ReadyPlanet.com
dot dot
สรุปสาระสำัคัญเปรียบเทียบพรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 กับร่างพรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ....(ฉบับผู้ใช้แรงงาน)

 

สรุปสาระสำคัญเปรียบเทียบพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
กับ ร่างพระราชบัญัติพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (ฉบับผู้ใช้แรงงาน)

 

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑                         

 

 

 

 

พระราชบัญญัติพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
(ฉบับที่..) พ.ศ. .... 
   (ฉบับผู้ใช้แรงงาน)                                   

หมายเหตุ

                               

๑.ขอบเขตการใช้บังคับ
            -ยกเว้นมิให้ใช้บังคับ
            (๑) ราชการส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น
            (๒) รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

             นอกจากกรณีตาม (๑) (๒) จะออกกฎกระทรวงมิให้ใช้พระราชบัญญัตินี้บังคับทั้งหมดหรือบางส่วนแก่นายจ้างประเภทใดประเภทหนึ่งก็ได้

.ขอบเขตการใช้บังคับ
          -ขยายความคุ้มครองไปสู่ลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานราชการส่วนกลาง ภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ ที่หน่วยงานดังกล่าวมอบหมายให้บุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาทำงาน อันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานผู้มอบหมายดังกล่าว และให้นำมาตรา ๑๑/๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
            -แต่ยังคงยกเว้นมิให้ใช้บังคับราชการส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑      

-(แก้ไขเพิ่มเติมพรบ.คุ้มครองฯ ๔๑ มาตรา ๔ โดยเพิ่มเติม (๓)) ขยายความคุ้มครองไปสู่ลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมิใช่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจโดยตรง ได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ เช่นเดียวกับลูกจ้างเอกชนทั่วไป

 

 

 

 

 

๒.แก้ไขบทนิยาม “อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ”

               -หมายถึง อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๒.แก้ไขบทนิยาม “อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ”

               -หมายถึง อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างแรกเข้าขั้นต่ำไม่เกิน ๑ ปีนับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน

 

 

 

 

    -(แก้ไขเพิ่มเติมพรบ.คุ้มครองฯ ๔๑ มาตรา ๕) นอกจากให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำให้กับลูกจ้างที่เข้าทำงานใหม่ไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดแล้ว และเมื่อลูกจ้างทำงานมากกว่า ๑ ปีก็ให้ได้มากกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เนื่องจากลูกจ้างได้มีทักษะฝีมือในการทำงานมากขึ้นก็ควรได้ค่าจ้างที่สูงขึ้นตามไปด้วย

 

 

 

 

๓.การเปลี่ยนแปลงนายจ้าง

                 -กรณีมีการเปลี่ยนแปลงนายจ้างเนื่องจากการโอน รับมรดกหรืออื่นใด หรือกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล และโอน หรือควบกับนิติบุคคลใด ให้นายจ้างใหม่รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างทุกประการ

 

 

 

 

 

๓.การเปลี่ยนแปลงนายจ้าง
              -กรณีมีการเปลี่ยนแปลงนายจ้างเนื่องจากการโอน รับมรดกหรืออื่นใด หรือกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล และโอน หรือควบกับนิติบุคคลใด ให้นายจ้างใหม่รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างทุกประการ

              แต่เพิ่มเติมกรณีที่ลูกจ้างไม่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงนายจ้าง ให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างและจ่ายค่าชดเชยพิเศษให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๑๑๘

 

  -(แก้ไขเพิ่มเติมพรบ.คุ้มครองฯ ๔๑ โดยเพิ่มเติมเป็นวรรคสอง ของมาตรา ๑๓) เพื่อให้ลูกจ้างมีสิทธิเพิ่มขึ้นในการที่จะเลือกและกำหนดในการที่จะไปเป็นลูกจ้างของบุคคลอื่นที่ไม่ใช่นายจ้างเดิม ซึ่งบทบัญญัติเดิมไม่ได้ให้สิทธิแก่ลูกจ้าง กำหนดให้เฉพาะนายจ้างปฏิบัติ เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของลูกจ้าง

