ReadyPlanet.com
dot dot
สรุปประเด็นร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม 26 ประเด็น

 สรุปประเด็นร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ) ในชั้นกรรมาธิการสามัญ

 
(1) มีการขยายความคุ้มครองไปถึงลูกจ้างชั่วคราวทุกประเภทของส่วนราชการ (กฎหมายเดิมได้ยกเว้นคนกลุ่มนี้ไว้)
(2) แก้ไขคำว่า “ลูกจ้าง” ให้มีความหมายถึง ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง (กฎหมายเดิมได้ยกเว้นลูกจ้างที่ทำงานบ้านอันมิได้ประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย)
(3) แก้ไขคำว่า “ทุพพลภาพ” ให้หมายถึง การสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกาย หรือสูญเสียสภาวะปกติของจิตใจ จนทำให้ความสามารถในการทำงานลดลงถึงขนาดไม่อาจประกอบการงานตามปกติได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการแพทย์ (กฎหมายเดิมระบุเพียงว่าต้องไม่สามารถทำงานได้เพียงเท่านั้น)
(4) เพิ่มเติมคำว่า “ภัยพิบัติ” ให้มีขอบเขตที่ชัดเจนขึ้น โดยหมายถึงทั้งภายธรรมชาติและมีผู้ทำให้เกิดขึ้น เพื่อกำหนดขอบเขตการได้รับลดหย่อนการออกเงินสมทบ (กฎหมายเดิมไม่มี)
(5) แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการประกันสังคม ให้ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข และผู้แทนสำนักงบประมาณเป็นกรรมการ กับผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนฝ่ายละ 7 คน ที่มาจากการเลือกตั้งตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด และให้เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมเป็นกรรมการและเลขานุการทั้งนี้กรรมการต้องแสดงบัญชีรายการทรัพย์สิน (กฎหมายเดิมกำหนดผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละ 5 คน และไม่ได้ระบุเรื่องที่มาจากการเลือกตั้งไว้ รวมทั้งกรรมการไม่ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน)
(6) แก้ไขเพิ่มเติมเรื่องการพ้นตำแหน่งของคณะกรรมการ โดยเพิ่มเติมเรื่องคณะกรรมการมีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งของจำนวนคณะกรรมการที่มีอยู่ เพิ่มขึ้นมาอีกข้อ (กฎหมายฉบับ 2533 ไม่มีระบุไว้)
(7) กำหนดให้คณะกรรมการประกันสังคมมีอำนาจแต่งตั้งผู้ทรงวุฒิเป็นที่ปรึกษาไม่เกิน 7 คน โดยการสรรหาจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 10 ปี ในด้านการเงินการคลัง ด้านระบบงานประกันสังคม ด้านการบริหารการลงทุน ด้านบริหารจัดการ ด้านการแพทย์ ด้านกฎหมายและด้านเศรษฐศาสตร์ (กฎหมายเดิมกำหนดผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกิน 5 คน และมาจากด้านประกันสังคม แรงงาน การแพทย์ กฎหมาย และอื่นๆ)
(8) แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการการแพทย์ ให้ประกอบด้วยประธานกรรมการ และกรรมการอื่นมีจำนวนรวมกันไม่เกิน 16 คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงวุฒิในวิชาชีพเวชกรรมสาขาต่าง ๆ หรือในด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขหรือด้านการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล โดยให้ผู้แทนสำนักงานประกันสังคมเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี โดยเพิ่มผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน ฝ่ายละ 1 คน โดยแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบระเบียบตามที่รัฐมนตรีกำหนด (กฎหมายเดิมกำหนดเพียงรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงวุฒิในวิชาชีพเวชกรรมสาขาต่าง ๆ เท่านั้น)
