ReadyPlanet.com
dot dot
ประวัติความเป็นมา

     เมื่อ พ.ศ. 2534 ได้มีกลุ่มสหภาพแรงงาน ได้แยกตัวออกจากสภาองค์การลูกจ้างสมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย (TTUC)   ซึ่งมีหลายเหตุผล และหลายปัจจัยในการแยกตัวออกมาตั้งกลุ่ม โดยการนำของ นายมนัส  โกศล,  นายอัมพร  บรรดาศักดิ์  ตลอดทั้ง นายบุญเชิด  เขียวขำ  และนายสมศักดิ์  เกิดศิริ และมีผู้นำแรงงานอีกหลาย ๆ คนที่ไม่ได้เอ่ยนามตลอดทั้งบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งมีสหภาพแรงงานแยกตัวออกมาด้วยในขณะนั้นประมาณ 15 สหภาพแรงงาน  โดยใช้ชื่อ “กลุ่มอาสาพัฒนาแรงงาน” มีนายอัมพร  บรรดาศักดิ์ เป็นประธาน และผู้นำแรงงานหลายคน   ตลอดทั้งนักกฎหมาย ทนายความ นักวิชาการมาช่วยคิดและช่วยสร้างขยายการจัดตั้งสหภาพแรงงาน เข้าร่วมกิจกรรมกับองค์กรอื่น ๆ เช่น ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง, ปิดโรงงาน, ทำงานไม่ได้รับค่าจ้าง สิทธิประโยชน์อื่น ๆ ได้ร่วมกันดำเนินการช่วยเหลือลูกจ้างผู้ใช้แรงงานเพื่อให้ลูกจ้างมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาล    เพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้แรงงาน เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน,    พระราชบัญญัติประกันสังคม  ฯลฯ เป็นต้น และดำเนินการสำเร็จในหลาย ๆ ด้าน ก่อนที่จะมีการจัดตั้งเป็นสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536    ซึ่งในขณะนั้นมีสหภาพแรงงานร่วมก่อตั้งสภาฯ   จำนวน 17 แห่ง    โดยมีสำนักงานตั้งอยู่   ณ เลขที่ 36    ถนนสุขุมวิท 101/1   แขวงบางจาก เขตพระโขนง    กรุงเทพมหานคร  ได้รับการจดทะเบียน    เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2536    ซึ่งสหภาพแรงงานทั้ง  17  แห่ง มีรายชื่อดังต่อไปนี้
     1.  สหภาพแรงงาน สิ่งทอลัคกี้ 3
     2.  สหภาพแรงงาน นมตราเรือใบ
     3.  สหภาพแรงงาน ไทยการ์เมนต์ ประเทศไทย
     4.  สหภาพแรงงาน วี ทา โก้
     5.  สหภาพแรงงาน โลหะตะปูและเหล็ก
     6.  สหภาพแรงงาน เนียรนพ
     7.  สหภาพแรงงาน ซี เค พี
     8.  สหภาพแรงงาน พงษ์ธรรม
     9.  สหภาพแรงงาน ธีวัชช์
   10.  สหภาพแรงงาน เช็นทรัลแอร์
   11.  สหภาพแรงงาน สินธานี
   12.  สหภาพแรงงาน เครื่องใช้พลาสต
   13.  สหภาพแรงงาน โคอ๊อฟฟูดส์
   14.  สหภาพแรงงาน เจ แอนด์ ดี แห่งประเทศไทย
   15.  สหภาพแรงงาน ไทยเบนกัน
   16.  สหภาพแรงงาน แอร์โรมาสเตอร์
   17.  สหภาพแรงงาน ไทยนิกโก้