 

.สิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น
          -มีสิทธิตามลาได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
 
 
 
 
 
 
 

 

 

 

 

 

๔.สิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น

                 -มีสิทธิลาได้ไม่น้อยกว่า ๖ วันทำงานต่อปี และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา

 

 

 -(แก้ไขเพิ่มเติมพรบ.คุ้มครองฯ ๔๑ มาตรา ๓๔) เป็นการเพิ่มเติมให้มีความชัดเจนในการกำหนดสิทธิการลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น ซึ่งเดิมไม่ได้กำหนดไว

 

 

 

 

 

๕.สิทธิลาเพื่อคลอดบุตร

          -ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน ๙๐ วัน โดยให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลาด้วย

 

 

 

 

 

 

๕.สิทธิลาเพื่อคลอดบุตร

             -ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อตรวจรักษาสุขภาพก่อนคลอดบุตรและเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน ๙๐ วัน โดยให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลาด้วย

   -(แก้ไขเพิ่มเติมพรบ.คุ้มครองฯ ๔๑ มาตรา๔๑)เพื่อให้ลูกจ้างได้ดูแลบุตรระหว่างอยู่ในครรภ์และหลังจากการคลอด

 

 

 

 

๖.การจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตร

              -ให้จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน ๔๕ วัน

 

๖.การจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตร
              -ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อตรวจรักษาสุขภาพก่อนคลอดบุตรและเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกินเก้าสิบวัน

-(แก้ไขเพิ่มเติมพรบ.คุ้มครองฯ ๔๑ มาตรา ๕๙) เพื่อให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงได้มีเวลาดูแลสุขภาพก่อนคลอดและหลังการคลอดบุตรอย่างเต็มที่ ไม่กระทบกับรายได้ในระหว่างเวลาดังกล่าว

 ๗.การหยุดกิจการชั่วคราวอันมิใช่เนื่องจากเหตุสุดวิสัย   -กรณีนายจ้างมีความจำเป็น จากเหตุที่สำคัญมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้างจนทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ ซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัยต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว  ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕ ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน และให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือก่อนวันเริ่มหยุดกิจการตาม ไม่น้อยกว่า ๓ วันทำการ

 

 

 ๗.การหยุดกิจการชั่วคราวอันมิใช่เนื่องจากเหตุสุดวิสัย -กรณีนายจ้างมีความจำเป็น จากเหตุที่สำคัญมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้างจนทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ ซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัยต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่า ค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน และให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือก่อนวันเริ่มหยุดกิจการตามไม่น้อยกว่า ๕ วันทำการ

 

 -(แก้ไขเพิ่มเติมพรบ.คุ้มครองฯ ๔๑ มาตรา ๗๕) เพื่อให้เหมาะสมต่อสภาวะทางเศรษฐกิจและการดำรงชีพในปัจจุบัน และแก้ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือก่อนวันเริ่มหยุดกิจการจากเดิม “ล่วงหน้าสามวัน” เพิ่มเป็น “ล่วงหน้าห้าวัน” ทำการเพื่อให้ลูกจ้างได้มีเวลาเตรียมความพร้อมก่อนที่จะมีการหยุดกิจการดังกล่าว

 

 

 

 

๘.การจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

                -ให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไป จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นภาษาไทย

 

 

 

 

 

๘.การจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

               -ให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไป หรือ ลูกจ้างต่างด้าวอย่างน้อย ๑๐ คนขึ้นไป จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นภาษาไทย และภาษาประจำชาติของลูกจ้างต่างด้าวนั้น

       -(แก้ไขเพิ่มเติมพรบ.คุ้มครองฯ ๔๑ มาตรา๑๐๘)เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่เขตการค้าเสรีอาเซียนและการโยกย้ายแรงงานข้ามชาติในอนาคต

 

๙.การจ่ายค่าชดเชย
            -ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังต่อไปนี้
              (๑) ทำงานติดต่อกันครบ ๑๒๐ วัน แต่ไม่ครบ ๑ ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย ๓๐ วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน ๓๐ วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
 

