ReadyPlanet.com
dot dot
ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวประชาสัมพันธ์                                     



สภาฯผลักดันแก้ไข พรบ.คุ้มครองแรงงาน 14 ประเด็น ครม.มติเห็นชอบ ม.118article

อังคารที่ 4/1/60 มติ ครม เห็นชอบ กรณีลูกจ้างในภาคเอกชนที่ไม่กำหนดในระเบียบข้อบังคับ เรื่อง"เกษียณอายุ" ไว้ ให้ถือว่าลูกจ้างที่อายุครบ60ปี เกษียณได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 118 (ตามที่พี่น้องแรงงานได้เข้าชื่อ จำนวณ 10,200ชื่อ แก้ไข พรบ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับผู้ใช้แรงงาน)พ.ศ......แก้ไขทั้งหมด14ประเด็น หนึ่งใน14ประเด็น มีเรื่อง เกษียณ อายุ60ปี อยู่ด้วย สำหรับประเด็นอื่นๆ อยู่ระหว่างคณะทำงานของกระแรงงาน ซึ่งมีผู้แทนทั้งสามฝ่าย นจ,ลจ,รัฐ ฝ่ายละ5คน ประมาณวันที่24/1/60 ก็เป็นการประชุมพจารณาครั้งสุดและทบทวนร่าง คาดการว่าคงจะทำประชาพิจารณ์ได้ประมาณเดือน กุมภาพันธ์60 (ขอให้เพื่อนพี่น้องคอยติดตามข่าว และช่วยเป็นแรงขับเคลื่อนให้ได้สิทธิประโยชน์ ของผู้ใช้แรงงาน หนึ่งในนั้นเป็นสิทธิประโยชน์เพิ่มค่าชดเชย มาตรา118 ดูเพิ่มฉบับร่างที่ ctl.or.th)

คปค. ยื่นหนังสือถึงเลขาธิการประกันสังคมarticle

 วันที่ 26 ธันวาคม 2559 ที่สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน #เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) #เข้าพบเลขาธิการสปส. นายมนัส โกศล ประธาน คปค. ทพญ.มาลี วันทนาศิริ ผู้ประสานงาน เครือข่าย ฟ.ฟัน สร้างสุข ตัวแทนเครือข่ายแรงงานนอกระบบ เข้าพบเลขาธิการ สปส. (นายสุรเดช วลีอิทธิกุล) ที่กระทรวงแรงงาน อาคารประกันสังคม เขตพื้นที่ 3 ชั้น 7 เวลา 13.30 น. เพื่อหารือและติดตามความคืบหน้าในการปฏิรูประบบประกันสังคม 5 กรณี โดยเฉพาะสิทธิการตรวจสุขภาพ