(9) เพิ่มเติมเรื่องการให้กองทุนประกันสังคมต้องวางและถือไว้ซึ่งระบบการบัญชีที่เหมาะสมแก่กิจการตามหลักสากล มีบัญชีลงรายการรับและจ่ายเงิน สินทรัพย์ และหนี้สินที่แสดงกิจการที่เป็นอยู่ตามความจริงและตามที่ควร พร้อมด้วยข้อความอันเป็นที่มาของรายการนั้น ๆ และให้มีการตรวจสอบบัญชีภายในเป็นประจำ (กฎหมาย 2533 ไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้)
(10) กำหนดให้สำนักงานประกันสังคมสามารถดำเนินการกับทรัพย์สินที่ได้มาจากการจัดหาผลประโยชน์เพื่อประโยชน์ของกองทุนได้ (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้)
(11) ขยายความคุ้มครองให้แรงงานนอกระบบกลุ่มต่าง ๆ สามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้มากยิ่งขึ้น และเพิ่มเติมเรื่องการจ่ายเงินสมทบของรัฐบาลเข้ากองทุนสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน (กฎหมายเดิมกำหนดไว้แค่เฉพาะกลุ่มที่ไม่ใช่ลูกจ้างตามมาตรา 33 เท่านั้นที่จะสมัครเข้ามาตรา 40 ได้ และไม่มีการกำหนดอัตราเงินสมทบของรัฐบาลว่าจะต้องสมทบจำนวนเท่าใด)
(12) รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีสามารถออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตนได้ ในกรณีท้องที่หนึ่งท้องที่ใดประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้)
(13) กำหนดการคำนวณเงินเพิ่มที่นายจ้างค้างชำระเงินสมทบทั้งในส่วนของตนเองและส่วนของลูกจ้างโดยกำหนดให้เงินเพิ่มที่คำนวณได้ต้องไม่เกินจำนวนเงินสมทบที่นายจ้างต้องจ่าย (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องจำนวนเงินสมทบสุทธิที่นายจ้างต้องจ่าย)
(14) ขยายความคุ้มครองให้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุน ไม่เป็นการตัดสิทธิจากกฎหมายอื่น ๆ ที่ต้องได้รับอยู่แล้วด้วย และสิทธิการได้รับประโยชน์ไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เพื่อให้หลักประกันที่มั่นคงแก่ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิ (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้)
(15) ขยายระยะเวลาในการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนเป็น 2 ปี (กฎหมายเดิมกำหนดไว้เพียง 1 ปี)
(16) แก้ไขอัตราจำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ สำหรับการจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ให้แก่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (กฎหมายเดิมเป็นการนำค่าจ้างสูงสุด 3 เดือนภายในระยะเวลา 9 เดือนมาคำนวณ แต่กฎหมายใหม่แก้ไขจาก 9 เดือน เป็น 15 เดือน)
(17) ขยายความคุ้มครองให้ผู้ประกันตนหรือคู่สมรสหรือบุตรของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ซึ่งจงใจทำให้ตนเองหรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำให้ตนเองประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย หรือทุพพลภาพ หรือตาย มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมและเป็นมาตรฐานเดียวกันกับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (กฎหมายเดิมได้ยกเว้นเรื่องนี้ไว้)
(18) ประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้ครอบคลุมถึงค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้วย (กฎหมายเดิมไม่มีเรื่องค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค)
(19) ในกรณีที่ผู้ประกันตนทุพพลภาพอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน และการทุพพลภาพนั้นมีระดับความสูงเสียรุนแรงตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างตลอดชีวิต (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้)
(20) กำหนดประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะหบุตรจำนวนคราวละไม่เกิน 2 คน ทั้งนี้บุตรดังกล่าวต้องไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น (กฎหมายเดิมระบุว่าต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น กฎหมายใหม่ตัดประโยค “ชอบด้วยกฎหมาย” ออกไป)