 

 

 

              (๒) ทำงานติดต่อกันครบ ๑ ปี แต่ไม่ครบ ๓ ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย ๙๐ วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน ๙๐ วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

              (๓) ทำงานติดต่อกันครบ ๓ ปี แต่ไม่ครบ ๖ ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย ๑๘๐ วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน ๑๘๐ วันสุดท้าย

สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

              (๔) ทำงานติดต่อกันครบ ๖ ปี แต่ไม่ครบ ๑๐ ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย ๒๔๐ วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน ๒๔๐ วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

                (๕) ทำงานติดต่อกันครบ ๑๐ ปีขึ้นไป จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย ๓๐๐ วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน ๓๐๐ วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

 

๙.การจ่ายค่าชดเชย
              -ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังต่อไปนี้
                 (๑) ทำงานติดต่อกันครบ ๑๒๐ วัน แต่ไม่ครบ ๑ ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย ๖๐ วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน ๖๐ วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
                 (๒) ทำงานติดต่อกันครบ ๑ ปี แต่ไม่ครบ ๓ ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย ๑๘๐ วันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน ๑๘๐ วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน โดยคำนวณเป็นหน่วย

                 (๓) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย ๓๖๐ วันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน ๓๖๐ วัน

สุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน โดยคำนวณเป็นหน่วย

                 (๔) ทำงานติดต่อกันครบ ๖ ปี แต่ไม่ครบ ๑๐ ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย ๔๘๐ วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน ๔๘๐ วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

                (๕) ทำงานติดต่อกันครบ ๑๐ ปีขึ้น จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย ๖๐๐ วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน ๖๐๐ วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

 -(แก้ไขเพิ่มเติมพรบ.คุ้มครองฯ ๔๑ มาตรา ๑๑๘) โดยเพิ่มเติมอัตราค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาวะในปัจจุบันและอนาคตในการที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อลูกจ้างไม่ได้ทำงานต้องใช้เงินค่าชดเชยก้อนสุดท้ายในการดำรงชีพและเลี้ยงครอบครัวจนกว่าจะหางานใหม่ทำได้ ซึ่งเป็นภาระของลูกจ้างโดยตรง ซึ่งที่ผ่านมาลูกจ้างได้ประสบปัญหาเป็นอย่างมาก เพื่อลดปัญหาการเลิกจ้างเนื่องจากเมื่อค่าชดเชยสูงขึ้นการเลิกจ้างก็จะน้อยลงเนื่องจากนายจ้างต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นต้องพิจารณาให้รอบคอบในการเลิกจ้างแต่ละครั้ง

 

 

 

 

๑๐.ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยกรณีการเลิกจ้าง

                   -นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีต่อไปนี้

 

 

               (๑) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
             (๒) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
 
              (๓) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
             (๔) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน ๑ ปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

             (๕) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา ๓ วันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร

             (๖) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก 
             แต่ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
            การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้างนายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้
 

 

 

 

๑๐.ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยกรณีการเลิกจ้าง

                 -นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีต่อไปนี้

 

 

               (๑) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
              (๒) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
           (๓) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
             (๔) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน ๑ ปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
            (๕) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา ๓ วันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
             การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้างนายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้
 
 
 
 
 
 
 
 
 

     - (แก้ไขเพิ่มเติมพรบ.คุ้มครองฯ ๔๑ มาตรา ๑๑๙ (๒) และให้ยกเลิกมาตรา ๑๑๙ (๖) และมาตรา ๑๙๙ วรรคสอง) โดยเป็นการเพิ่มเติมบทบัญญัติในการเลิกจ้างที่นายจ้างไม่ต้องจ่าย

ค่าชดเชย ตาม () เมื่อลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้กำหนดชัดเจนว่าเสียหายเท่าไหร่ อย่างไร จึงได้เพิ่มเติมให้เกิดความเสียอย่างร้ายแรงจึงให้เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้ และยกเลิก () ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเนื่องจากบางกรณีไม่มีส่วนทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย จึงเป็นการตัดสิทธิลูกจ้าง ลูกจ้างควรได้รับค่าชดเชย

