ReadyPlanet.com
dot dot
การขอเสนอแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 article

องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย (อรท.) จัดโดยคณะทำงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตในสถานประกอบกิจการ ได้มีการจัดการประชุมเสวนาร่วมกับ แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน (สสส.) และผู้แทน ๗ สภาองค์การลูกจ้างจำนวน ๔ ครั้ง (เริ่มตั้งแต่วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๕) ดังมีรายชื่อต่อไปนี้

 ๑. นายมนัส  โกศล  ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย

๒. นายบรรจง  บุญรัตน์  ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแห่งประเทศไทย

๓. นายอุดมศักดิ์  บุพนิมิตร  ประธานสภาองค์การลูกจ้างองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย

๔. นายบรรชา  ประสิทธิ์สันต์  ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาลูกจ้างแห่งชาติ

๕. นายประกาย  วิเศษวิสัย  รองประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย

๖. นายมงคล  ธนกัญญา  รองประธานสภาองค์การลูกจ้างสภายานยนต์แห่งประเทศไทย

๗. นายธีระบูลย์  ไชยสิริรัตนกุล  รองประธานสภาองค์การลูกจ้างสภายานยนต์แห่งประเทศไทย

๘. นายนิคม  สองคร  เลขาธิการสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย

๙. นายมานิตย์  พรหมการีย์กุล  เลขาธิการสภาองค์การลูกจ้างสภายานยนต์แห่งประเทศไทย

๑๐. นายธีระวิทย์  วงศ์เพชร  เลขาธิการสหภาพแรงงาน ฮอนด้า แห่งประเทศไทย

๑๑. นายธงชัย  สิทธิเดช  เลขาธิการสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย (สาขาพระนครศรีอยุธยา)

๑๒. นายธีรภัทร  ดวงจิตต์  ฝ่ายความปลอดภัยฯ สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย

๑๓. นางนลิน  อ่ำสวัสดิ์  เหรัญญิกสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย

๑๔. นายภาคภูมิ  สุกใส  ฝ่ายการศึกษาสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย

๑๕. นายประสิทธิ์  ภูมิประสาท  ฝ่ายจัดหาสมาชิกและจัดตั้งสหภาพแรงงาน สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย

๑๖. นายอมรฤทธิ์  แสงยะรักษ์  สหพันธ์ชิ้นส่วนยานยนต์ 

๑๗. นายบุญฤทธิ์  ธนโกเศศ  ประธานสหภาพแรงงาน ไดโด

๑๘. นายสามารถ  สีดอกไม้  รองประธานสหภาพแรงงานนิคอน  ประเทศไทย

๑๙. นายสพรั่ง  มีประดับ  คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

๒๐. นายบุญสม  ทาวิจิตร  คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

๒๑. นายบัณฑิตย์  ธนชัยเศรษฐวุฒิ  มูลนิธิอารมณ์  พงศ์พงัน

๒๒. นายศรศาสตร์  นาเมืองรักษ์  ทนายความประจำสภาฯ พัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย

๒๓. นายทองคำ  แดงสกุล  ที่ปรึกษาสภาฯพัฒนาแรงงานแ่ห่งประเทศไทย

๒๔. นายสุรพงษ์  พรมทะนา  ฝ่ายประสานงานโครงการฯ

๒๕. นายมงคล  วรรณสุทธิ์  ฝ่ายติดตามประเมินผลโครงการฯ

๒๖. นางสาวฐิติรัชต์  คนคม  เลขานุการโครงการฯ

 โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างกฎหมายจำนวน ๑๑ คน เพื่อหาข้อสรุปการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ดังมีรายชื่อต่อไปนี้

๑. นายนิคม  สองคร  เลขาธิการสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย

๒. นายศรศาสตร์  นาเมืองรักษ์  ทนายความประจำสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย

๓. นายบรรจง  บุญรัตน์  ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแห่งประเทศไทย

