ReadyPlanet.com
dot dot
ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวประชาสัมพันธ์                                     



สิทธิลากิจธุระอันจำเป็นตามร่างกฎหมายฉบับใหม่?

 สิทธิลากิจธุระอันจำเป็นตามร่างกฎหมายฉบับใหม่?

สิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นของลูกจ้างเป็นสิทธิได้หยุดงานประเภท "วันลา"
 มิใช่ "วันหยุด"  ลูกจ้างจะใช้สิทธิได้ก็ต่อเมื่อเข้า"เงื่อนไข"การใช้สิทธิลาตามที่กฎหมายและตามที่นายจ้างลูกจ้างกำหนด นายจ้างจึงจะมี"หน้าที่"ดำเนินการใช้การใช้สิทธิของลูกจ้างมีผลในทางปฎืบัติ
 
ในทางปฏืบัติมีปัญหาอย่างน้อย 2 ประการ
1.กรณีนายจ้างมิได้กำหนดให้มีข้อบังคับการทำงาน อาจทำให้ลูกจ้างที่ทำงานในกิจการขนาดเล็กที่กฎหมายมิได้บังคับให้มีข้อบังคับฯ อาจจะไม่ได้มีสิทธิลากิจ 
 
2. ลูกจ้างรายวัน หรือระหว่างทดลองงานอาจไม่มีสิทธิลากิจ โดยได้รับค่าจ้างระหว่างลาเพราะในทางปฎืบัตินายจ้างจะจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างรายเดือน หรือผ่านการทดลองงานแล้วที่จะมีสิทธืลากิจ
 
ด้วยเหตุดังกล่าวร่างพรบ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับใหม่ ที่ผ่านสนช.วาระที่ 1 เมื่อ 20 ก.ย.2561 จึงมีการแก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลากิจธุระอันจำเป็นโดยได้รับค่าจ้างอย่างน้อย 3 วันต่อปี 
 (แก้ไขม.34 และเพิ่มม.57/1) แสดงว่าจะกำหนดวันลามากกว่า 3 วัน ก็ได้
ผลการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว หากกฎหมายผ่านสนช.ประกาศใช้บังคับ ย่อมมีผลให้นายจ้างต้องกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธืลากิจโดยได้รับค่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะกำหนดไว้ในข้อบังคับหรือประกาศตางหากก็ได้ หรือแม้ไม่ประกาศกำหนดไว้ลูกจ้างทุกประเภทไม่ว่าลูกจ้างรายวัน รายเดือน หรืออยู่ ระหว่างทดลองงาน ลูกจ้างคนไทยหรือต่างด้าว มีสิทธิลากิจได้โดยผลของกฎหมาย
ส่วนวันลากิจธุระอันจำเป็น จะมีกิจธุระประเภทใดบ้าง อันใหนจำเป็น ไม่จำเป็น  มีเงื่อนไขการลากิจอย่างไร วิธิปฏืบัติในการลา หรือจะกำหนดวันลากิจตามสัดส่วนปีที่ทำงาน อย่างไน  ในส่วนนี้ นายจ้าง ลูกจ้าง สหภาพแรงงานต้องไปกำหนดหรือตกลงกันเอง กฎหมายมิได้กำหนดไว้ เพราะเป็นรายละเอียดหยุมหยิมเกินความจำเป็นที่จะไปกะเกณฑ์บังคับควบคุม
 
อนึ่ง กรณีที่นายจ้างกำหนดสิทธิลากิจที่มี
มาตรฐาสูงกว่าร่างกฎหมายดังกล่าวไว้เเล้ว เช่น 
ให้สิทธิลูกลากิจปีละ 5 วันทำงานโดยได้รับค่าจ้าง นายจ้างก็ต้องให้สิทธิลูกจ้างลาตามเดิม มิใช่ไปแก้ไขเปลี่ยรแปลงโดยลดวันลากิจ
เหลือ 3 วัน
 