นายมนัส กล่าวว่า การนำเสนอ 5 ประเด็น มีดังนี้ ประเด็นที่ 1) การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค มาตรา 63 (2) และเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ประกันตน กรณีได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ มาตรา 63 (7) ประเด็นที่ 2) การเพิ่มและขยายสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตนแรงงานนอกระบบ ตามมาตรา 40 ให้เท่ากับมาตรา 39 ประเด็นที่ 3) การเร่งรัดการออกอนุบัญญัติตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 จำนวน 17 ฉบับ ประเด็นที่ 4)สิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมแก่ผู้ประกันตน และ ประเด็นที่ 5) กรณีผู้ประกันตนรับเงินบำนาญชราภาพถูกตัดสิทธิการรักษาจากประกันสังคม ไปใช้ระบบบัตรทองนั้น ขอให้ใช้สิทธิรักษาพยาบาลจากประกันสังคมได้
นายมนัส ประธาน คปค. กล่าวว่า การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค มาตรา 63 (2) ซึ่งมีการจัดตรวจสุขภาพฟรีนั้น ยังขาดการประสานงานกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ซึ่งมีกฎหมายบังคับให้กิจการบางประเภทที่มีความเสี่ยงต้องจัดตรวจสุขภาพให้แก่ลูกจ้างอยู่แล้ว สำหรับสิทธิตรวจสุขภาพฟรีนั้นยืนยันว่าไม่ควรมีการกำหนดอายุ เพราะทุกคนมีการจ่ายเงินสมทบเหมือนกัน ถือเป็นการจำกัดสิทธิ
“เครือข่าย คปค. ขอให้เพิ่มการตรวจสุขภาพช่องปาก และการฝากครรภ์ ให้อยู่ในสิทธิตรวจสุขภาพด้วย เพราะที่ผ่านมาพบว่าในส่วนของผู้ประกันตนนั้นมักไปใช้สิทธิรักษาทันตกรรมช่วงปลายปีก่อนที่จะหมดสิทธิ ทั้งที่อาจไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่การเพิ่มสิทธิตรวจสุขภาพช่องปาก จะช่วยให้ผู้ประกันตนรู้ว่าสุขภาพช่องปากของตัวเองเป็นอย่างไร ต้องรักษาในเรื่องใดบ้าง"
"ส่วนกรณีการฝากครรภ์นั้นพบว่า ผู้ประกันตนที่ตั้งครรภ์ไม่ค่อยมาฝากครรภ์ เหมือนคนในสิทธิบัตรทอง เพราะต้องเสียเวลาในการทำงานและมีค่าใช้จ่าย จึงต้องการเก็บเงินไว้ใช้ในช่วงหลังคลอด การให้สิทธิตรวจสุขภาพครอบคลุมการฝากครรภ์ด้วย จะช่วยเพิ่มอัตราการฝากครรภ์ได้” นายมนัสกล่าว
"จากการติดตามความก้าวหน้าในการออกอนุบัญญัติ ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2558 จำนวน 17 ฉบับ พบว่ากฎหมายลำดับรองที่ได้มีการจัดทำ และมีผลบังใช้แล้วนั้นเพียง 7 ฉบับ ส่วนมากเป็นกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสำนักงาน และการจัดตั้งคณะอนุกรรมการ ภายใต้คณะกรรมการประกันสังคม แต่ยังไม่มีการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้องกับ
สิทธิ หน้าที่ และประโยชน์ทดแทน ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ หรือเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการกองทุนประกันสังคม จึงขอให้เร่งรัดดำเนินการในเรื่องนี้ และขอสอบถามถึงความคืบหน้าในการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดคุณสมบัติของบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน และอัตรการจ่ายเงินสมทบ มาตรา 40 กฏกระทรวง มาตรา 40 ระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยการเลือกตั้ง มาตรา 8 รวมทั้ง มาตรา 63 (2) (7) ยังไม่ชัดเจน และยังไม่เทียบเท่ากับสิทธิ สปสช." นายมนัสกล่าว
ทพญ.มาลี วันทนาศิริ ผู้ประสานงาน เครือข่าย ฟ.ฟัน สร้างสุข กล่าวว่า สิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค มาตรา 63 (2) ของประกันสังคม ถือว่าน้อยกว่าสิทธิในกองทุนอื่น ในฐานะทันตแพทย์ ขอให้มีการเพิ่มการตรวจร่างกายตามระบบ ในการตรวจสุขภาพช่องปาก 1 ครั้งต่อปี ในอัตราค่าบริการ 50 บาทต่อครั้ง ในชุดสิทธิประโยชน์จากการตรวจร่างกายในแนบท้ายประกาศคณะกรรมการแพทย์ ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2559 ส่วนประเด็นเรื่องการปฏิรูปสิทธิประโยชน์การรักษาทางทันตกรรมให้มีความเป็นธรรมและเท่าเทียม ผู้ประกันตนต้องมีสิทธิการรักษาทางทันตกรรมตามความจำเป็นโดยไม่กำหนดเพดานเงินค่ารักษา และไม่ต้องสำรองจ่าย
