปเช่าที่ การติดตั้งเครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ บอยเลอร์ ถังแก๊ส ที่วางในบริเวณเดียวกัน โอกาสระเบิดจะง่ายมาก เพราะไม่มีระบบในการป้องกัน นี้คือปัญหาเริ่มแรกเลยที่กระทรวงอุตสาหกรรมเข้ามาดูแลก่อนเลย แต่ก็หลุดรอดออกมา

ในส่วน enforcement การเข้าถึงก็ยังมีปัญหา ดังนั้นการให้ความรู้ มี จป. จึงสำคัญมาก งานสถาบันจึงเน้นเรื่องนี้เป็นงานหลัก อย่างตอนนี้เน้นหนักเรื่องอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ ก็จะมีกลไกนี้เข้ามากำกับควบคุมดูแล ทำอย่างไรให้ตลอดห่วงโซ่อุปทานตระหนักเรื่องนี้ทั้งวงจรให้ได้ ให้คู่ธุรกิจใน supply chain ต่างๆ ต้องเข้าใจทั้งหมด หรือในภาคเกษตรกรก็มีสีคิ้วโมเดล มีมาตรฐานต่างประเทศเข้ามากำกับดูแล ดูแลเกษตรกรให้เกิดการเพิ่มผลผลิตปลูกมันสำปะหลัง อีกส่วนคือ ดูแลความปลอดภัยด้วย ทั้งการใช้ยาฆ่าแมลง การทำแพคเกจ ดึงท้องถิ่นมาร่วมด้วย

นโยบายสถาบันจะเน้นเรื่องการส่งเสริมภาคธุรกิจให้ตระหนักความปลอดภัยโดยเชื่อมโยงทั้งสถานการณ์ภายในและภายนอกประเทศที่เข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างกรณีประเทศญี่ปุ่นก็เคยเผชิญโรคจากการทำงานมาแล้ว เราก็ต้องพัฒนาไปด้วยกัน

นอกจากนั้นแล้วยังเน้นเรื่องอุบัติเหตุจากการก่อสร้าง ไฟไหม้ในโรงงาน สารเคมีรั่วไหล  การประเมินความเสี่ยงจึงถือเป็นหัวใจสำคัญ แต่ความปลอดภัยไม่มีเครื่องมือตรวจวัดในโรงงานได้ ต้องดูแบบค่าความร้อนหรือมาตรฐานต่างๆ หรือการจัดการความปลอดภัยบนที่สูง ก็มีคนงานได้รับอุบัติเหตุจำนวนไม่น้อย ทั้งๆที่มีมาตรฐานการทำงานมากแต่ก็ต้องปฏิบัติให้ได้ 100 % ส่วนอีก 2 มาตรฐาน คือ ปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ตามหลักการยศาสตร์ และการยกของตามหลักการยศาสตร์  ส่วนในปี 62 มีอีก 2 โครงการ คือ คู่มือการก่อสร้างรางรถไฟ และคู่มือการจำแนกจัดเก็บสารเคมีอันตราย ขณะเดียวกันอีกเรื่องสำคัญที่สถาบันให้ความสำคัญ คือ วัฒนธรรมความปลอดภัย

ผู้แทนสำนักงานประกันสังคม

ต้นทางคือ ลูกจ้างและสถานประกอบการต้องให้ความร่วมมือ ที่ผ่านมาคือเน้นการรักษา แต่ปัจจุบันพยายามแก้ไขกฎหมายให้เกิดการดูแล มีการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค มีการตรวจสุขภาพประจำปี แต่ลูกจ้างมักไม่ได้ไปใช้สิทธิ ที่ผ่านมามีคนไปตรวจแค่ 1 ล้าน 2 แสนคนเท่านั้น ใช้เงินไป 600 กว่าล้านบาท หรือ 9 % ของลูกจ้างที่เรามี อยากเผยแพร่ให้ลูกจ้าง นายจ้างไปตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อส่งเสริมป้องกันโรค มีสถานพยาบาลต้นแบบ ดูแลติดตามประเมินผล ดูแลเบิกเงินจากประกันสังคมได้เลย หากโรงพยาบาลสมัครเข้ามาร่วมโครงการ

สำนักงานประกันสังคมยังมีโครงการส่งเสริมป้องกันโรคผ่านองค์กรนายจ้างและลูกจ้างซึ่งได้รับเงินไปทำงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ว่าสุขภาพดีเป็นอย่างไร เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่จะตามมา