นอกจากนี้สิทธิการลากิจ กฎหมายมิได้บังคับให้นายจ้างละสมไปหยุดในปีต่อๆไป หรือต้องชดเชยเป็นเงืนค่าจ้างเช่นวันหยุด เช่น วันหยุดพักผ่อนประจำปี วันหยุดตามประเพณี 
 
กระนั้นก็ดี นายจ้างจะตกลงให้สะสมไปลากิจในปีต่อๆไปก็น่าจะทำได้เพราะเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้าง แต่เท่าที่รู้ยังไม่เห็นนายจ้างรายใดทำแบบนี้เลย
เกษียณอายุแล้วจ้างทำงานต่อแบบใดบ้าง?

ายจ้างให้ลูกจ้างเกษียณอายุตาม

ข้อตกลง ข้อบังคับฯ และจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างแล้ว สามารถจ้างให้ทำงานต่อไปโดย

1.จ้างกันเป็นจ้างแรงงาน ในตำแหน่ง หน้าที่เดิม หรือหน้าที่ใหม่ เงินเดือน ค่าจ้างเท่าเดิม หรือตกลงเงินเดือนใหม่ จะจ้าง มีกำหนดเวลา หรือไม่มีกำหนดเวลา ก็ได้ ตกลงสวัสดิการต่างๆ ใหม่ก็ได้

2.จ้างกันเป็นจ้างทำของ เช่น จ้างเป็นที่ปรึกษา ทำงานถือเอาผลสำเร็จของงานเป็น
หลัก ไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับ กฎระเบียบของบริษัท  จะทำงานเวลาใด สัปดาห์ละกี่วัน ก็ได้ ค่าตอบแทน ค่าจ้าง ผลประโยชน์อื่นๆจะตกลงเเบบใดก็ได้
“มนัส โกศล” ประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) วิเคราะห์แจกแจงวิธีปลดล็อค 13 โรคยกเว้นที่ไม่สามารถเบิกตามสิทธิประกันสังคม

 “มนัส โกศล” ประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) วิเคราะห์แจกแจงวิธีปลดล็อค 13 โรคยกเว้นที่ไม่สามารถเบิกตามสิทธิประกันสังคม