(21) กำหนดให้ผู้ประกันตนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยสามารถเลือกใช้สิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพได้ เมื่อไม่ประสงค์จะพำนักอยู่ในประเทศไทย (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้)
(22) ผู้ประกันตนที่ไม่มีทายาทและเสียชีวิตลงก่อนที่ตนเองจะได้รับประโยชน์ทดแทนชราภาพ สามารถทำหนังสือระบุบุคคลผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพไว้ล่วงหน้าได้ (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้)
(23) ในกรณีที่ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน เมื่อเหตุสุดวิสัยทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ ให้มีสิทธิได้รับประยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้)
(24) ขยายความคุ้มครองให้ผู้ประกันตนซึ่งเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและเสียชีวิต มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีเสียชีวิต (กฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้ ระบุเพียงเรื่องทุพพลภาพเท่านั้น)
ทั้งนี้ภายหลังจากที่คณะกรรมธิการวิสามัญฯ ได้พิจารณาแล้วรวม 10 ครั้ง พบว่า มีการแก้ไขร่างกฎหมายประกันสังคม ซึ่งแตกต่างจากฉบับที่รับหลักการในวาระ 1 รวม 12 เรื่อง
(25) กรณีคลอดสามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง (กฎหมายเดิม เกิน 2 ครั้งๆ ละ 13,000)
(26) กรณีเงินสงเคราะห์บุตรได้จำนวนไม่เกิน 3 คน (กฎหมายเดิมได้ไม่เกิน 2 คน)
 
 
มนัส  โกศล
ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย
โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม
 



ข่าวประชาสัมพันธ์

สภาฯ กำหนดจัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 31/2566
สภาฯ กำหนดจัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 30/2565 article
การเยียวยาผู้ประกันตน จากพิษโควิด-19 จะดำเนินการได้เต็มรูปแบบหรือไม่
ศูนย์ประสานงานร้องเรียน/ร้องทุกข์ด้านแรงงาน article
สถานการณ์แย่! นายจ้างแบกรับไม่ไหว หยุดกิจการชั่วคราว หลายแห่งปิดถาวร ลูกจ้างตกงาน
สิทธิลากิจธุระอันจำเป็นตามร่างกฎหมายฉบับใหม่?
เกษียณอายุแล้วจ้างทำงานต่อแบบใดบ้าง?
“มนัส โกศล” ประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) วิเคราะห์แจกแจงวิธีปลดล็อค 13 โรคยกเว้นที่ไม่สามารถเบิกตามสิทธิประกันสังคม
นายมนัส โกศล สรุปสาระสำคัญในการจัดเวทีสาธารณะ พ.ร.บ.ประกันสังคม เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 60 ที่กระทรวงแรงงาน article
สพท. ร่วมกับ คปค. จัดเวทีสาธารณะ 2 ปี พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับที่ 4 พ.ศ.2558 article
ช่วยเหลือลูกจ้างบริษัทธนบุรีประกอบรถยนต์ ถูกเลิกจ้าง
โครงการธงฟ้าราคาประหยัดลดค่าครองชีพประชาชน จังหวัดสมุทรปราการ
ข้อเรียกร้อง และกำหนดการวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2560
ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ..... article
โครงการ คสปค. ร่วมกับ สมาคมวิถีทางเลือกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จัดสัมมนาเพื่อสรุปบทเรียนการขับเคลื่อนนโยบายประกันสังคม
สพท. ร่วมกับคปค. เข้าพบปลัดกระทรวงแรงงาน ติดตามผลการปฏิรูปสิทธิการรักษาด้านทันตกรรมของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม
โครงการสัมมนาไตรภาคีเพื่อรับฟังความคิดเห็นเรื่อง ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ. ....
เรื่องติดตาม
มติ ครม.