"ขอเรียกร้องให้สำนักงานประกันสังคม จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมกรณีทันตกรรม เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการปฏิรูปสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมอย่างต่อเนื่อง แต่ที่ผ่านมามีการประชุมเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น" ทพญ.มาลี กล่าว
นางอุบล ร่มโพธิ์ทอง ผู้แทนเครือข่ายแรงงานนอกระบบ กล่าวว่า การเพิ่มและขยายสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตนแรงงานนอกระบบตามมาตรา 40 ให้เท่ากับมาตรา 39 ได้แก่ 1. ประโยชน์ทดแทนกรณีเสียชีวิต ผู้ประกันตนมาตรา 40 ขอเพิ่มสิทธิรับเงินค่าทำศพเป็น 40,000 บาท 2. กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย ให้ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เมื่อเจ็บป่วยและมีใบรับรองแพทย์ 300 บาทต่อวัน 3. กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้นาน 15 ปี ขอแก้ไชเป็นตลอดชีวิต นอกจากนี้ ขอเรียกร้องในประเด็นการฝากครรภ์ด้วย เนื่องจากผู้ประกันตนได้ร้องเรียนในเรื่องนี้มาก
พลโท.นพ สิริชัย รัตนวราหะ กรรมการกองทุนเงินทดแทนชุดที่ 9 กล่าวว่า การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค มาตรา 63 (2) ยังถือว่าทำได้ล่าช้า ยังขาดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ สิ่งที่กล่าวว่าเป็นของขวัญให้กับผู้ประกันตนนั้น ที่จริงแล้วคือเงินผู้ประกันตน
"กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การส่งเสริมป้องกันโรค และกิจกรรมการรณรงค์การสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ถือเป็นสิทธิของประชาชนและผู้ประกันตน ดังนั้นเงินส่งเสริมสุขภาพเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องดูแล ไม่จำเป็นต้องนำเงินกองทุนประกันสังคมมาใช้ ทั้งนี้ ในการส่งเสริมป้องกันโรค กรณีที่ผู้ประกันตนตรวจพบโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และเริ่มมีผลการตรวจสุขภาพผิดปกติ เช่น ความโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ทั้งจากการตรวจสุขภาพประจำปีของโรงงาน หรือการตรวจพบจากการตรวจสุขภาพตามสิทธิผู้ประกันตนนั้น ต้องได้รับการรักษาและมีการให้ความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ควรพัฒนาระบบหน่วยบริการปฐมภูมิ การบริการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรคในสถานประกอบการ ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อการรักษาโรคเรื้อรังที่ตรวจพบ ให้สามารถควบคุมและป้องกันภาวะแทรกซ้อน" พลโท.นพ สิริชัย กล่าว
นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า สำหรับข้อเรียกร้องต่างๆนั้น ทาง สปส. ยินดีรับไว้พิจารณา เบื้องต้นข้อเสนอการตรวจสุขภาพผู้ประกันตนที่จะเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 นั้น ทางเครือข่ายเสนอขอให้มีการตรวจสุขภาพช่องปาก ในเรื่องทันตกรรม รวมทั้งเรื่องการตรวจการตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ อยากให้อยู่ในการตรวจสุขภาพนั้น สปส.ก็จะรับไว้พิจารณา ซึ่งมองว่าน่าจะปรับปรุงเพิ่มเติมได้ แต่ในเรื่องผู้ประกันตนที่เกษียณอายุไปแล้ว และอยากให้สปส.ดูแลการรักษาพยาบาลต่อนั้น เรื่องนี้ต้องแก้กฎหมาย ซึ่งจะต้องมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อไป ส่วนกรณีอนุบัญญ้ติ 15 ฉบับ กระทรวงกำลังดำเนินการ แต่ในกรณีการเลือกตั้งกรรมการต้องยุติลง ตามคำสั่ง คสช."
ขอบคุณข้อมูลประกอบบางส่วนจาก
รพ.ธรรมศาสตร์ห่วงนโยบาย ‘ตรวจสุขภาพ’ผู้ประกันตน ไม่ชัดเรื่องเกณฑ์ค่าบริการ http://www.matichon.co.th/news/407663
ชงเพิ่ม “ตรวจช่องปาก-ฝากครรภ์” สิทธิตรวจสุขภาพฟรี “ประกันสังคม” ห่วงเพิ่มภาระ รพ.เล็ก
http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000128552
คปค. จัดประชุม

  เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) ร่วมกับสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย จัดประชุมกำหนดแนวทางการดำเนินงานโครงการเพื่อติดตามสถานการณ์และกำหนดแผนงานการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบประกันสังคม กำหนดแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเพื่อพัฒนานโยบายการสร้างเสริมสุขภาวะและการมีหลักประกันทางสังคมสำหรับคนทำงาน ในวันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม 2559 ณ โรงแรมเบย์ ถนนศรีนครินทร์ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ เวลา 09.00 - 15.00 น.

ประเด็นการขับเคลื่อนการปฏิรูปกฎหมายเพิ่มสิทธิให้กับผู้ประกันตน

1. กรณีผู้ประกันตนรับเงินบำนาญชราภาพ ถูกตัดสิทธิ์จากการรักษาจากกฎหมายประกันสังคมให้ไปใช้สิทธิ์ สปสช. (บัตรทอง)

2. ข้อเสนอเรียกร้อง ตามมาตรา 63(2) ,(7)

3. ให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เท่าเทียมกับ ม.39

4. อนุบัญญัติ ที่จะต้องออกตามพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) ฉบับที่ 4/2558

 

โครงการอบรมสัมมนา กรรมการสมาคมส่งเสริมสวัสดิการคนทำงานและชุมชนarticle

 วันที่ 17-18 พ.ย.2559 นายมนัส โกศล ปธ.สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงาน หปท.และตำแหน่ง นายกสมาคมส่งเสริมสวัสดิการคนทำงานและชุมชน (สสคช.)ได้จัดโครงการอบรมสัมมนากรรมการ หัวข้อ "ร่างนโยบายสวัสดิการสังคมภาคประชาชน และคนทำงาน" ทั้งนี้ได้เรียนเชิญ ศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยรัตน์ เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ เรื่อง "นโยบายสวัสดิการสังคมภาคประชาชน" ส่วนภาคบ่าย นางสาวอรุณี ศรีโต (ผู้แทนสมาคม สชค.) และ นางอรพิน วิมลภูษิต (ผู้แทนสมาคม SADA.) ได้มาบรรยายเรื่อง "การบริหารสมาคมที่ประสบความสำเร็จด้านสวัสดิการ" ...ภาคเช้าวันที่ 18 พ.ย.2559 เสวนากรรมการสมาคม "กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อกำหนดนโยบายสมาคม"

กิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2559

 กิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2559 วันที่ 1 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา..ทางสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทยได้ร่วมกิจกรรมโดยแต่งรถริ้วขบวนเดินจากพระบรมรูปทรงม้ามาที่สนามหลวง เพื่อร่่วมกิจกรรมต่างๆ ที่รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณเหมือนเช่นทุกปี เพื่อยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลเห็นความสำคัญของผู้ใช้แรงงาน การขอขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ การเรียกร้องสิทธิประโยชน์ต่างๆ ...

หน้า 5/40
[ก่อนหน้า]   1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40  [ถัดไป]
[Go to top]



dot
เกี่ยวกับ สพท.
dot
bulletประวัติความเป็นมา
bulletวิสัยทัศน์
bulletนโยบาย
bulletคณะกรรมการบริหาร
bulletคณะที่ปรึกษา
bulletเจ้าหน้าที่สภาฯ
dot
ทั่วไป
dot
bulletกฎหมาย
bulletค่าจ้างขั้นต่ำ
bulletกิจกรรมสภาฯ
bulletกิจกรรมสภาพแรงงาน
bulletปรึกษาคดีแรงงาน
bulletถาม - ตอบ
bulletสรุปสาระสำัคัญเปรียบเทียบพรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 กับร่างพรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ....(ฉบับผู้ใช้แรงงาน)
bulletข้อเสนอ พ.ร.บ.ประกันสังคม ฯ มาตรา 8


กระทรวงแรงงาน
ฐานเศรษฐกิจ
ข่าวสด


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย
เลขที่ 25/59 ซ.วิภาวิลล์แมนชั่น ถ.สุขุมวิท
ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270
โทร.02-7552165 โทรสาร 02-7565346 กด 0
Email : ctl_manas@hotmail.com
http://www.ctl.or.th