 

 

 

 

 

 

๑๑.การย้ายสถานประกอบการที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว
 

            -กรณีที่นายจ้างจะย้ายสถานประกอบไปตั้งที่อื่น และมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว                      

 

 

 
               ต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓๐ วันก่อนวันย้าย ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วยให้ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายจ้างหรือวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘
                หากนายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าให้จ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย ๓๐ วัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงาน ๓๐ สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

               ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษ หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ลูกจ้างบอกเลิกสัญญา ถ้าไม่จ่ายภายในระยะเวลาดังกล่าวให้ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานภายใน ๓๐ วันนับแต่วันครบกำหนดการจ่าย และให้คณะกรรมการฯ พิจารณาและมีคำสั่งภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง

 

 

             เมื่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณาแล้ว ปรากฏว่า ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษหรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานมีคำสั่งเป็นหนังสือให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษ หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแล้วแต่กรณี ให้แก่ลูกจ้าง ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบ หรือถือว่าทราบคำสั่ง

              กรณีที่คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณาแล้วปรากฏว่า ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ให้คณะกรรมการฯ มีคำสั่งเป็นหนังสือและแจ้งให้นายจ้างและลูกจ้างทราบ                 คำสั่งของคณะกรรมการฯ ให้เป็นที่สุด เว้นแต่นายจ้างหรือลูกจ้างจะอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่ง ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาลนายจ้างต้องวางหลักประกันต่อศาลตามจำนวนที่ต้องจ่ายตามคำสั่ง จึงจะฟ้องคดีได้

 

 

 

 

 

๑๑.การย้ายสถานประกอบการ หรือย้ายลูกจ้างไปทำงานที่อื่น ที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว

                  -กรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้งที่อื่น หรือย้ายลูกจ้างไปทำงาน ณ สถานที่อื่น อันมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว                   ต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓๐ วันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ หรือย้ายลูกจ้างไปทำงาน ณ สถานที่อื่น ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วย ให้ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายจ้างหรือวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ หรือย้ายลูกจ้างไปทำงาน ณ สถานที่อื่น โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๑๑๘

                 -(แก้ไขเพิ่มเติมพรบ.คุ้มครองฯ ๔๑ มาตรา๑๒๐วรรคหนึ่ง)โดยแก้ไขเพิ่มเติมจากเดิมบัญญัติไว้เฉพาะกรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้งสถานที่อื่นเท่านั้นได้ส่งผลกระทบต่อลูกจ้าง และสร้างปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้น จึงได้ขยายให้ควบคุมไปถึงกรณีนายจ้างย้ายลูกจ้างไปทำงาน ที่ทำงานแห่งอื่น อันมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตอันปกติของลูกจ้างและครอบครัว เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ลูกจ้างที่ประสบปัญหาในการที่นายจ้างย้ายลูกจ้างไปทำงานที่ไกลจากที่พักอาศัยจากที่ทำงานเดิม

 

 

 

 

 

๑๒.กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

             -ให้มีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงาน หรือตาย หรือในกรณีอื่นตามที่กำหนดโดยคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

 

 

 

 

 

๑๒.กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

                   -ให้มีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงาน หรือตาย หรือเหตุภัยพิบัติ หรือในกรณีอื่น ตามที่กำหนดโดยคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

 -(แก้ไขเพิ่มเติมพรบ.คุ้มครองฯ ๔๑ มาตรา ๑๒๖) โดยเพิ่มเติมให้กองทุนสงค์เคราะห์ลูกจ้างได้ขยายความช่วยเหลือให้ครอบคลุมไปถึงกรณีที่ลูกจ้างออกจากงาน หรือตาย หรือเหตุภัยพิบัติ หรือในกรณีอื่นตามที่กำหนดโดยคณะกรรมการกองทุนสงค์เคราะห์ลูกจ้าง ซึ่งเพิ่มเติมให้กองทุนสงค์เคราะห์ลูกจ้างได้ให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนในกรณีเกิดเหตุภัยพิบัติขึ้น เนื่องจากทั้งนายจ้างและลูกจ้างได้ประสบความเดือดร้อนจึงควรได้รับความช่วยเหลือ