            กลุ่มที่ควรปรับปรุงให้สิทธิประโยชน์เพิ่มมี 9 ข้อ ได้แก่ “1 โรคหรือการประสบอันตรายอันเนื่องจากการใช้สารเสพเสพติด” เนื่องจากสังคมไทยควรให้โอกาสผู้หลงผิดเข้าสู่วงจรยาเสพติด เช่นถ้ามีคนเสพยาบ้าแล้วไปขับรถเกิดอุบัติเหต ควรจ่ายค่าเยียวยารักษาตามสิทธิที่เขาควรได้รับในฐานะเป็นสมาชิกผู้ประกันตน  เพราะการติดยาเสพติดเกิดจากหลายสาเหตุ อาจถูกหลอกหรือถูกมอมเมาก็เป็นได้
            “2  กรณีรักษาโรคไตวาย” ปัจจุบันจ่ายให้เฉพาะกรณีโรคไตวายระยะสุดท้าย เช่น ฟอกเลือด ล้างช่องท้อง หรือปลูกถ่ายไตตามเงื่อนไขที่กำหนด ตามหลักการแล้วควรรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นไม่ควรต้องรอถึงระยะสุดท้ายจึงช่วยเหลือ  ต้องปลดล็อคตรงนี้และควรสนับสนุนให้ตรวจสุขภาพไตทุกปีด้วย
             “3 เรื่องการรักษาภาวะมีบุตรยาก และ 4 การผสมเทียม”  สามารถรวมเป็นเรื่องเดียวกันได้ และสปส.ควรสนับสนุน เพราะประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะสังคมคนชรา รัฐบาลกำลังผลักดันนโยบาย “เพิ่มประชากร” หากใครมีลูกยากแล้วอยากมีควรสนับสนุนอย่างเต็มที่
             “5  การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ และ 6 การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ” ควรให้แพทย์พิจารณาตามความเป็นจริงว่ามีความจำเป็นที่ผู้ป่วยต้องผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือไม่ การห้ามไม่ให้เบิกจ่าย อาจทำให้การรักษาผู้ป่วยทำได้ไม่เต็มที่ ควรศึกษาเพิ่มเติมว่าสิทธิของบัตรทองเป็นอย่างไร เพื่อเปรียบเทียบในรายละเอียดต่าง ๆ
            “7 ทันตกรรม” ไม่ควรมีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ผู้ประกันตนต้องมีสิทธิได้รับค่าบริการทำฟันทุกอย่างเท่าที่จ่ายจริง เพราะตอนนี้เบิกได้ไม่เกิน 900 บาทต่อปี การที่ไม่ให้เบิกค่าทำฟันตามความจำเป็น อาจทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้ในอนาคต เช่น กรณีของผู้ป่วยฟันผุแล้วไม่รักษา ทำให้อาการเรื้อรังจนอาจกลายเป็นสาเหตของโรคมะเร็งในช่องปาก
           “8 การบริการระหว่างรักษาตัวแบบพักฟื้น” สปส.ควรจัดให้มีศูนย์บำบัดหรือพักฟื้นของตนเอง เพื่อรองรับผู้ป่วยทุพพลภาพ เพราะตามกฎหมายใหม่หากร่างกายทุพพลภาพเกินร้อยละ 35 -50  สามารถเบิกค่ารักษาตัวแบบพักฟื้นได้ และ มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างรายวัน ระยะเวลาไม่เกิน 180 เดือน ถ้าสูญเสียสมรรถภาพของร่างกายเกินร้อยละ 50 ได้เงินทดแทนกขาดรายได้ 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้างตลอดชีวิต
          “9 การตรวจใดๆ ที่เกินกว่าความจำเป็นในการรักษาโรค”  ข้อนี้ควรเอาออกเพราะการรักษาต้องเป็นไปตามที่แพทย์วินิจฉัย ถ้าหมออยากให้ “ฉายแสง” “เอ็กซเรย์” ”ฉีดสี” ฯลฯ ก็ควรให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจอย่างเต็มที่ ไม่ควรเปิดช่องให้ไปพิจารณาว่าเกินความจำเป็นในการรักษาโรคหรือไม่ เพราะหมออาจไม่กล้ารักษาเต็มที่ เพราะกลัวเบิกจ่ายไม่ได้หรือถูกตำหนิจากผู้บริหารโรงพยาบาล
        “10 แว่นตา” นับเป็นเรื่องประหลาดมากที่ สปส.ไม่ให้คนสายตาสั้นหรือสายตายาวเบิกค่าแว่นตา ทั้งที่คนหูตึงยังอนุญาตให้เบิกค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ช่วยฟังได้ ส่วนบัตรทองมีโปรโมชั่นแจกแว่นตาฟรี เพราะฉะนั้นข้อนี้ควรปลดล็อคให้แพทย์สั่งจ่ายกรอบแว่นตาและเลนส์สายตาได้ตามความเหมาะสม
         ส่วนที่เหลืออีก 3 ข้อนั้น ได้แก่ 1 การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ 2  การเปลี่ยนเพศ และ 3การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง นายมนัสแสดงความเห็นว่าอาจยังต้องคงไว้เหมือนเดิม เพราะการกระทำเพื่อความสวยงารและการเปลี่ยนเพศอาจทำให้เงินกองทุนหมดไปอย่างรวดเร็วและไม่ถือว่าเป็นความจำเป็นเร่งด่วนในการรักษาเหมือนโรคอื่น ๆ ในอนาคตหากมีเงินกองทุนเพิ่มขึ้นอาจขยายสิทธิส่วนนี้ได้ และการรักษาที่ยังอยู่ในขั้นทดลองก็เห็นด้วยว่าควรยกเว้นต่อไป
นายมนัส โกศล สรุปสาระสำคัญในการจัดเวทีสาธารณะ พ.ร.บ.ประกันสังคม เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 60 ที่กระทรวงแรงงาน article