๔. นายมงคล  ธนกัญญา  สมาพันธ์แรงงานยานยนต์กลุ่ม อี ซูซุ แห่งประเทศไทย

๕. นายสาโรจน์  ฉัตรฉายา  สภาองค์การลูกจ้่่างสภาเสรีแห่งชาติ

๖. นายธีระวิทย์  วงศ์เพชร  เลขาธิการสหภาพแรงงาน ฮอนด้า แห่งประเทศไทย

๗. นายอมรฤทธิ์  แสงยะรักษ์  สหพันธ์แรงงานชิ้นส่วนยานยนต์แห่งประเทศไทย

๘. นายบัณฑิตย์  ธนชัยเศรษฐวุฒิ นักวิชาการจาก มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน

๙. นายมานิตย์  พรหมการีย์กูล  เลขาธิการสภาองค์การลูกจ้างสภายานยนต์แห่งประเทศไทย

๑๐. นายบรรชา  ประสิทธิ์สันต์  สภาองค์การลูกจ้างสภาลูกจ้างแห่งชาติ

๑๑. นายอุดมศักดิ์  บุพนิมิตร  สภาองค์การลูกจ้างสภาองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย

ได้สรุปการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

ลำดับ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ......

 

 

 

 

 

 

 

มาตรา ๔  พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่

(๑) ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่น

(๒) รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ นอกจากกรณีตามวรรคหนึ่ง จะออกกฎกระทรวงมิให้ใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแก่นายจ้างประเภทหนึ่งประเภทใดก็ได้

 

 

 

มาตรา ๔  พระราชบัญญัตินี้มิใช้บังคับแก่

(๑) ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น

(๒) รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

"(๓) ยกเว้นหน่วยงาน (๑)(๒) เป็นผู้มอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาทำงาน อันมิใช่การประกอบธุรกิจ จัดหางาน ซึ่งงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานผู้มอบหมายดังกล่าวให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๑๑/๑ มาใช้บังคับตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม"

    นอกจากนี้กรณีตามวรรคหนึ่ง จะออกกฎกระทรวงมิให้ใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแต่นายจ้างประเภทหนึ่งประเภทใดก็ได้

 ๒

 

 

 

 

 

 มาตรา ๕  ในพระราชบัญญัตินี้

.............................................................

"ค่าจ้างในวันทำงาน" หมายความว่า ค่าจ้างที่จ่ายสำหรับการทำงานเต็มเวลาการทำงานปกติ

"อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ" หมายความว่า อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้

...............................................................

 มาตรา ๕  ในพระราชบัญญัตินี้

.............................................................

"ค่าจ้างในวันทำงาน" หมายความว่า ค่าจ้างที่จ่ายสำหรับการทำงานเต็มเวลาการทำงานปกติ

"อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ" หมายความว่า อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างแรกเข้า ขั้นต่ำไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน

..............................................................

 

 

 

 

 

 

 

มาตรา ๑๓  ในกรณีที่กิจการใดมีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้างเนื่องจากการโอนรับมรดกหรือด้วยประการอื่นใด หรือในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล และมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง โอน หรือควบกับนิติบุคคลใด สิทธิต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีอยู่ต่อนายจ้างเดิมเช่นใดให้ลูกจ้างมีสิทธิเช่นว่านั้นต่อไป และให้นายจ้างใหม่รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการ

 

 

 

มาตรา ๑๓  ในกรณีที่กิจการใดมีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้างเนื่องจากการโอน รับมรดกหรือด้วยประการอื่นใด หรือในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล และมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง โอน หรือควบกับนิติบุคคลใด สิทธิต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีอยู่ต่อนายจ้างเดิม เช่นใดให้ลูกจ้างมีสิทธิเช่นว่านั้นต่อไป และให้นายจ้างใหม่รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการ

ในกรณีที่ลูกจ้างไม่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้างเนื่องจากการโอน รับมรดกหรือด้วยประการอื่นใด หรือในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล และมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง โอน หรือควบกับนิติบุคคลใด ตามวรรคแรกให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างและจ่ายค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๑๑๘

มาตรา ๓๔  ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตามข้ิอบังคับเกี่ยวกับการทำงาน มาตรา ๓๔  ใหุ้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ไม่น้อยกว่าหกวันทำงานต่อปีและให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลที่ลา

 

มาตรา ๔๑  ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกินเก้าสิบวัน

 วันลาตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลาด้วย

มาตรา ๔๑  ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อตรวจรักษาสุขภาพก่อนคลอดบุตรและเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกินเก้าสิบวัน

วันลาตามวรรค์หนึ่ง ให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลาด้วย

 

