ReadyPlanet.com
dot dot
กิจกรรม สพท.

This Column Intro



กิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2564article

 สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย(สพท) เรียกร้อง 7 ข้อ หนึ่งในนั้น จัดหาวัคซีนเร่งรัดฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ให้กับผู้ประกันตนและทุกอาชีพอย่างทั่วถึง

วันที่ 1 พฤษภาคม 2564
เวลา 10.30

นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่ประเทศไทย (สพท.)และประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) พร้อมเครื่อข่ายสมาชิกได้ตั้งโต๊ะแถลงการ เนื่องในโอกาส วันแรงงานแห่งชาติ (National Labour Day) วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เป็นวันที่ระลึกถึงผู้ใช้แรงงานทั้งในระดับสากล รวมทั้งในประเทศไทย ด้าน นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่ประเทศไทย (สพท.)และประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) กล่าวว่า
แนวโน้มสถานการณ์ด้านแรงงานปี 2564-2565 ผลกระทบจากแพร่ระบาดเชื้อไงรัสโคโรนา 2019 พบว่าในส่วนขององค์กรภาคเอกชนด้านการอุตสาหกรรม มีการปรับกลยุทธ์และการออกแบบการทำงานในรูปแบบใหม่เพื่อการลดต้นทุน อีกทั้งมีการปรับโครงสร้างองค์กรและออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ส่งผลให้รูปแบบการจ้างงานมีความยืดหยุ่นจากการจ้างงานแบบประจำ มาเป็นรูปแบบการจ้างงานในระยะสั้นประเภทต่าง (ๆ ทั้งการจ้างงานในรูปแบบเอาท์ซอร์ส (Outsource) หรือให้รับงานไปทำที่บ้าน และมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาทำแทนแรงงานคนมากขึ้น อาทิ พนักงาน
ขายหน้าร้าน พนักงานบริการลูกค้า พนักงานส่งเอกสารธุรการ พนักงานขนส่ง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการประกอบ
ธุรกิจของผู้ประกอบการ ส่งผลต่อความจำเป็นในการที่ใช้แรงงานคน มีแนวโน้มลดลงไปด้วย โดยทางผู้ประกอบการจะใช้วิธีปรับโครงสร้างองค์กร เลิกจ้างคนงาน หรือจัดทำโครงการสมัครใจออกจากงาน (Early Retirement) ผลจากการลดกำลัง
แรงงานในระบบอุตสาหกรรมรวมทั้งภาคธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องดังกล่าว ทำให้ตัวเลขของอัตราการว่างงานมากขึ้น ซึ่งสร้างผลกระทบต่อความไม่มั่นคงในการทำงานของผู้ใช้แรงงานที่จะดำรงชีวิตต่อไปในอนาคตจากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย (สพท.) เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พร้อมองค์กรเครือข่ายด้านแรงงานทุกภาคส่วน จึงขอประกาศแถลงการณ์
ข้อเรียกร้องในวันแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2564 เพื่อขอให้ทางรัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน ขอให้มีนโยบายเพื่อส่งสริมสนับสนุนด้านแรงงานเพื่อสร้างความมั่นคงในการทำงานของผู้ใช้แรงงาน และ
เสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศใน 6 ข้อ ดังนี้

ข้อ 1. ขอให้รัฐบาลจัดหาวัชีน และเร่งรัดการฉีดวัคนป้องกันไวรัสโควิด – 19 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33
มาตรา 39 และมาตรา 40 ให้เป็นการเฉพาะให้เร็วขึ้นให้ครอบคลุมผู้ประกันตนถ้วนหน้าข้อ 2. ขอให้รัฐบาลตรากฎหมาย “จัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้กับลูกจ้าง ” ในกรณีที่สถานประกอบกิจการ
ปิดกิจการ หลีกเลี่ยงการเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย เพื่อเป็นหลักประกันความมั่งคงในการทำงาน
ข้อ 3. ขอให้รัฐบาลปฏิรูประบบประกันสังคมโดยแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ดังนี้
3.1) ผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 สามารถเลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญได้ และปรับฐาน
เงินรับบำนาญชราภาพไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท/เดือน
3.2) ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่รับบำนาญชราภาพแล้ว สามารถสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39
และให้ได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ทดแทน 3 กรณี ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ทุพพลภาพ
และค่าทำศพ
ข้อ 4. ขอให้รัฐบาลขยายสิทธิประโยชน์ในกองทุนเงินทดแทน กรณีหากลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วย ทุพพล
ภาพ เสียชีวิต เนื่องจากการทำงานให้ได้รับความคุ้มครองจากกองทุนเงินทดแทน โดยไม่จำกัดวงเงินค่ารักษาพยาบาลให้จนสิ้นสุดการรักษา
ข้อ 5. ขอให้รัฐบาลสนับสนุนกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ ในมิติการลดปัจจัย
เสี่ยงต่อสุขภาพของคนงาน (ลดละเลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ และการพนัน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคระบาดโควิด)
ความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อลดช่องว่างความเหลี่ยมล้ำในการเข้าถึงบริการทางสุขภาพและความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ข้อ 6. ขอให้รัฐบาล “จัดตั้งธนาคารแรงงาน” เพื่อให้เป็นสถาบันการเงิน การเข้าถึงแหล่งเงินทุน และส่งเสริมการ
ออมของผู้ใช้แรงงานโดยเฉพาะ