 นายมนัส โกศล ประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน


ในปี 2553 มีการรวมตัวของกลุ่มผู้ใช้แ
รงงานเพื่อปฏิรูปประกันสังคมให้เป็นอิสระ มีความคล่องตัวขึ้น มีการยื่นกฎหมายเข้าชื่อของภาคประชาชนจำนวน 14,600 รายชื่อ ในสมัยรัฐบาลพรรคเพื่อไทย โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสมัยนั้นไม่รับหลักการในวาระ 1 แต่อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นก็ยังมีการขับเคลื่อนต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน โดยขับเคลื่อนในนาม “เครือข่ายประกันสังคมคนทำงานหรือคปค.” รวมคนทำงาน 17 องค์กรมาทำงานผลักดันร่วมกัน โดยเห็นว่าควรเน้นการปฏิรูปในบางประเด็นที่สามารถเป็นไปได้ก่อน

ต่อมาภายหลังการเข้ามาบริหา
รประเทศของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้หยิบยกร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ....มาพิจารณาในฐานะกฎหมายเร่งด่วนใน 38 ฉบับ และตัวผมเองก็ได้เข้าสู่การเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ร่วมด้วย โดยมีพลเอกสิงห์ศึก สิงห์ไพร เป็นประธานในการพิจารณา จนพบว่ามีการแก้ไขในหลายๆประเด็นที่ดีขึ้นมาก เช่น กรณีทุพพลภาพ , การคลอดบุตร เป็นต้น

อย่างไรก็ตามหลังจากที่กฎหม
ายประกันสังคมได้ประกาศใช้แล้ว ต้องมีการออกกฎหมายลูกเพื่อมาบังคับใช้ในระดับปฏิบัติการ แต่ก็ยังมีความล่าช้าอยู่
สำหรับในประเด็นที่จะหารือใ
นวันนี้โดยตรง คือ มาตรา 63 (2) และ (7) พบว่า เดิมในร่างรัฐบาลไม่มีเรื่องนี้เลย แต่ในคณะกรรมาธิการฯมีนายแพทย์หลายท่านที่ได้หยิบยกมาหารือว่า ในระบบ สปสช. มีการเยียวยาผู้เสียหายเบื้องต้นจากการรักษาทางการแพทย์ ดังนั้นระบบประกันสังคมควรมีการพิจารณาเรื่องนี้ร่วมด้วย จนสามารถผลักดันออกมาได้

ต่อมาเมื่อมาพิจารณาที่มาตร
า 54 ที่มี 7 กรณี แต่เรื่องส่งเสริมสุขภาพไม่มี ทำให้เพิ่มเรื่องนี้เข้ามาในมาตรา 63 (2) ระบุเรื่อง ค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคขึ้นมา

ณ วันนี้มีผู้ประกันตนในมาตรา
 33 ประมาณ 10 ล้านคน มาตรา 39 ประมาณ 1 ล้าน 3 แสนคน มาตรา 40 ประมาณ 2 ล้าน 2 แสน 6 หมื่นคน รวมแล้วประมาณ 14 ล้านคน 

ในประเทศไทยมีระบบกองทุนสุข
ภาพหลายด้าน เช่น กองทุนข้าราชการดูแล 2.5 ล้านคน , กองทุนประกันสังคมที่เกิดการจ่ายเงินสมทบจากลูกจ้างและนายจ้างมาตั้งแต่ปี 2533 , กองทุนหลักประกันสุขภาพหรือสปสช. เกิดปี 2544-2545 ใช้ภาษีประชาชนทั้งหมด ดูแลคนประมาณ 65 ล้านคน (ทั้งนี้ผู้ประกันตน 14 ล้าน ก็อยู่ในส่วนนี้) 