มาตรา ๕๙ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อคลอดบุตร เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกินสี่สิบห้าวัน  มาตรา ๕๙  ใ้ห้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้หญิงในวันลา เพื่อตรวจรักษาสุขภาพก่อนคลอดบุตรและเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกินเก้าสิบวัน

 

 

 

 

มาตรา ๗๕  ในกรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นโดยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สำคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้างจนทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัยต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน

     ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือก่อนวันเริ่มหยุดกิจการตามวรรคหนึ่งไม่น้อยกว่าสามวันทำการ

มาตรา ๗๕  ในกรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นโดยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สำคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้างจนทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ ซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัยต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่า ค่าจ้างในวันทำงาน ที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน

    ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือก่อนวันเริ่มหยุดกิจการตามวรรคหนึ่งไม่น้อยกว่า ห้าวันทำการ

 

มาตรา ๑๐๘  ให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นภาษาไทย และข้อบังคับนั้นอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับรายการดังต่อไปนี้...... มาตรา ๑๐๘ ให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป หรือลูกจ้างต่างด้าวอย่างน้อยสิบคนขึ้นไป จัดให้มีข้อบัีงคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นภาษาไทย และภาษาประจำชาติของลูกจ้างต่างด้าวนั้น และข้อบังคับนั้นอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับรายการดังต่อไปนี้ ...

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มาตรา ๑๑๘  ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้ 

(๑) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๒) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๓) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๔) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้น ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้าย สำหรับบลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๕) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับบลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย .....

 

มาตรา ๑๑๘  ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างดังต่อไปนี้

(๑) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหกสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน หกสิบวันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๒) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ไปจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๓) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยหกสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยหกสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๔) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสี่ร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสี่ร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๕) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าอัตราสุดท้ายหกร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหกร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึงได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ....

๑๐

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มาตรา ๑๑๙  นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้

(๑) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

(๒) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

(๓) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

(๔) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน

    หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

(๕) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่้่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร

(๖) ได้รับโื๋ทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่้สุดให้จำคุก

            ในกรณี(๖) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

           การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้างนายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้

 มาตรา ๑๑๙  นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่้งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้

(๑)  ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

(๒)  จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง

(๓)  ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

(๔) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างจำเป็นต้องตักเตือน

      หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

(๕) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหุตอันสมควร

(๖) (ยกเลิก) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

        ในกรณี(๖)ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

         การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้างนายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้

๑๑

 

 

 

 

มาตรา ๑๒๐  ในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่นอันมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว นายจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ ในการนี้ ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วยให้ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างใด้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายจ้างหรือวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ แล้วแต่กรณีโดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๑๑๘ ....

มาตรา ๑๒๐   ในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่น หรือย้ายลูกจ้างไปทำงาน ณ สถานที่อื่น อันมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวนายจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการหรือย้ายลูกจ้างไปทำงาน ณ สถานที่อื่น ในการนี้ ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วย ให้ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายจ้างหรือวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ หรือย้ายลูกจ้างไปทำงาน ณ สถานที่อื่น แล้วแต่กรณีโดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๑๑๘....

๑๒

 

มาตรา ๑๒๖   ให้มีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงาน หรือตายหรือในกรณีอื่นตามที่กำหนดโดยคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง มาตรา ๑๒๖   ให้มีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงาน หรือตายหรือเหตุภัยพิบัติ หรือในกรณีอื่นตามที่กำหนดโดยคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

๑๓

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มาตรา ๑๓๙  ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ให้พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจดังต่อไปนี้

(๑)  เข้าไปในสถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้าง และสถานที่ทำงานของลูกจ้างในเวลาทำการ เพื่อตรวจสภาพการทำงานของลูกจ้างและสภาพการจ้างสอบถามข้อเท็จจริง ถ่ายภาพถ่ายสำเนาเอกสารที่เกี่ยวกับการจ้าง การจ่ายค่าจ้างค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และทะเบียนลูกจ้าง เก็บตัวอย่างวัสดุหรือผลิตภัณฑ์เพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน และกระทำการอย่างอื่นเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงในอันที่จะปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

(๒) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกนายจ้าง ลูกจ้าง หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริง หรือให้ส่งสิ่งของหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา

(๓) มีคำสั่งเป็นหนังสือให้นายจ้างหรือลูกจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๓๙  ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ให้พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจดังต่อไปนี้

(๑)  เข้าไปในสถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้าง และสถานที่ทำงานของลูกจ้างในเวลาทำการ เพื่อตรวจสภาพการทำงานของลูกจ้างและสภาพการจ้างสอบถามข้อเท็จจริง ถ่ายภาพถ่ายสำเนาเอกสารที่เกี่ยวกับการจ้าง การจ่ายค่าจ้างค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และทะเบียนลูกจ้าง เก็บตัวอย่างวัสดุหรือผลิตภัณฑ์เพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน และกระทำการอย่างอื่นเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงในอันที่จะปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

  การดำเนินการตาม (๑) พนักงานตรวจแรงงานต้องแจ้งให้สหภาพแรงงาน คณะกรรมการลูกจ้าง คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ หรือคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในสถานประกอบการ มีส่วนร่วมตรวจสถานที่ทำงาน สภาพการจ้างและการทำงานของลูกจ้าง และนำเสนอข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

(๒) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกนายจ้าง ลูกจ้าง หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริง หรือให้ส่งสิ่งของหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา

(๓) มีคำสั่งเป็นหนังสือให้นายจ้างหรือลูกจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้

 ดาวน์โหลดแบบฟอร์มรายละเอียดผู้สนับสนุนร่างพรบ.




กิจกรรม สพท.

กิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2567 article
การประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 31/2566
สำนักงานเลขาธิการ จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษาสภาฯ ครั้งที่ 5/2566
สำนักเลขาธิการสภาฯ จัดประชุมสัญจรคณะกรรมการบริหาร และที่ปรึกษา article
กิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2566 article
สภาฯจัดกิจกรรมวันสงกรานต์ประจำปี 2566 article
ประชุมสัญจร คณะกรรมการ ที่ปรึกษา สภาฯ ณ บริษัท เอนไกไทย จำกัด
เข้าร่วมงาน วันสตรีสากล ประจำปี 2566
สพท.เข้าร่วมการประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะครั้งที่ 2 article
การประชุมสามัญประจำปี ครั้งที่ 30/2565 article
สภาฯ จัดอบรมความรู้ให้กับคณะกรรมการสภาฯ article
การเสวนา สพท. คปค. article
กิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2565 article
การประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 29/2564
โครงการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “ธนาคารแรงงานและโรงพยาบาลประกันสังคม”
รมว.แรงงานจับมือสภาองค์การลูกจ้างฯ มอบเครื่องอุปโภคบริโภคให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานในสถานการณ์โควิด-19
ยื่นหนังสือขอให้ประกันสังคมได้ดำเนินการจัดหาชุดตรวจหาเชื้อโควิด ATK ที่ได้รับอย.ให้กับผู้ประกันตนม33./39/40 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือในราคาถูกเพื่อการเข้าถึงสิทธิและบริการการป้องกันและคัดกรองโรคเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้แรงงาน
…6 ภาคี ผนึกกำลังส่งมอบของบริจาค สู้ภัยโควิด-19…
ลงพื้นที่มอบหน้ากากอนามัย 2000 ชิ้น พร้อมชุด PPE article
ภารกิจท่านมนัส โกศล ประธาน สพท. ในช่วงโควิด-19
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2564
สพท. เข้าพบเลขา สปสช. เพื่อยื่นผลักดันให้ผู้ประกันเข้าถึงสิทธิ
การประชุมโครงการลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงสิทธิและบริการทางสุขภาวะของผู้ใช้แรงงาน article
กิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2564 article
เวทีสรุปบทเรียน .. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นประธานเปิดงาน
สพท.รับเรื่องร้องทุกข์จากลูกจ้าง
สพท. เข้ายื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี พิจารณา โครงการ "เราชนะ" article
เวทีสานเสวนา “โรคระบาดโควิด – 19 กับการปฏิรูปการส่งเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ”
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สพท. กับ สสส.
13/5/63 ท่านประธานมนัสฯคุณนิคม คุณภาคภูมิทนายศรศาสตร์ นำลูกจ้างเข้าร้องเรียนต่ออธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สรุปปัญหาการช่วยเหลือลูกจ้างบ.นครหลวงถุงเท้าไนล่อน จก.อ.สามพราน จ.นครปฐม
กิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2563
สพท. คปค. ยื่นหนังสือถึงนายกฯ "ขอเสนอมาตรการการบังคับใช้กฎกระทรวง"
ยุเพิ่มเงินว่างงานทำผลงานโบแดง
เข้าพบปลัดกระทรวงแรงงาน เพื่อติดตามข้อเสนอเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่ลูกจ้าง
เวทีเสวนาเชิงนโยบาย “การพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ” และพิธีมอบโล่เกียรติยศและประกาศเกียรติคุณสถานประกอบการต้นแบบ
สพท.เข้าพบปลัดกระทรวงแรงงาน ติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน
ถอดบทเรียนการพัฒนาโครงการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ
เครือข่ายฯ ค้านนายกฯ “จ่อเอาเงินประกันสังคม มาปล่อยกู้” หวั่น กระทบบำนาญแน่!
“มนัส” ค้านต่างด้าวตั้งสหภาพฯ ชงลูกจ้างไทยกลุ่มเหมาบริการ 4 แสนคนให้ได้สิทธิแทน
กิจกรรมโบว์ลิ่งการกุศล ชิงถ้วยรางวัลชนะเลิศจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
สพท. เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
นาย​มนัส​ โกศล​ ประธาน​สภา​องค์การ​ลูกจ้าง​พัฒนา​แรงงาน​แห่ง​ประเทศไทย​ ได้เข้่าร่วมเสวนา
ประธานสภาฯ ประชุมคณะทำ​งาน​แรงงาน​นอก​ระบบ​ "พัฒนา​และ​ขับเคลื่อน​ข้อเสนอ​เชิง​นโยบาย​เพื่อ​สุข​ภาวะ​ของ​แรงงาน​ข้ามชาติ​ที่​ยัง​มิ̴
ประธาน​สภา​องค์การ​ลูกจ้าง​พัฒนา​แรงงาน​แห่ง​ประเทศไทย​ ได้​รับ​เกียรติ​เข้าร่วม​เป็นวิทยากร​เสวน
ประชุมคณะกรรมการเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.)
นายมนัส​ โกศล​ ประธาน​สภา​องค์การ​ลูกจ้าง​พัฒนา​แรงงาน​แห่ง​ประเทศไทย​ เป็นวิทยากร​บรรยาย​หัวข้อ​ "พระราชบัญญัติ​กองทุน​เงินทดแทน​ ฉบับใหม่​ ลูกจ้าง
กิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2562
ประธานสภาฯ ร่วมประชุมเครือข่ายเกษตรพันธสัญญา
ประชุมฝ่ายวิชาการ​และคณะ​ทำงาน​การส่งเสริม​สุขภาพ​ป้องกัน​โรค​ เพื่อสรุปในเรื่องหลักสูตร​การ​พัฒนา​ศักยภาพ​ผู้นํา​แรงงานและการทำคู่มือ​การส่งเสริม​สุขภาพ​และป้องกัน&
การประชุม เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.)เพื่อกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนและรณรงค์เชิงนโยบาย