ในส่วนกองทุนเงินทดแทนที่ดูแลโรคจากการทำงานก็มีการส่งเสริมป้องกันด้วย ข้อมูลเหมือนลดลง ปี 57 หลักแสน ปัจจุบันหลักหมื่น แต่ก็มองว่า นายจ้างอาจจะไม่ได้แจ้งข้อมูลที่แท้จริงก็เป็นไปได้ เราพยายามลดอัตราจ่ายเงินสมทบแล้ว ก็สามารถแจ้งได้แล้วในข้อเท็จจริง เพื่อจะได้ข้อมูลแท้จริงเพื่อดำเนินการต่อไป

นอกจากนั้นยังมีโครงการคลินิคโรค สนับสนุนเงินให้กรมควบคุมโรค กองความปลอดภัย กระทรวงสาธารณสุข ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยไปทำงานร่วมด้วย

นายแพทย์กฤช ลี่ทองอิน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

การดูแลสุขภาพอนามัยของคนไทย สปสช.ทำงานบูรณาการกับประกันสังคมเรื่องการส่งเสริมสุขภาพร่วมกัน ในส่วนที่ดูแลด้านส่งเสริมป้องกันโรคไม่เกี่ยวกับการทำงาน ซึ่งสปสช.ตั้งงบให้กับทุกสิทธิ แต่การสื่อสารอาจยังไม่ทั่วถึง เคยร่วมงานกับกลุ่มแรงงานกลุ่มย่านภาคตะวันออก กลุ่มสระบุรี  เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานมีสิทธิในการใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษามากขึ้น

ปี 2561 เอื้ออำนวยให้ผู้ประกันตนเข้าถึงบริการและส่งเสริมสุขภาพได้มากขึ้น จ่ายตามรายการ free schedule ครอบคลุมผู้ประกันตนและครอบครัว (30 บาท)

ในปี 2562 จะเริ่มให้การดูแลเรื่องฝากครรภ์และคลอดบุตร ประกันสังคมได้ 13,000 บาท ส่วนหญิงท้องที่เป็นผู้ประกันตนฝากครรภ์ได้ค่ารักษาสูงสุด 1,000 บาทตามอายุครรภ์ สปสช.จะดูแลค่าฝากครรภ์ให้ 5 ครั้ง ในการดูแล ผู้หญิงฝากครรภ์ไม่เสียเงิน ส่วน 13,000 เก็บไว้ แต่ก่อนคลอดก็ต้องสำรองจ่ายไปก่อน

ต่อมาคือ ท้องไม่พร้อม ถ้าหยุดงานไปคลอดจะเสียรายได้ ฝากท้องก็เสียเบี้ยขยันแล้ว อนาคตทำอย่างไรจะมีคลินิคไปตั้งในย่านอุตสาหกรรมเลย ตอนนี้เรามีการยุติการตั้งครรภ์ หรือมีการตรวจคัดกรองเรื่องเด็กในครรภ์ที่เสี่ยง และนำมาสู่การยุติการตั้งครรภ์ ที่ผ่านมายังมีหน่วยบริการน้อยมาก แต่เราเปิดค่าใช้จ่ายแล้ว ยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย และยังมีการค่าบริการคุมกำเนิดชั่วคราวให้ด้วย

นอกจากนั้นยังมีบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก ตั้งแต่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการตรวจปัญหาซ้ำซ้อน เหล่านี้คือเรื่องใหม่ที่เริ่มในปี 62 ที่ขยายมายังกลุ่มผู้ใช้แรงงาน การรับบริการก็สามารถรับที่หน่วยบริการได้เลย นอกจากนั้นยังมีเรื่องอื่นๆที่ สปสช. จ่ายให้หน่วยบริการด้วยอยู่แล้ว ที่ผู้ประกันตนทำงานอยู่ก็ไปรับบริการได้เช่นกัน

นายมนัส โกศล สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย

ผมอยากเสนอเรื่องแรงจูงใจทำอย่างไรให้สถานประกอบการที่มีห้องพยาบาลอยู่แล้ว ทำให้เป็นสถานประกอบการต้นแบบให้ได้จริง เพราะการตรวจสุขภาพต้นทุนสูงมาก กองทุนสปสช. เกิดหลังกองทุนประกันสังคม จาก 2533 ถึง 2558 มีรักษาอย่างเดียว มี พ.ร.บ.ประกันสังคมปี 2558 ขึ้นมา เลยได้ส่งเสริมป้องกันโรคขึ้นมา ดังนั้นต้องทำให้สถานพยาบาลพัฒนาระบบ primary health care ขึ้นมา ก็จะป้องกันได้จริง