สภาฯพัฒนาฯ กำหนดจัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 24/2559 article
สภาฯผลักดันแก้ไข พรบ.คุ้มครองแรงงาน 14 ประเด็น ครม.มติเห็นชอบ ม.118 article
คปค. ยื่นหนังสือถึงเลขาธิการประกันสังคม article
คปค. จัดประชุม
โครงการอบรมสัมมนา กรรมการสมาคมส่งเสริมสวัสดิการคนทำงานและชุมชน article
กิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2559
คปค. เข้าพบปลัดกระทรวงแรงงาน-ปฏิรูประบบประกันสังคม
เวทีเสวนา "ทิศทางปฏิรูปประกันสังคม 2559"
ทีมงานสภาฯ พาลูกจ้างเข้ายื่นหนังสือถึงนายก และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
สพท.เข้าพบปลัดกระทรวง อธิบดีกรมสวัสดิการฯ คนใหม่
คปค. จัดเวทีสมัชชา "25 ปี ประกันสังคมต้องเป็นอิสระ"
เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน(คปค) แถลงข่าว ที่ห้องแถลงข่าวกระทรวงแรงงาน ชั้น5
นายมนัส โกศล ให้สัมภาษณ์ เดอะเนชั่น "ประกันสังคมต้องเป็นองค์กรอิสระ"
ประธานสภาฯ บรรยายพิเศษ
สภาฯพัฒนาฯ ร่วมกับอรท. จัดเวทีเสวนา "ความเป็นอิสระกองทุนประกันสังคม : ทิศทาง ยุทธศาสตร์และความเป็นไปได้"
กิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2558
นายมนัส โกศล รับวิทยากรพิเศษ สภาฯนายจ้างฯ
สภาฯ ร่วมกับรายการเวทีสาธารณะไทยพีบีเอส บันทึกเทปการปฏิรูปกฏหมายประกันสังคม
คณะกรรมการบริหารสภาฯพัฒนาฯ เข้าพบท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) เข้ายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี แก้ไขร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฯ
สรุปการพิจารณา ร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฯ article
สพท.เข้ายื่นร่างพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (ฉบับผู้ใช้แรงงาน) ณ รัฐสภา
บทนำ สาระน่ารู้เกี่ยวกับความรู้ประกันสังคม
อรท.จัดเสวนาเชิงปฏิบัติ "ยุทธศาสตร์ผลักดันร่างพรบ.ประกันสังคม"
สพท.ร่วมเวทีเสวนาทางวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
อรท.ร่วมกับเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ
สหภาพแรงงานผู้ผลิตอัญมณีเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อปลัดกระทรวงแรงงาน
สภาพัฒนาฯ จัดอบรมบรรยายกฎหมายแรงงานนอกสถานที่ article
สภาฯพัฒนาฯ ร่วมกับ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จัดสัมมนา
พนักงานบริษัท เจมส์สยาม แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด เดินขบวนเข้ายื่นคำร้องต่อประกันสังคมเขต 8 article
องค์การแรงงานฯ ร่วมกิจกรรมงานที่มีคุณค่า (Decent Work Day) article
มนัส โกศล ประธาน และคณะกรรมการสภาฯพัฒนาฯ อรท. เข้าพบรัฐมนตรีฯ (เฉลิม)
อรท.จัดสัมมนาวิเคราะห์ร่างพรบ.คุ้มครองแรงงานฯ
นายมนัส โกศล ประธานสภาฯ เข้าประชุมร่วมกับฯพณฯนายกรัฐมนตรี article
งานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2556 สหภาพแรงงานเอนไกไทย
สหภาพแรงงาน เอนไกไทย เลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพฯ ชุดใหม่
สพท.เข้าร่วมงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ครั้งที่ 27 article
สพท. เข้าร่วมงานมาตราฐานแรงงานไทย article
อรท. เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน article
กิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2556
เตรียมงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2556
กำหนดวัน เวลา และสถานที่เลือกตั้งคณะกรรมการค่า้จ้าง article
คณะกรรมการบริหารสพท.เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน article