เช่น กรณีความต่างในระบบการคลอดบ
ุตร กรณีประกันสังคมเหมาจ่าย 13,000 บาท ซึ่งจ่ายหลังจากคลอดบุตรแล้ว แต่ระบบ สปสช. ดูแลให้ฟรีตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ เป็นต้น นี้คือความแตกต่างที่เห็นได้ชัด ทำให้มีความจำเป็นต้องมาหารือกันในเรื่องนี้ให้เกิดความเท่าเทียม โดยเฉพาะหลักการพื้นฐาน

ผมเคยถามหมอบางท่านว่า “ตรวจสุขภาพ” กับ “ส่งเสริมป้องกันโรค” มีความหมายเดียวกันไหม ก็พบว่า คนละความหมายกัน ดังนั้นทำอย่างไรที่เมื่อตร
วจสุขภาพแล้วต้องหากลไกในการส่งเสริมป้องกันโรคต่อไป 

ดังนั้นเจตนารมณ์ของเครือข่
าย คปค. คือ ป้องกัน ส่งเสริม และรักษา ที่ดำเนินไปในทิศทางเดียวกันมากกว่าแยกกันดำเนินการ 

สรุปสาระสำคัญจากการประชุมเ
วทีสาธารณะ 2 ปี พระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับที่ 4/ 2558
การส่งเสริมสุขภาพและป้องกั
นโรค มาตรา 63 (2) ผู้ประกันตนได้อะไร ?
วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2560 เวลา 08.30-15.00 น.
ห้องประชุมจอมพล ป. พิบูลสงคราม ชั้น 5 กระทรวงแรงงาน

จัดโดย สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแห่ง
ประเทศไทย ร่วมกับ เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน และโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่าย เพื่อพัฒนานโยบายการสร้างเสริมสุขภาวะและการมีหลักประก
ันทางสังคมสำหรับคนทำงาน (คสปค.)

 

 
สพท. ร่วมกับ คปค. จัดเวทีสาธารณะ 2 ปี พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับที่ 4 พ.ศ.2558article

เวทีสาธารณะ ๒ ปี พระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับที่ ๔/ ๒๕๕๘ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค มาตรา ๖๓ (๒) ผู้ประกันตนได้อะไร ?ในวันอาทิตย์ที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๐ เวลา ๐๘.๓๐-๑๕.๐๐ น. ณ ห้องประชุมจอมพล ป. พิบูลสงคราม ชั้น ๕ กระทรวงแรงงาน จัดโดย สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแห่งประเทศไทย ร่วมกับ เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน และโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่าย เพื่อพัฒนานโยบายการสร้างเสริมสุขภาวะ และการมีหลักประกันทางสังคมสำหรับคนทำงาน (คสปค.)

 

หน้า 2/40
[ก่อนหน้า]   1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40  [ถัดไป]
[Go to top]



dot
เกี่ยวกับ สพท.
dot
bulletประวัติความเป็นมา
bulletวิสัยทัศน์
bulletนโยบาย
bulletคณะกรรมการบริหาร
bulletคณะที่ปรึกษา
bulletเจ้าหน้าที่สภาฯ
dot
ทั่วไป
dot
bulletกฎหมาย
bulletค่าจ้างขั้นต่ำ
bulletกิจกรรมสภาฯ
bulletกิจกรรมสภาพแรงงาน
bulletปรึกษาคดีแรงงาน
bulletถาม - ตอบ
bulletสรุปสาระสำัคัญเปรียบเทียบพรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 กับร่างพรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ....(ฉบับผู้ใช้แรงงาน)
bulletข้อเสนอ พ.ร.บ.ประกันสังคม ฯ มาตรา 8


กระทรวงแรงงาน
ฐานเศรษฐกิจ
ข่าวสด


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย
เลขที่ 25/59 ซ.วิภาวิลล์แมนชั่น ถ.สุขุมวิท
ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270
โทร.02-7552165 โทรสาร 02-7565346 กด 0
Email : ctl_manas@hotmail.com
http://www.ctl.or.th