โครงการนี้เป็นโครงการท้าทาย กระทรวงแรงงานพูดแต่ safety แต่พูด health น้อยมาก ดังนั้นถ้าลูกจ้างเป็นโรค โรคตามตัวเราไป ดังนั้นหากเป็นโรคจากการทำงาน กองทุนต้องตามไปจ่าย นี้เป็นสิทธิตามกฎหมาย แต่นายจ้างจ่ายเงินสด เพื่อต้องการรางวัลแทน โรงงานเล็กๆหรือกลาง ทำยาก แม้ สปสช. โอนเงินไปให้โรงพยาบาลแต่คนงานในเขตนั้นก็ไม่ได้ใช้ ดังนั้นเสนอเรื่องรางวัลจูงใจนำร่องให้ แบบนี้จะจูงใจได้ง่ายกว่า รายการ UC ของสปสช. ประกันสังคมน่าจะเข้าไปใช้ได้ ตามสิทธิมาตรา 63 (2)

ดังนั้นการสนับสนุนทุนจะสำคัญ ทั้งเงิน UC และเงินประกันสังคม ว่าโรงงานไหนที่มีสิทธิมากกว่าตามที่กองทุนให้ตรวจ ก็ต้องเข้ามาสนับสนุน เพราะเงินเหลือเยอะอยู่แล้วในการตรวจสุขภาพ ดังนั้นควรมาส่งเสริมเรื่องนี้มากกว่า เพราะเป็นกลไกปฏิบัติจริง อันนี้คือช่องว่าง ถ้าเราขับเคลื่อนชัดเจนจะส่งผลสำคัญ

อย่างพื้นที่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม ก็ต้องมีการบูรณาการทั้งกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงานให้ได้จริงด้วย ต้องลดช่องว่างตรงนี้ มีต้นทุนให้สถานประกอบการมีสถานพยาบาลแล้ว ยกระดับเป็นการดูแลแบบศูนย์สุขภาพปฐมภูมิให้ได้จริง ผมเสนอให้หน่วยงานภาครัฐที่มาตั้งเป็นคณะทำงานระดับปฏิบัติการร่วมขับเคลื่อนด้วยกัน

 

นางสาวนิลวดี เลียงสุนทรสิทธิ์ สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)

ทำอย่างไรที่จะส่งเสริมให้นายจ้างมีความปลอดภัยในการทำงาน สมาคมนี้ตั้งโดยคณะรัฐมนตรีผ่านกระทรวงแรงงาน มีการทำงานทั้งระดับชาติและนานาชาติ โดยมีเป้าหมาย vision zero วัตถุประสงค์คือ สร้างวัฒนธรรมเชิงป้องกันใช้กฎทอง 7 ประการ คือ มุ่งเน้นให้นายจ้างเข้าสมัครในโครงการ มีการประเมินตนเองในการดูแลลูกจ้าง ตอนเปิดตัวโครงการมีโรงงานใหญ่ๆ 14 โรงงานเป็นต้นแบบ ปี 61 ขยายผลไปยังโรงงานขนาดกลางและเล็ก 30 กว่าโครงการ มีการใช้แบบประเมินเป็นเครื่องมือในการทำงาน นอกจากนั้นยังขยายผลไปยัง supply chain ต่างๆ ร่วมด้วย เพื่อลดการบาดเจ็บ และส่งเสริมให้คนงานมีอายุยืนยาว

นายปกรณ์ นภาเหมินทร์ สภาองค์การนายจ้างเกษตร ธุรกิจ อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

วันนี้ประเทศไทยเป็นสังคมสูงวัย ทำอย่างไรให้ผู้สูงวัยมีสุขภาพดี ดังนั้นจึงต้องสร้างสุขภาพดีตั้งแต่วัยหนุ่มสาว โดยเฉพาะการส่งเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการเป็นสำคัญ เรามีกฎหมายความปลอดภัยที่ยอดเยี่ยมในภูมิภาคนี้ แต่ว่าการบังคับใช้หรือการปฏิบัติตามยังมีปัญหา จึงพบอุบัติเหตุที่ยังดำรงอยู่ 500 กว่าเคสถือว่าไม่น้อย ผมว่าประเทศไทยยังอยู่ในสังคมที่ชอบเสี่ยง ไม่ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ยกตัวอย่างการก่อสร้างรถไฟฟ้าต่างๆ แต่ความปลอดภัยคนทำงานก่อสร้างก็ยังพบความเสี่ยงอยู่จำนวนมาก หรือการฝ่าฝืนในโรงงานต่างๆที่แม้ว่ามีข้อห้ามก็ไม่ปฏิบัติตาม การสร้างความตระหนักจึงสำคัญทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง ตัวเลขที่ลดลงในเรื่องอุบัติเหตุ ผมมองว่าส่วนหนึ่งมาจากมีการจ่ายค่าปรับเข้ากองทุนด้วย 