          ขณะเริ่มต้น มีนายอัมพร บรรดาศักดิ์ ประธานสหภาพแรงงานสิ่งทอลัคกี้ 3   เป็นประธานสภาฯท่านแรก   และนายสมบัติ  เริงไธสง จากสหภาพแรงงานสินธานี เป็นเลขาธิการสภาฯ ท่านแรก     นับตั้งแต่ พ.ศ.2536 เป็นต้นมา ก็ได้มีการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ จนถึง พ.ศ.2544       สภาฯจึงเลือก    นายมนัส  โกศล เป็นประธานสภาฯ   และนายนิคม สองคร เป็นเลขาธิการสภาฯ      พร้อมทั้งมีการจัดตั้งสหภาพแรงงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และขยายการจัดตั้งสภาฯ สาขาขึ้นจำนวน 2 แห่ง    พร้อมทั้งมีการรวมตัวก่อตั้งเป็น “องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย”
        เมื่อ พ.ศ.2545    สภาฯ ได้เป็นแกนนำในการร่วมกับสภาองค์การลูกจ้างต่าง ๆ  จำนวน 7 สภา   ขึ้นเป็นองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย   (อรท) Thai Labour Organiation (TLO) ได้มีการลงนามประกาศสัตยาบันร่วมกันทำงานและดำเนินการในด้านต่าง ๆ      เพื่อลูกจ้างผู้ใช้แรงงานให้ไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2545 และได้เลือกนายมนัส โกศล เป็นประธาน และมีนายบรรจง บุญรัตน์ เป็นเลขาธิการ     สภาองค์การลูกจ้างทั้ง 7 แห่ง ประกอบด้วย
     1.  สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ( นาย มนัส  โกศล )
     2.  สภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย ( นาย จงรักษ์   สุพลจิตร  เป็นประธาน )
     3.  สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย ( นาย บรรจง   บุญรัตน์ )
     4.  สภาองค์การลูกจ้างแรงงานเสรีแห่งชาติ  ( นาย อนุศักดิ์  บุญยะประณัย (เสียชีวิต) ปัจจุบัน   นายสรยุทธ ศิริวรภา เป็นประธาน)
     5.  สภาองค์การลูกจ้างสภาลูกจ้างแห่งชาติ ( นายสุชิน ทับพลี เสียชีวิต   ปัจจุบัน นาย บรรชา  ประสิทธิ์สันต์ เป็นประธาน)
     6.  สภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ( นาย ทวี   ดียิ่ง )
     7.  สภาองค์การลูกจ้างแรงงานเอกชนแห่งประเทศไทย  ( นาย บรรจง   พรพัฒนานิคม )
 
          ทั้ง 7 องค์กรดังกล่าวนี้ มีจำนวนสหภาพแรงงานที่เป็นสมาชิกอยู่ประมาณ 355  สหภาพแรงงาน และมีสมาชิกที่เป็นคนงานจำนวน 300,000 คน ได้รวมตัวกันเพื่อประกาศเจตนารมณ์ในการจัดตั้งองค์กรแรงงาน   ให้มีเอกภาพเป็นหนึ่งเดียวภายใต้องค์กรที่มีชื่อว่า     “องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย” เพื่อดำเนินการใด ๆ ในด้านแรงงานทั้งมวล    ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศชาติ  ประชาชน  และผู้ใช้แรงงานโดยส่วนรวมตลอดไปการดำเนินการดังกล่าวนี้จะได้เปิดแนวร่วมในการทำกิจกรรมกับองค์กรและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ จะเป็นศูนย์กลางประสานงานร่วมในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน    โดยยึดหลักปรัชญาที่ว่า    “การประสานผลประโยชน์ร่วมกัน”
   
หลักการและเหตุผล
      จากการแตกแยกของกระบวนการแรงงาน   ทำให้เกิดความขัดแย้งของผู้นำแรงงานในองค์กรแรงงานต่าง ๆ   ในระยะเวลาที่ผ่านมา จนปัจจุบันนี้ ได้ทวีความรุนแรง   เห็นได้ชัดเจนมากขึ้น     ยากที่จะเยียวยาแก้ไขได้ต่อไป    มีทั้งผลประโยชน์ส่วนตัว    และคำนึงถึงตัวใครตัวมัน    หากปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนี้ดำเนินการต่อไป    อย่างไม่มีที่สิ้นสุดก็คงจะได้เห็นกาลอวสาน      หรือการล่มสลายของกระบวนการแรงงานไทยในไม่ช้านี้      สภาองค์การลูกจ้างทั้ง 7 แห่ง   จึงได้ปรึกษาหารือเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขดังกล่าว   โดยได้แสดงเจตนารมณ์รวมตัวกันประกาศตั้งองค์กร   เพื่อรวมพลังเป็นหนึ่งเดียวกันของกระบวนการแรงงานไทย โดยใช้ชื่อว่า “องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย” เพื่อกำหนดทิศทางให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์
     เพื่อกำหนดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงให้มีวัตถุประสงค์ 5 ประการ ดังนี้
     1. เพื่อดำเนินการใด ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้แรงงาน
     2. เพื่อสร้างความสมานฉันท์ ความสามัคคีให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของผู้นำของผู้ใช้แรงงานทั้งมวล
     3. เพื่อรวมพลังให้เกิดเอกภาพในการดำเนินกิจกรรม การเคลื่อนไหว การเรียกร้อง การปกป้องและคุ้มครองผลประโยชน์ผู้ใช้แรงงาน
     4. เพื่อเลือกตั้งคัดสรร กรรมการไตรภาคีคณะต่างๆ
     5. เพื่อประกาศศักดิ์ศรีและยอมรับของขบวนการแรงงานไทย จากองค์กรและบุคคลทุกระดับ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน รวมทั้งในประเทศ
และต่างประเทศ
          เพื่อให้การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่องตลอดไป จึงได้มีฉันทามติร่วมกัน ให้มีสำนักงานประสานงานขึ้น      ณ เลขที่  25/59    วิภาวิลล์
แมนชั่น  ถ.สุขุมวิท  ต.ปากน้ำ  อ.เมือง  จ.สมุทรปราการ  10270  โทรศัพท์  02-7552165   โทรสาร
02-7565346      โดยมีนายมนัส  โกศล เป็นประธานองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย ในการดำเนินการใด ที่จะเกิดขึ้นเนเรื่องดังกล่าวทั้งมวล    จะต้องประชุมปรึกษาหารือ และในการดำเนินการใด ๆ      ทุกครั้งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การลูกจ้างทั้ง 7 แห่ง            และในช่วงหลัง
องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ โดยมีนาย สมบูรณ์  ทรัพย์สาร เป็นเลขาธิการสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจเข้าร่วมกับองค์การ   และองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย      ได้คัดค้านการนำกองทุนประกันสังคมกับกองทุนเงินทดแทนเข้ากับ พรบ.ประกันสุขภาพแห่งชาติ ในขณะนั้นจนเป็นผลสำเร็จ
 