๑๓.อำนาจหน้าที่พนักงานตรวจแรงงาน
               -พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจดังต่อไปนี้
              (๑) เข้าไปในสถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้าง และสถานที่ทำงานของลูกจ้างในเวลาทำการ เพื่อตรวจสภาพการทำงานของลูกจ้างและสภาพการจ้าง สอบถามข้อเท็จจริง ถ่ายภาพ ถ่ายสำเนาเอกสารที่เกี่ยวกับการจ้าง การจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และทะเบียนลูกจ้าง เก็บตัวอย่างวัสดุหรือผลิตภัณฑ์เพื่อวิเคราะห์
เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน และกระทำการอย่างอื่นเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงในอันที่จะปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

              (๒) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกนายจ้าง ลูกจ้าง

 

 

หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้ส่งสิ่งของหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา

            (๓) มีคำสั่งเป็นหนังสือให้นายจ้างหรือลูกจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้

 

๑๓.อำนาจหน้าที่พนักงานตรวจแรงงาน
                    -พนักงานตรวจแรงงานคงมีอำนาจตามพรบ.คุ้มครองฯ ปี ๔๑

                   และให้เพิ่มเติมหลักในการเข้าไปในสถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้าง และสถานที่ทำงานของลูกจ้างในเวลาทำการนั้น  พนักงานตรวจแรงงานมีหน้าที่ต้องแจ้งให้สหภาพแรงงาน คณะกรรมการลูกจ้าง คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ หรือคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมใน สถานประกอบการ มีส่วนร่วมตรวจสถานที่ทำงาน สภาพการจ้างและการทำงานของลูกจ้าง และนำเสนอข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

 

 

 

           -(แก้ไขเพิ่มเติมพรบ.คุ้มครองฯ ๔๑ มาตรา ๑๓๙ โดยเพิ่มเติมเป็นวรรคที่สองใน (๑)) เพื่อเป็นการแก้ไขให้ผู้แทนลูกจ้างที่เป็นคณะกรรมการต่างๆ ในสถานประกอบการได้รับทราบและได้เสนอให้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน

 

 

 

 

๑๔.บทกำหนดโทษ

             -นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๐ มาตรา ๒๒ มาตรา ๒๔ มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ มาตรา ๓๙ มาตรา ๓๙/๑ มาตรา ๔๐ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ มาตรา ๔๙ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๗ มาตรา ๗๐ มาตรา ๗๑ มาตรา ๗๒ มาตรา ๗๖ มาตรา ๙๐ วรรคหนึ่ง กฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๙๕ มาตรา ๑๑๘ วรรคหนึ่ง ไม่จ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษตามมาตรา ๑๒๐ มาตรา

 

 

๑๒๑ หรือมาตรา ๑๒๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ มาตรา ๓๙ มาตรา ๓๙/๑ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ มาตรา ๔๙ หรือมาตรา ๕๐ เป็นเหตุให้ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ หรือถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

๑๔.บทกำหนดโทษ
 

 

 

 

             -เพิ่มเติมบทกำหนดโทษที่นายจ้างฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม กล่าวคือ บทบัญญัติเกี่ยวการโอนเปลี่ยนแปลงนายจ้าง (ม.๑๓) , การให้สิทธิลากิจ (ม.๓๔) , การให้สิทธิลาคลอดบุตร (ม.๔๑) , การจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างในวันลาคลอดบุตร (ม.๕๙) , การย้ายสถานประกอบการหรือลูกจ้างที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของลูกจ้างหรือครอบครัว (ม.๑๒๐) , การเลิกจ้างเนื่องจากปรับปรุงกระบวนการผลิตนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีมาใช้ (ม.๑๒๑)ในมาตรา ๑๔๔