ส่วนเรื่องสุขภาพ ต้องมีกระทรวงสาธารณสุขเข้ามาทำงานควบคู่ไปกับกระทรวงแรงงานร่วมด้วย เพราะหลายโรคคือ สุขอนามัยของคนทั่วๆไป  ไม่ใช่โรคจากการทำงานเท่านั้น การประสานงานกันในการดูแลจึงสำคัญ เวลาไปตรวจสุขภาพใช้เวลามาก ขาดรายได้ ไม่ใช่หลักปฏิบัติที่ดี หรือไม่มีการนำผลมาใช้จริงจังในการปรับพฤติกรรมทางสุขภาพ รวมทั้งส่งเสริมด้านสุขอนามัยต่างๆ สิ่งสำคัญคือ การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง สิ่งสำคัญคือ สร้างจิตสำนึกให้ลูกจ้างและนายจ้าง

นายศักดิ์ดา หวานแก้ว ที่ปรึกษาสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย (ECOT)

ผมพึ่งได้เข้ารับการอบรมจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เห็นได้ว่าทางสากลก็ให้ความสนใจในเรื่องนี้โดยตรงเช่นกัน วันนี้ผมขอพูด 4 เรื่อง คือ

1) นโยบายรัฐ จากพ.ร.บ. ทั้ง 5 ฉบับและกฎหมายอื่นๆ พบว่า เราเห็นระบบการตัดสินใจที่ช้าไม่ทันเวลา ทำอย่างไรให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน หรือกรณีการรับเคสหนักๆ ถึงเวลาที่จะมีโรงพยาบาลประกันสังคมโดยตรงหรือไม่ อย่างไร เพื่อแก้ไขปัญหานี้ หรือกรณีการตรวจสุขภาพ ทำอย่างไรจะดูทั้งระบบให้เห็นความเสี่ยง และนำงบประมาณไปจัดการ ไม่ใช่ต่างคนต่างแยกกันจัดการ หรือการมีระบบฐานข้อมูลเดียวกันในการแก้ปัญหา

2) สังคมเกษียณอายุ คนจะต้องเผชิญปัญหามากขึ้น กรณีเงินประกันสังคมเมื่อกองทุนประกันสังคมนำเงินไปฝากธนาคาร น่าจะสามารถหารือกับธนาคารให้อนุมัติให้ลูกจ้างกู้แบบดอกเบี้ยต่ำได้ไหม เพราะก็คือเงินลูกจ้าง หรือการอบรมอาชีพก่อนเกษียณที่ลูกจ้างต้องการโดยตรงเลย หา need assignment ให้เจอ ไม่ใช่แค่ want เท่านั้น รองรับเทคโนโลยีใหม่ๆที่เข้ามาและลูกจ้างต้องตกงานหรือถูกเลิกจ้างในอนาคต หรือ long stay สำหรับลูกจ้างที่ขาดญาติพี่น้อง

3) การวัดสุขภาพคนงานมากกว่าการให้รางวัล เน้นความร่วมมือในการทำงานระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง

4) การนำกองทุนเงินทดแทนมาบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพต่อลูกจ้างมากกว่านี้

นายสุพจน์ จารุวรรณบำรุง ที่ปรึกษาสหพันธ์แรงงานปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์แห่งประเทศไทย

การรับรู้โรคจากการทำงานมีน้อยกว่าอุบัติเหตุจากการทำงาน เช่น การเผชิญกับสารเคมีอย่างต่อเนื่องและสะสม ทำอย่างไรจะป้องกันแหล่งกำเนิดให้ได้ นี้เป็นเรื่องสำคัญในการลดโรคจากการทำงาน การที่สารเคมีส่งผลกระทบร่างกายไม่ได้เกิดในวันสองวัน แต่อาจเกิดตอนออกจากการทำงานแล้ว การติดอาวุธทางความรู้จึงสำคัญ อีกทั้งบทบาทสหภาพแรงงานในเรื่องนี้ก็สำคัญ ที่จะเข้ามาเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเรื่องนี้นายจ้างต้องเอื้ออำนวยด้วย กฎกระทรวงมีข้อหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ต้องสำรวจ ต้องเดินในโรงงาน เพื่อให้เกิดการแก้ไข  ทำอย่างไรเราจะดึงคณะกรรมการความปลอดภัยเข้ามา ติดอาวุธจากากรทำงานให้ได้จริง