     ต่อมา    เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม 2552    ได้มีการประชุมใหญ่องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย              ณ.ห้องประชุมสภาฯศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย    ซึ่งมีสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย มีนาย พงษ์เทพ  ไชยวรรณ     เป็นประธาน       และสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย เข้าร่วมเป็นภาคีกับองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย     และในการประชุมใหญ่      ที่ประชุมใหญ่ได้เลือก นายมนัส  โกศล เป็นประธานและนายณัฐกร  แก้วดี เป็นเลขาธิการ องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย ซึ่งมีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนสภาฯ ละ 3 ท่าน มาเป็นคณะกรรมการได้มีการร่วมมือกัน     เพื่อผลักดันและแก้ไขกฎหมายหลายฉบับเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน
     สำนักงานสภาฯ สาขาจำนวน 2 แห่ง ตามลำดับดังนี้
     -  พ.ศ.2548  สภาฯ ได้ขยายฐานเปิดสำนักงานสภาฯ สาขาแห่งที่ 1  ณ. อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี นิคมอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี    ปัจจุบัน นาย เสนอ  ชั่งทอง   เป็นประธานสภาฯ    และนายคำพันธ์  เมืองโพธิ์  เป็นเลขาธิการ
     -  พ.ศ.2550 สภาฯ ได้เปิดสำนักงานสภาฯ สาขาแห่งที่  2  ณ.อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ปัจจุบันนายบรรจง  บุญชื่น เป็นประธานสภาฯ และนายธงชัย  สิทธิเดช เป็นเลขาธิการ

      โดยในเขตพื้นที่สภาฯ สาขาแต่ละแห่งรับผิดชอบดูแลสมาชิกในสังกัด   โดยมีการจัดตั้งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง    และให้การช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน พร้อมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับการประกันสังคม   การศึกษาในด้านอื่น ๆ โดยการควบคุมดูแลของสภาฯ ส่วนกลาง   สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่          ณ เลขที่ 25/59    ซอยหมู่บ้านวิภาวิลล์แมนชั่น     ถนนสุขุมวิท    ตำบลปากน้ำ    อำเภอเมือง    จังหวัดสมุทรปราการ   10270  ปัจจุบันมีสมาชิกในสังกัดสภาฯ จำนวน 157 สหภาพแรงงาน   มีจำนวนลูกจ้างในสังกัด จำนวน  80,000 คน

          
 







dot
เกี่ยวกับ สพท.
dot
bulletประวัติความเป็นมา
bulletวิสัยทัศน์
bulletนโยบาย
bulletคณะกรรมการบริหาร
bulletคณะที่ปรึกษา
bulletเจ้าหน้าที่สภาฯ
dot
ทั่วไป
dot
bulletกฎหมาย
bulletค่าจ้างขั้นต่ำ
bulletกิจกรรมสภาฯ
bulletกิจกรรมสภาพแรงงาน
bulletปรึกษาคดีแรงงาน
bulletถาม - ตอบ
bulletสรุปสาระสำัคัญเปรียบเทียบพรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 กับร่างพรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ....(ฉบับผู้ใช้แรงงาน)
bulletข้อเสนอ พ.ร.บ.ประกันสังคม ฯ มาตรา 8


กระทรวงแรงงาน
ฐานเศรษฐกิจ
ข่าวสด


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย
เลขที่ 25/59 ซ.วิภาวิลล์แมนชั่น ถ.สุขุมวิท
ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270
โทร.02-7552165 โทรสาร 02-7565346 กด 0
Email : ctl_manas@hotmail.com
http://www.ctl.or.th