ReadyPlanet.com
dot dot
กิจกรรม สพท.

This Column Intro



เข้าพบปลัดกระทรวงแรงงาน เพื่อติดตามข้อเสนอเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่ลูกจ้าง

สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย นำโดย นายมนัส โกศล ประธานสภาฯ เข้ายื่นหนังสือกับรองปลัดกระทรวงแรงงาน ติดตามความคืบหน้า เรื่องขยายสิทธิประโยชน์ กรณีว่างงาน ในวันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 63 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. ณ กระทรวงแรงงาน

เวทีเสวนาเชิงนโยบาย “การพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ” และพิธีมอบโล่เกียรติยศและประกาศเกียรติคุณสถานประกอบการต้นแบบ

 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเวทีเสวนา “การพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ” จัดโดย สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย เน้นย้ำ ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะของคนทำงาน ส่งเสริมให้คนทำงานมีสุขภาพอนามัยที่ดี

         วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09.15 น. หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดเวทีเสวนาเชิงนโยบาย “การพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ” จัดโดย สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมี พลโทนันทเดช เมฆสวัสดิ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน คณะผู้บริหารกระทรวงแรงงาน นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน ผู้นำสมาคม คณะกรรมการกำกับทิศทางแรงงานฯ สสส. ผู้บริหารสถานประกอบการ และสมาชิกชมรมด้านแรงงาน จำนวนกว่า 300 คน เข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุมจอมพล ป.พิบูลสงคราม ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน
         หม่อมราชวงศ์จัตุมงคลฯ กล่าวว่า เวทีเสวนาเชิงนโยบายในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อพัฒนากลไกความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ นายจ้าง หรือเจ้าของสถานประกอบการและองค์กรแรงงานในสถานประกอบการ นักวิชาการ การพัฒนาแนวทางการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ เสริมศักยภาพผู้นำแรงงานและองค์กรเครือข่ายให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิและบริการการคัดกรองโรคเนื่องจากการทำงานและไม่เนื่องจากการทำงาน เพื่อให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขระเบียบหรือแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง โดยการสร้างเสริมสุขภาวะของคนทำงาน เป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเมื่อคนทำงานมีสุขภาพที่ดี ย่อมส่งผลต่อศักยภาพในการทำงาน เกิดความพร้อมในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นกำลังสำคัญในการสร้างผลิตภาพและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ซึ่งการดำเนินการเชิงป้องกันและส่งเสริมเพื่อให้คนทำงานมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีความคุ้มค่ามากกว่าการรักษา หรือฟื้นฟูให้สุขภาพกลับคืนมา
         “การดำเนินการสร้างเสริมสุขภาวะของคนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง ตลอดจนภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีการดำเนินโครงการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการครั้งนี้ขึ้น ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของการร่วมสร้าง ร่วมมี ร่วมธำรงไว้ เพื่อให้คนทำงานมีระบบของการมีสุขภาพอนามัยที่ดี อันเกิดจากการบูรณาการขับเคลื่อนกิจกรรมการสร้างสุขภาวะคนทำงานที่มีทุกภาคส่วนร่วมกันดำเนินการ” รมว.แรงงาน กล่าวในท้ายสุด
         ทั้งนี้ โดยกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย พิธีมอบโล่เกียรติยศและใบประกาศเกียรติคุณ 22 สถานประกอบการต้นแบบ โดยนายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน และเวทีเสวนา “การพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ” จากผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง
สพท.เข้าพบปลัดกระทรวงแรงงาน ติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2563 ณ กระทรวงแรงงาน สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) องค์กรแรงงาน และภาคีเครือข่าย ได้มีข้อเสนอต่อท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ต่อมาเมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงแรงงานเข้าร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว   ๒ ประเด็น ดังนี้  

ข้อ ๑. ปฏิรูปเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตน
-      กรณีลูกจ้าง(ผู้ประกันตน) ถูกเลิกจ้าง ลาออกจากงาน หรือพ้นจากการเป็นลูกจ้าง ไม่ว่ากรณีใดๆให้ได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานในอัตราเดียวร้อยละ ๗๕ ของค่าจ้างระยะเวลาจ่าย ๑๘๐ วัน

ข้อ ๒. รัฐต้องจัดสรรงบประมาณเพิ่ม“กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง” ๑,๐๐๐ ล้านบาทในปีงบประมาณ ๒๕๖๓

-      ขยายวงเงินช่วยเหลือลูกจ้างในกรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย ค่าจ้าง หรือเงินตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ (ฉบับที่ ๗) แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๖๒ โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