นายทวีป กาญจนวงศ์ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

คณะกรรมการความปลอดภัยฯ กว่าจะได้มายากมากและบทบาทการทำงานก็น้อยหากไม่ได้รับการสนับสนุน ปัญหาสำคัญ คือ ลูกจ้างไม่รู้สิทธิ เข้าไม่ถึงสิทธิ นายจ้างก็ละเมิดสิทธิ กฎหมายมีหลายฉบับแต่ลูกจ้างก็ไม่เข้าใจ มาในกรณีเรื่องสารเคมีอันตรายในโรงงานต่างๆ ที่ปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก ความรู้ในเรื่องนี้ นายจ้างลูกจ้างเข้าใจมากน้อยเพียงใด หรือการตรวจโรค หมออาชีวเวชศาสตร์ก็มีไม่เพียงพอ กระจายไปอยู่ในโรงพยาบาลประกันสังคมที่คนงานอยู่หรือไม่ เสนอให้มีการตรวจอย่างเข้มข้นหรือเข้าถึงสถานประกอบการที่คนงานมีความเสี่ยงได้โดยตรง

พลโทนายแพทย์ศิริชัย รัตนวราหะ อดีตกรรมการกองทุนเงินทดแทนชุดที่ 9

ผมทำงานเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2538 และพบว่าโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพมีความซับซ้อนต้องศึกษาจริงจังตามปัจจัยเสี่ยง และต้องตรวจโดยแพทย์ที่ผ่านการอบรมด้านอาชีวเวชศาสตร์โดยตรง ไม่ใช่ใครก็ได้ เพราะความเสี่ยงแต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน

อย่างคนทำงานที่อยู่ในโรงงานเสียงดัง ตอนทำงานยังไม่พบภาวะหูเสื่อม แต่จะเกิดหลังออกจากงานแล้ว ซึ่งแรงงานจะไม่รู้เรื่องนี้เพราะเราไม่มีแพทย์เพียงพอในการออกไปตรวจโรงงานตามความเสี่ยง มีแต่การจ้างบริษัทไปตรวจสอบ แต่ก็ยังขาดมาตรฐานและทำให้ลูกจ้างเข้าถึงการดูแลยังมีน้อย มีแต่การเกณฑ์มาตรวจให้เสร็จๆไป และผมมองว่าบริษัทเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำตามกฎกระทรวงตามที่กำหนดไว้ 

สำหรับการพัฒนาห้องพยาบาล ที่เป็น unit ที่อยู่ใกล้กับคนงานมากที่สุด ถือเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่บางโรงงานก็ไม่ได้ใส่ใจจริงจัง จ้างพยาบาลมานั่งเฝ้าเฉยๆ แต่ขาดความเข้าใจ นายจ้างก็ขาดความรู้แค่ได้จ้าง แต่ไม่ได้ทำตามหน้าที่ ทั้งที่มีบันทึกความเสี่ยงต่างๆ แต่ขาดการบริหารจัดการในโรงงาน

ดังนั้นต้องทำอย่างไรจะให้ลูกจ้างได้ประโยชน์มากที่สุด อีกทั้งแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ที่เกี่ยวข้องก็มีน้อย หรือจบมาก็ไม่ได้ใช้ความรู้ที่แท้จริง ทั้งขาดแคลน และการบริหารจัดการแพทย์เฉพาะทางให้ดูแลคนงานก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ การป้องกันจึงสำคัญมากในเรื่องนี้

นายอุดม ไกรยราช สมาพันธ์แรงงานฮอนด้าประเทศไทย

มีข้อมูลที่ชัดเจนในหลายโรงงานว่า คนงานประสบโรคที่ไม่ได้เกิดจากการทำงานโดยตรง แต่เป็นโรคเรื้อรังและสะสมไปตลอดชีวิต ทำอย่างไรให้มีแพทย์ไปตรวจสุขภาพคนงานผ่านการมีข้อมูลจากฐานล่างแบบนี้ เวทีนี้ควรขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการแก้ไข พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัยฯ ให้แพทย์มีอำนาจจัดการในเรื่องต่างๆได้มากขึ้น เช่น การวินิจฉัยว่าสารเคมีประเภทไหนทำให้เกิดโรคจากการทำงาน เป็นต้น

รศ.ดร.ปรารถนา สถิตย์วิภาวี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผมมองเป็น 2 ประเด็น คือ โรคที่เกิดจากกลุ่มอาชีพในภาคอุตสาหกรรมกับโรคที่ไม่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานหรือโรคเรื้อรังต่างๆ ทำอย่างไรจะเกิดการป้องกัน รวมถึงการเข้าถึงสิทธิตามกองทุนต่างๆ แต่ในเรื่องนี้การส่งเสริมสุขภาพจะเป็นเรื่องสำคัญมากกว่า หากคนงานมีความรู้ถึงสิทธิ ต้องเกิดการตระหนักร่วมด้วย โดยเฉพาะในวัยแรงงานที่ยังกินเหล้าอยู่ จะส่งเสริมในเรื่องการป้องกันโรคอย่างไร รวมถึงการปรับพฤติกรรมสุขภาพในเรื่องต่างๆ เช่น ใส่ผงชูรสเยอะ เกลือเยอะ น้ำตาลเยอะ จะทำอย่างไร  รวมถึงการใช้กลไกระดับหัวหน้างานเข้ามาร่วมทำงานในโครงการฯนี้ร่วมด้วย