การประชุม โครงการ คพสก. ร่วมกับคณะวิชาการ จัดทำชุดคู่มือเพื่อส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ
บรรยากาศการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 26/2561
คปค.เข้ายื่นหนังสือถึงท่านเลขาฯประกันสังคม และประธานอนุกรรมการพัฒนาด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระบบประกันสังคม
เข้าพบรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน สวัสดีปีใหม่ และขอบคุณ (400 วัน)
สนช.ผ่านกฎหมายเพิ่มค่าชดเชยเลิกจ้าง อายุงาน 20 ปี ได้ 400 วัน
งานสานเสวนา "นโยบายรัฐกับความร่วมมือการส่งเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ"
สพท. คปค. อรท. มอบดอกไม้ขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณา พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ
คปค. ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้ยกเลิกคำสั่ง
คปค. แถลงการณ์
กิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2561
เข้าพบนายกรัฐมนตรี ยื่นข้อเสนอการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม มาตรา 8
บรรยากาศการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 25/2560 สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย
เวทีสาธารณะ ๒ ปี พระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๘ “๒ ปี การปฏิรูประบบประกันสังคม ผู้ประกันตนได้อะไร”
ประชุมคณะอำนวยการโครงการ คสปค.
คณะกรรมการสภาฯ เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบดอกไม้ขอบคุณ article
คปค. เข้าพบปลัดกระทรวงแรงงาน
29 มิ.ย. - 1 ก.ค. 60 งานสัปดาห์ความปลอดภัย ประจำปี 2560 ณ ไบเทคบางนา
สพท. ประชุมร่วมกับสภาฯนายจ้าง หารือ ม.8
สร.โอเชียนกลาส ประชุมวิสามัญฯ ขอมตินัดหยุดงาน
กิจกรรมประธานสภาฯ
ภาพบรรยากาศการจัดเวทีสาธารณะ 2 ปี พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับที่ 4 พ.ศ.2558
บรรยากาศ กิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2560
ประชุมคณะกรรมการบริหารสภาฯ ครั้งที่ 3/2560
โครงการ คสปค.ประชุมองค์กรแรงงานในพื้นที่ ลาดกระบัง
โครงการ คสปค.ประชุมองค์กรแรงงานในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา
สภาฯพัฒนาฯ จัดอบรมให้ความรู้ประกันสังคม ประจำปี 2560 ให้กับผู้ประกันตน
ประชุมกรรมการบริหารสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย 12/03/60
ประชุมคณะกรรมการวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2560
บรรยากาศงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 24/2559
บรรยากาศงานประชุมใหญ่สร.เคซีอี
บรรยากาศงานประชุมประจำเดือนสภาฯ ครั้งที่ 1/2560
ยื่นหนังสือถึงรมต.แรงงาน เร่งประกาศกฎกระทรวง article
คปค.ประชุมเสวนา ณ โรงแรมเบย์
ข่าวสารความเคลื่อนไหว (ติดตาม) คปค.
คปค.เคลื่อนไหวกรณีทันตกรรม
คปค.จัดอบรมหลักสูตรให้ความรู้ประกันสังคม และกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ประจำปี 2559 article
โครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับประกันสังคม
บรรยากาศงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 23/2558 ของสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย
สพท.กำหนดสัมมนาโครงการเตรียมการหามาตรา จ.ราชบุรี
ประชุมคณะกรรมการบริหารสภาฯ ครั้งที่ 3/2558
สภาฯ เข้าร่วมโครงการ สานฝัน..ปันน้ำใจ..พี่ให้น้อง ครั้งที่ 2
การประชุมจัดสรรตำแหน่งคณะกรรมการบริหารสภาฯพัฒนา
บรรยากาศงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 22/2557
สหภาพแรงงานบุรีการ์เมนต์ประเทศไทย จัดงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 15/2557
บรรยากาศงานประชุมใหญ่สามัญประจำ ครั้งที่ 21/2556 article
นัดประชุมวิสามัญ สร.ชิปโปโมลด์ส article
สภาฯ กำหนดจัดงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 21/2556 article
คณะกรรมการบริหารสภาฯ เข้าร่วมสัมมนา
ประชุมคณะกรรมการองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย



dot
เกี่ยวกับ สพท.
dot
bulletประวัติความเป็นมา
bulletวิสัยทัศน์
bulletนโยบาย
bulletคณะกรรมการบริหาร
bulletคณะที่ปรึกษา
bulletเจ้าหน้าที่สภาฯ
dot
ทั่วไป
dot
bulletกฎหมาย
bulletค่าจ้างขั้นต่ำ
bulletกิจกรรมสภาฯ
bulletกิจกรรมสภาพแรงงาน
bulletปรึกษาคดีแรงงาน
bulletถาม - ตอบ
bulletสรุปสาระสำัคัญเปรียบเทียบพรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 กับร่างพรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ....(ฉบับผู้ใช้แรงงาน)
bulletข้อเสนอ พ.ร.บ.ประกันสังคม ฯ มาตรา 8


กระทรวงแรงงาน
ฐานเศรษฐกิจ
ข่าวสด


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย
เลขที่ 25/59 ซ.วิภาวิลล์แมนชั่น ถ.สุขุมวิท
ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270
โทร.02-7552165 โทรสาร 02-7565346 กด 0
Email : ctl_manas@hotmail.com
http://www.ctl.or.th