            -และเพิ่มโทษ มากขึ้นเป็น “จำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ

 

 

 

-(แก้ไขเพิ่มเติมพรบ.คุ้มครองฯ ๔๑ มาตรา ๑๔๔ ) โดยได้เพิ่มมาตรา ๑๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๔๑ มาตรา ๕๙ มาตรา ๑๒๐ มาตรา ๑๒๑ ไว้ในมาตรา ๑๔๔ และได้เพิ่มโทษมากขึ้นจากเดิม
“ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน ปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทังปรับ” เพิ่มเป็น

“จำคุกไม่เกิน ๑ ปี ปรับไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

 

 

 

 

 

 

 

 

๑๕.บทกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนมาตรา ๑๑/๑

            -ผู้ประกอบกิจการที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑/๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐” แสนบาท

 

 

 

 

 

 

 

๑๕.บทกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนมาตรา ๑๑/๑

               -ผู้ประกอบกิจการที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑/๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

            (แก้ไขเพิ่มเติมพรบ.คุ้มครองฯ ๔๑ มาตรา ๑๔๔/๑) มีการปรับบทลงโทษทั้งโทษจำคุกและโทษปรับมากขึ้น จาก “มีเฉพาะโทษปรับไม่เกิน๑๐๐,๐๐๐ บาท” แก้ไขเป็น “ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

 

 

 

 

๑๖.บทกำหนดโทษนายจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๕ วรรคหนึ่ง

            -นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๕ มาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๔๕ มาตรา ๕๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ มาตรา ๕๙ มาตรา ๖๕ มาตรา ๖๖ มาตรา ๗๓ มาตรา ๗๔ มาตรา ๗๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๗๗ มาตรา ๙๙ มาตรา ๑๐๘ มาตรา ๑๑๑ มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๑๓ มาตรา ๑๑๔ มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๗ หรือไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ตามมาตรา ๑๒๐ มาตรา ๑๒๑ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๑๓๙ (๒) หรือ (๓) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

๑๖.บทกำหนดโทษนายจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๕ วรรคหนึ่ง
               -ตัดบทกำหนดโทษ มาตรา ๗๕ วรรคหนึ่งออกจากบทกำหนดโทษ มาตรา ๑๔๖
            แต่กำหนดให้นายจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๕ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยเพิ่มมาตรา ๑๔๖/๑
 
 
 
                -(แก้ไขเพิ่มเติมพรบ.คุ้มครองฯ ๔๑  มาตรา ๑๔๖ โดยให้ตัดมาตรา ๗๕ วรรคหนึ่งออก)

                  และแก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษนายจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๕ วรรคหนึ่ง ขึ้นใหม่ในมาตรา ๑๔๖/๑ เพื่อให้เหมาะสมและมีความสอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมและเหมาะสมกับสภาวะในปัจจุบัน

  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 







dot
เกี่ยวกับ สพท.
dot
bulletประวัติความเป็นมา
bulletวิสัยทัศน์
bulletนโยบาย
bulletคณะกรรมการบริหาร
bulletคณะที่ปรึกษา
bulletเจ้าหน้าที่สภาฯ
dot
ทั่วไป
dot
bulletกฎหมาย
bulletค่าจ้างขั้นต่ำ
bulletกิจกรรมสภาฯ
bulletกิจกรรมสภาพแรงงาน
bulletปรึกษาคดีแรงงาน
bulletถาม - ตอบ
bulletสรุปสาระสำัคัญเปรียบเทียบพรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 กับร่างพรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ....(ฉบับผู้ใช้แรงงาน)
bulletข้อเสนอ พ.ร.บ.ประกันสังคม ฯ มาตรา 8


กระทรวงแรงงาน
ฐานเศรษฐกิจ
ข่าวสด


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย
เลขที่ 25/59 ซ.วิภาวิลล์แมนชั่น ถ.สุขุมวิท
ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270
โทร.02-7552165 โทรสาร 02-7565346 กด 0
Email : ctl_manas@hotmail.com
http://www.ctl.or.th