          นายไพรัช เอื้อเฟื้อ กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก

การบังคับใช้กฎหมายยังไม่เข้มงวดพอ แม้มีคณะกรรมการความปลอดภัยแต่ก็ยังมีข้อขัดแย้งกับลูกจ้างนายจ้างที่ลูกจ้างจะถูกบอกว่าไม่ควรเสนออะไรมากที่เป็นข้อขัดแย้ง เพราะส่งผลกระทบกับตนเอง หรือความเป็นเอกภาพของสถานพยาบาลในสถานประกอบการ ที่นายจ้างจ่ายเงินให้พยาบาล พยาบาลถือเป็นลูกจ้างของนายจ้างเหมือนกัน ทำให้การดูแลพนักงานในโรงงานก็น้อยลงตามไปด้วย

นายวินัย ลัฐิกาวิบูลย์ คณะกรรมการ/ที่ปรึกษาโครงการ

การนำประเด็นความปลอดภัยมาใส่ในข้อเรียกร้อง คือ เรื่องสำคัญมากที่ดำเนินการได้เลย และใช้กลไกต่างๆทีมีอยู่แล้ว ทั้งคปอ. หรือสหภาพแรงงาน องค์กรแรงงานต่างๆร่วมกันขับเคลื่อนให้บรรลุผล

 

(5) สรุปการเสวนา

ในช่วงสุดท้ายของเวที นายมนัส โกศล ประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) ทำหน้าที่สรุปการเสวนา ดังนี้

ผมขอสรุปสั้นๆ 3 ประเด็นดังนี้

1) การสร้างแรงจูงใจและมีเป้าหมายในการทำงานร่วมกันถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะหลายสถานประกอบการอยากทำภารกิจนี้แต่ขาดทุนในการดำเนินงาน ดังนั้นทำอย่างไรจะมีเงินในกองทุนที่มีอยู่แล้วมาจัดการหรือเข้ามาสนับสนุนให้ได้จริง

2) การสร้างความสามัคคีในกลุ่มองค์กรลูกจ้างร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนสุขภาพความปลอดภัยในสถานประกอบการ

3) การจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด เพื่อขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสร้างให้เกิดระบบประกันสังคมถ้วนหน้า

          เหล่านี้คือ แนวทางสำคัญที่ทางโครงการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ (คพสก.) รวมถึงสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทยและเครือข่ายประกันสังคมคนทำงานจะร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดรูปธรรมและปฏิบัติการจริงต่อไป 




กิจกรรม สพท.

การประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 31/2566
สำนักงานเลขาธิการ จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษาสภาฯ ครั้งที่ 5/2566
สำนักเลขาธิการสภาฯ จัดประชุมสัญจรคณะกรรมการบริหาร และที่ปรึกษา article
กิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2566 article
สภาฯจัดกิจกรรมวันสงกรานต์ประจำปี 2566 article
ประชุมสัญจร คณะกรรมการ ที่ปรึกษา สภาฯ ณ บริษัท เอนไกไทย จำกัด
เข้าร่วมงาน วันสตรีสากล ประจำปี 2566
สพท.เข้าร่วมการประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะครั้งที่ 2 article
การประชุมสามัญประจำปี ครั้งที่ 30/2565 article
สภาฯ จัดอบรมความรู้ให้กับคณะกรรมการสภาฯ article
การเสวนา สพท. คปค. article
กิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2565 article
การประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 29/2564
โครงการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “ธนาคารแรงงานและโรงพยาบาลประกันสังคม”
รมว.แรงงานจับมือสภาองค์การลูกจ้างฯ มอบเครื่องอุปโภคบริโภคให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานในสถานการณ์โควิด-19
ยื่นหนังสือขอให้ประกันสังคมได้ดำเนินการจัดหาชุดตรวจหาเชื้อโควิด ATK ที่ได้รับอย.ให้กับผู้ประกันตนม33./39/40 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือในราคาถูกเพื่อการเข้าถึงสิทธิและบริการการป้องกันและคัดกรองโรคเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้แรงงาน
…6 ภาคี ผนึกกำลังส่งมอบของบริจาค สู้ภัยโควิด-19…
ลงพื้นที่มอบหน้ากากอนามัย 2000 ชิ้น พร้อมชุด PPE article
ภารกิจท่านมนัส โกศล ประธาน สพท. ในช่วงโควิด-19
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2564
สพท. เข้าพบเลขา สปสช. เพื่อยื่นผลักดันให้ผู้ประกันเข้าถึงสิทธิ
การประชุมโครงการลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงสิทธิและบริการทางสุขภาวะของผู้ใช้แรงงาน article
กิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2564 article
เวทีสรุปบทเรียน .. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นประธานเปิดงาน
สพท.รับเรื่องร้องทุกข์จากลูกจ้าง
สพท. เข้ายื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี พิจารณา โครงการ "เราชนะ" article
เวทีสานเสวนา “โรคระบาดโควิด – 19 กับการปฏิรูปการส่งเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ”
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สพท. กับ สสส.
13/5/63 ท่านประธานมนัสฯคุณนิคม คุณภาคภูมิทนายศรศาสตร์ นำลูกจ้างเข้าร้องเรียนต่ออธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สรุปปัญหาการช่วยเหลือลูกจ้างบ.นครหลวงถุงเท้าไนล่อน จก.อ.สามพราน จ.นครปฐม
กิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2563
สพท. คปค. ยื่นหนังสือถึงนายกฯ "ขอเสนอมาตรการการบังคับใช้กฎกระทรวง"
ยุเพิ่มเงินว่างงานทำผลงานโบแดง
เข้าพบปลัดกระทรวงแรงงาน เพื่อติดตามข้อเสนอเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่ลูกจ้าง
เวทีเสวนาเชิงนโยบาย “การพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ” และพิธีมอบโล่เกียรติยศและประกาศเกียรติคุณสถานประกอบการต้นแบบ
สพท.เข้าพบปลัดกระทรวงแรงงาน ติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน
ถอดบทเรียนการพัฒนาโครงการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ
เครือข่ายฯ ค้านนายกฯ “จ่อเอาเงินประกันสังคม มาปล่อยกู้” หวั่น กระทบบำนาญแน่!
“มนัส” ค้านต่างด้าวตั้งสหภาพฯ ชงลูกจ้างไทยกลุ่มเหมาบริการ 4 แสนคนให้ได้สิทธิแทน
กิจกรรมโบว์ลิ่งการกุศล ชิงถ้วยรางวัลชนะเลิศจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
สพท. เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
นาย​มนัส​ โกศล​ ประธาน​สภา​องค์การ​ลูกจ้าง​พัฒนา​แรงงาน​แห่ง​ประเทศไทย​ ได้เข้่าร่วมเสวนา
ประธานสภาฯ ประชุมคณะทำ​งาน​แรงงาน​นอก​ระบบ​ "พัฒนา​และ​ขับเคลื่อน​ข้อเสนอ​เชิง​นโยบาย​เพื่อ​สุข​ภาวะ​ของ​แรงงาน​ข้ามชาติ​ที่​ยัง​มิ̴
ประธาน​สภา​องค์การ​ลูกจ้าง​พัฒนา​แรงงาน​แห่ง​ประเทศไทย​ ได้​รับ​เกียรติ​เข้าร่วม​เป็นวิทยากร​เสวน
ประชุมคณะกรรมการเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.)
นายมนัส​ โกศล​ ประธาน​สภา​องค์การ​ลูกจ้าง​พัฒนา​แรงงาน​แห่ง​ประเทศไทย​ เป็นวิทยากร​บรรยาย​หัวข้อ​ "พระราชบัญญัติ​กองทุน​เงินทดแทน​ ฉบับใหม่​ ลูกจ้าง
กิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2562
ประธานสภาฯ ร่วมประชุมเครือข่ายเกษตรพันธสัญญา
ประชุมฝ่ายวิชาการ​และคณะ​ทำงาน​การส่งเสริม​สุขภาพ​ป้องกัน​โรค​ เพื่อสรุปในเรื่องหลักสูตร​การ​พัฒนา​ศักยภาพ​ผู้นํา​แรงงานและการทำคู่มือ​การส่งเสริม​สุขภาพ​และป้องกัน&
การประชุม เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.)เพื่อกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนและรณรงค์เชิงนโยบาย