ข้อ 7. ให้รัฐบาลส่งเสริมอาชีพทางเลือก และประกันรายได้ให้กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ประกิบอาชีพทางเลือก

เวทีสรุปบทเรียน .. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นประธานเปิดงาน

 

 

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดกิจกรรมเวทีถอดบทเรียนการดำเนินงาน การยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานในสถานประกอบการ พร้อมปาฐกถาพิเศษ “บทบาทและความร่วมมือภาครัฐกับการยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ มีความปลอดภัยในการทำงานลดช่องว่าง ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางสุขภาพและความเหลื่อมล้ำทางสังคม”

 

 

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2564 ที่โรงแรมโนโวเทลมารีน่า ศรีราชา แอนด์ เกาะสีชัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมเวทีถอดบทเรียนการดำเนินงานการยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานในสถานประกอบการ พร้อมปาฐกถาพิเศษ “บทบาทและความร่วมมือภาครัฐกับการยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ มีความปลอดภัยในการทำงานลดช่องว่าง ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางสุขภาพและความเหลื่อมล้ำทางสังคม” พร้อมด้วย นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย โดยมี นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย และประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน กล่าวรายงาน

 

สพท.รับเรื่องร้องทุกข์จากลูกจ้าง

 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายมนัส โกศล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน รับเรื่องราวร้องทุกข์และหารือ ประเด็นปัญหาของลูกจ้างบริษัทอิตัลไทยมารีน จำกัด กรณีนายจ้างเลิกจ้างและไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

...ผลการหารือ..มอบหมายให้ กรมสวัสดิกการและคุ้มครองแรงงาน นัดนายจ้างและลูกจ้างมาหาข้อตกลงรวม ในวันจันทร์ ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00 น. ณ.สำนักงานสวัสดิการฯ จังหวัดสมุทรปราการ
สพท. เข้ายื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี พิจารณา โครงการ "เราชนะ"article

 25/01/2564 สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย (สพท.) เข้ายื่นหนังสือให้กับนายกรัฐมนตรี พื่อขอให้มีการทบทวน/พิจารณาคุณสมบัติผู้ที่ได้รับสิทธิ์โครงการ “เราชนะ” ให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ประกันตน ม. 33 ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐที่ได้รับค่าตอบแทนจากหน่วยงานของรัฐโดยตรง ที่มีรายได้ไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี ให้ได้รับสิทธิ์ในโครงการ “เราชนะ” โดยสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ว่า “การช่วยเหลือที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Leaving no one behind)” ตามหนังสือที่แนบมา

เวทีสานเสวนา “โรคระบาดโควิด – 19 กับการปฏิรูปการส่งเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ”

 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเวทีเสวนา “โรคระบาดโควิด – 19 กับการปฏิรูปการส่งเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ” จัดโดย สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย (สพท.) และเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เน้นย้ำ ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะของคนทำงานให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้คนทำงานมีสุขภาพอนามัยที่ดี 

วันที่ 19 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.00 น. หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้เกียรติ เป็นประธานเปิดงานเสวนา “โรคระบาดโควิด – 19 กับการปฏิรูปการส่งเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ” โดยมีนายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน ร่วมเป็นเกียรติในการเปิดงานเสวนาฯ ดังกล่าว ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น 5 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน

 

หน้า 4/37
[ก่อนหน้า]   1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37  [ถัดไป]
[Go to top]



dot
เกี่ยวกับ สพท.
dot
bulletประวัติความเป็นมา
bulletวิสัยทัศน์
bulletนโยบาย
bulletคณะกรรมการบริหาร
bulletคณะที่ปรึกษา
bulletเจ้าหน้าที่สภาฯ
dot
ทั่วไป
dot
bulletกฎหมาย
bulletค่าจ้างขั้นต่ำ
bulletกิจกรรมสภาฯ
bulletกิจกรรมสภาพแรงงาน
bulletปรึกษาคดีแรงงาน
bulletถาม - ตอบ
bulletสรุปสาระสำัคัญเปรียบเทียบพรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 กับร่างพรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ....(ฉบับผู้ใช้แรงงาน)
bulletข้อเสนอ พ.ร.บ.ประกันสังคม ฯ มาตรา 8


กระทรวงแรงงาน
ฐานเศรษฐกิจ
ข่าวสด


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย
เลขที่ 25/59 ซ.วิภาวิลล์แมนชั่น ถ.สุขุมวิท
ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270
โทร.02-7552165 โทรสาร 02-7565346 กด 0
Email : ctl_manas@hotmail.com
http://www.ctl.or.th