อรท. เข้ายื่นรายชื่อผู้สนับสนุนแก้ไขกฎหมายร่างพรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (ฉบับผู้ใช้แรงงาน) article
งานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2555 สร.ธนบุรีประกอบรถยนต์ article
ประชุมคณะกรรมการบริหารสภาฯ ประจำเดือนธันวาคม 2555 article
อรท. เข้าร่วมประชุมกับเลขานุการรัฐมนตรีว่าการะทรวงแรงงาน (นายสง่า ธนสงวนวงศ์) article
เลิกจ้างตัวแทนลูกจ้างบริษัท โมนิพิท (ประเทศไทย) จำกัด article
อรท. ประชุมคณะกรรมการ เรื่องปฏิรูประบบไตรภาคี
อรท. เข้าพบฯพณฯรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน article
อรท. จัดสัมมนาโต๊ะกลม "ปฏิรูประบบไตรภาคี"
องค์การแรงงานฯ เข้ายื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน article
กรรมการสภาฯ ร่วมสัมมนา "มหาอุทกภัย ปี 2554 ต่อผู้ใช้แรงงาน" ณ รัฐสภา article
นายมนัส โกศล ประธานสภาฯ ให้สัมภาษณ์นักข่าว article
สหภาพแรงงานฮอนด้า เข้าพบนายมนัส โกศล เพื่อยื่นรายชื่อสนับสนุนร่างพรบ.คุ้มครองแรงงานฯ เพิ่มเติม
ขอแสดงความยินดีกับบริษัทที่ได้รับรางวัลการประกวดสถานประกอบกิจการดีเ่ด่นด้านแรงงานสัมพันธ์ฯ ประจำปี 2555 article
สภาฯพัฒนา เข้าร่วมประชุมกับ ILO. 87-98 article
สหภาพแรงงานฮอนด้าฯ เข้าพบนายมนัส มอบรายชื่อผู้สนับสนุนร่างพรบ.คุ้มครองแรงงานฯ จำนวน 500 คน article
ประชุมคณะทำงานโครงการฯ (สสส). article
วันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2555 article
ม.รังสิต สัมภาษณ์ มนัส โกศล ผ่าน RSU WISDOM TV article
ประธานสภาฯ พร้อมเลขาฯ เข้าพบอธิบดีกรมการจัดหางาน article
วันแรงงานแห่งชาติ จ.สมุทรปราการ article
สร.ซิลเวอร์ไอซ์ ยื่นข้อเรียกร้อง นายจ้างไม่รับ ประกาศพักงานชั่วคราว article
สร.ธนบุรีประกอบรถยนต์ นัดหยุดงาน article
world bank สัมภาษณ์นายมนัส โกศล เรื่อง "ค่าแรงขั้นต่ำ" article
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เชิญนายมนัส โกศล เป็นวิทยากร article
สร.ธนบุรีประกอบรถยนต์ ยื่นข้อเรียกร้องไม่ลงตัว มีมตินัดหยุดงาน article
บรรยากาศงานเลี้ยงปีใหม่ article
ยื่นหนังสือถึงนายก article
เครือข่ายแรงงานไทยช่วยภัยน้ำท่วม มอบสิ่งของให้กับผู้ประสบอุทกภัย article
ประธานสภาฯ มอบของบริจาคให้กับสภาฯ (สาขาพระนครศรีอยุธยา) article
ผลักดันรัฐบาลขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศไทย
นายมนัส โกศล ประธานสภาฯ ออกอากาศทางทีวีช่อง ไทยพีบีเอส
อรท.ประชุมพิเศษ และจัดแถลงข่าว article
กำหนดจัดโครงการสัมมนา article
สร.โอเชียนกลาส นัดหยุดงาน article
เลือกตั้งคณะกรรมการไตรภาคี ประจำปี 2554 article
เชิญประชุมคณะกรรมการสัญจร
ประชุมคณะกรรมการสภาฯ article



dot
เกี่ยวกับ สพท.
dot
bulletประวัติความเป็นมา
bulletวิสัยทัศน์
bulletนโยบาย
bulletคณะกรรมการบริหาร
bulletคณะที่ปรึกษา
bulletเจ้าหน้าที่สภาฯ
dot
ทั่วไป
dot
bulletกฎหมาย
bulletค่าจ้างขั้นต่ำ
bulletกิจกรรมสภาฯ
bulletกิจกรรมสภาพแรงงาน
bulletปรึกษาคดีแรงงาน
bulletถาม - ตอบ
bulletสรุปสาระสำัคัญเปรียบเทียบพรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 กับร่างพรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ....(ฉบับผู้ใช้แรงงาน)
bulletข้อเสนอ พ.ร.บ.ประกันสังคม ฯ มาตรา 8


กระทรวงแรงงาน
ฐานเศรษฐกิจ
ข่าวสด


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย
เลขที่ 25/59 ซ.วิภาวิลล์แมนชั่น ถ.สุขุมวิท
ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270
โทร.02-7552165 โทรสาร 02-7565346 กด 0
Email : ctl_manas@hotmail.com
http://www.ctl.or.th