การประชุม โครงการ คพสก. ร่วมกับคณะวิชาการ จัดทำชุดคู่มือเพื่อส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ
บรรยากาศการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 26/2561
คปค.เข้ายื่นหนังสือถึงท่านเลขาฯประกันสังคม และประธานอนุกรรมการพัฒนาด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระบบประกันสังคม
เข้าพบรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน สวัสดีปีใหม่ และขอบคุณ (400 วัน)
สนช.ผ่านกฎหมายเพิ่มค่าชดเชยเลิกจ้าง อายุงาน 20 ปี ได้ 400 วัน
สพท. คปค. อรท. มอบดอกไม้ขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณา พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ
คปค. ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้ยกเลิกคำสั่ง
คปค. แถลงการณ์
กิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2561
เข้าพบนายกรัฐมนตรี ยื่นข้อเสนอการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม มาตรา 8
บรรยากาศการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 25/2560 สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย
เวทีสาธารณะ ๒ ปี พระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๘ “๒ ปี การปฏิรูประบบประกันสังคม ผู้ประกันตนได้อะไร”
ประชุมคณะอำนวยการโครงการ คสปค.
คณะกรรมการสภาฯ เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบดอกไม้ขอบคุณ article
คปค. เข้าพบปลัดกระทรวงแรงงาน
29 มิ.ย. - 1 ก.ค. 60 งานสัปดาห์ความปลอดภัย ประจำปี 2560 ณ ไบเทคบางนา
สพท. ประชุมร่วมกับสภาฯนายจ้าง หารือ ม.8
สร.โอเชียนกลาส ประชุมวิสามัญฯ ขอมตินัดหยุดงาน
กิจกรรมประธานสภาฯ
ภาพบรรยากาศการจัดเวทีสาธารณะ 2 ปี พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับที่ 4 พ.ศ.2558
บรรยากาศ กิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2560
ประชุมคณะกรรมการบริหารสภาฯ ครั้งที่ 3/2560
โครงการ คสปค.ประชุมองค์กรแรงงานในพื้นที่ ลาดกระบัง
โครงการ คสปค.ประชุมองค์กรแรงงานในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา
สภาฯพัฒนาฯ จัดอบรมให้ความรู้ประกันสังคม ประจำปี 2560 ให้กับผู้ประกันตน
ประชุมกรรมการบริหารสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย 12/03/60
ประชุมคณะกรรมการวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2560
บรรยากาศงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 24/2559
บรรยากาศงานประชุมใหญ่สร.เคซีอี
บรรยากาศงานประชุมประจำเดือนสภาฯ ครั้งที่ 1/2560
ยื่นหนังสือถึงรมต.แรงงาน เร่งประกาศกฎกระทรวง article
คปค.ประชุมเสวนา ณ โรงแรมเบย์
ข่าวสารความเคลื่อนไหว (ติดตาม) คปค.
คปค.เคลื่อนไหวกรณีทันตกรรม
คปค.จัดอบรมหลักสูตรให้ความรู้ประกันสังคม และกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ประจำปี 2559 article
โครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับประกันสังคม
บรรยากาศงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 23/2558 ของสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย
สพท.กำหนดสัมมนาโครงการเตรียมการหามาตรา จ.ราชบุรี
ประชุมคณะกรรมการบริหารสภาฯ ครั้งที่ 3/2558
สภาฯ เข้าร่วมโครงการ สานฝัน..ปันน้ำใจ..พี่ให้น้อง ครั้งที่ 2
การประชุมจัดสรรตำแหน่งคณะกรรมการบริหารสภาฯพัฒนา
บรรยากาศงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 22/2557
สหภาพแรงงานบุรีการ์เมนต์ประเทศไทย จัดงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 15/2557
บรรยากาศงานประชุมใหญ่สามัญประจำ ครั้งที่ 21/2556 article
นัดประชุมวิสามัญ สร.ชิปโปโมลด์ส article
สภาฯ กำหนดจัดงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 21/2556 article
คณะกรรมการบริหารสภาฯ เข้าร่วมสัมมนา
ประชุมคณะกรรมการองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย
ประธานและเลขาฯสภาฯ เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย article
อบรมสัมมนา ของสำนักความปลอดภัย



dot
เกี่ยวกับ สพท.
dot
bulletประวัติความเป็นมา
bulletวิสัยทัศน์
bulletนโยบาย
bulletคณะกรรมการบริหาร
bulletคณะที่ปรึกษา
bulletเจ้าหน้าที่สภาฯ
dot
ทั่วไป
dot
bulletกฎหมาย
bulletค่าจ้างขั้นต่ำ
bulletกิจกรรมสภาฯ
bulletกิจกรรมสภาพแรงงาน
bulletปรึกษาคดีแรงงาน
bulletถาม - ตอบ
bulletสรุปสาระสำัคัญเปรียบเทียบพรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 กับร่างพรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ....(ฉบับผู้ใช้แรงงาน)
bulletข้อเสนอ พ.ร.บ.ประกันสังคม ฯ มาตรา 8


กระทรวงแรงงาน
ฐานเศรษฐกิจ
ข่าวสด


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย
เลขที่ 25/59 ซ.วิภาวิลล์แมนชั่น ถ.สุขุมวิท
ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270
โทร.02-7552165 โทรสาร 02-7565346 กด 0
Email : ctl_manas@hotmail.com
http://www.ctl.or.th