ทำงานครบ   ๑๒๐  วัน        แต่ไม่ครบ  ๓  ปี     จ่ายให้   ๙๐    วัน

ทำงานครบ       ๓  ปี          แต่ไม่ครบ ๑๐ ปี  จ่ายให้   ๑๘๐  วัน

ทำงานครบ      ๑๐ ปี          แต่ไม่ครบ ๒๐ ปี  จ่ายให้   ๒๔๐  วัน

ทำงานครบ       ๒๐ ปี             ขึ้นไป  จ่ายให้  ๓๐๐  วัน

ถอดบทเรียนการพัฒนาโครงการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ
โครงการ คพสก. ภายใต้การนำของสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ได้กำหนดจัดโครงการการถอดบทเรียนการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงาน ในสถานประกอบการวันที่ 18-19 มกราคม พ.ศ.2563 ณ ห้องประชุม โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทล แอนด์ กอล์ฟ อำเภอบางคล้า ฉะเชิงเทรา สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 
เครือข่ายฯ ค้านนายกฯ “จ่อเอาเงินประกันสังคม มาปล่อยกู้” หวั่น กระทบบำนาญแน่!

เครือข่ายประกันสังคม ค้าน นายกฯ ชงประกันสังคมปล่อยกู้ผู้ประกันตน ห่วงกระทบจ่ายเงินบำนาญ หากเอาบำเหน็จ บำนาญ ออกมาใช้ก่อน ก็ต้องมีเงื่อนไข และ อาจต้องแก้กฎหมาย ผู้ประกันตน แนะควรให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนอื่นมากกว่าใช้เงินกองทุนเพื่อสิทธิประโยชน์

15 พ.ย. นายมนัส โกศล ประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) และประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ นำเงินกองทุนประกันสังคมมาให้ผู้ประกันตนกู้ยืม เพื่อลงทุน รายจ่ายความจำเป็นอื่นๆ ว่า

ตามพ.ร.บ.ประกันสังคมฯ ไม่สามารถนำเงินมาปล่อยกู้ให้ผู้ประกันตนได้ เพราะหากทำเช่นนั้นจะเกิดปัญหาผู้ประกันตนหลั่งไหลเข้ามากู้ สุดท้ายจะกระทบกองทุนภาพรวม อาจล่มได้ ไปจนถึงเงินบำนาญ ของผู้ประกันตนทุกคน ดังนั้น หากจะปล่อยกู้ให้กับผู้ประกันตนและคิดดอกเบี้ยนั้น ตนไม่เห็นด้วย

เนื่องจากขณะนี้สถานการณ์การเลิกจ้างมีมากขึ้น จึงไม่รู้ว่าหากกู้ไปแล้วจะเอาเงินที่ไหนจ่ายคืน แต่จะสนับสนุนหากเกิดว่า หากเป็นการให้ผู้ประกันตนในลักษณะของการนำเงินบำเหน็จบำนาญบางส่วนใช้โดยมีเงื่อนไข แต่ก็ต้องยอมรับว่า เมื่อถึงวันรับเงินบำนาญ เงินจะลดน้อยลง เพราะต้องหักส่วนที่เอาไปใช้ก่อนแล้ว

“เคยมีการทำประชาพิจารณ์ผู้ประกันตนไปแล้วเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมาส่วนใหญ่เห็นด้วยกับกรณีนี้ ซึ่งทางเครือข่ายฯอยากเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อขอทราบแนวทางตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีว่าจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้เกิดความชัดเจน เพราะหากเป็นเช่นนั้น ก็ต้องปรับแก้กฎหมายประกันสังคมเพิ่มเติม จริงๆก่อนหน้านี้ตนเคยทำหนังสือถึงรัฐมนตรีฯ แต่ยังไม่เคยเข้าพบเลย” นายมนัส กล่าว

นายมนัส กล่าวอีกว่า หากจะปล่อยกู้ให้กับนายจ้าง ผู้ประกอบการ จริงๆ เคยทำมาแล้ว โดยทำเป็นโครงการร่วมกับทางธนาคาร ซึ่งมีเงื่อนไขเยอะมาก โดยนายจ้าง หรือผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาการดำเนินการ และต้องการเงินก็มาขอกู้ผ่านโครงการของสำนักงานประกันสังคม ร่วมกับธนาคารได้ มีวงเงิน 10,000 ล้านบาท แต่ 3 ปีที่ผ่านมาใช้ไป 5,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามในเรื่องการกู้เงินนั้น หากสำนักงานประกันสังคมจะทำก็ต้องทำร่วมกับธนาคาร โดยสามารถใช้เงิน 10 เปอร์เซ็นต์จากกองทุนไปลงทุนได้ แต่ก็จะมีเงื่อนไขจำนวนมาก  รวมไปถึงการให้ผู้ประกันตนกู้ซื้อบ้านก็จะทำเป็นโครงการ แต่ในส่วนที่นายกฯ ออกมาเรื่องนี้ ตนไม่แน่ใจ ในฐานะเครือข่ายผู้ประกันตน จึงอยากที่จะขอเข้าพบ  ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อให้เกิดความชัดเจน 

หน้า 6/37
[ก่อนหน้า]   1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37  [ถัดไป]
[Go to top]



dot
เกี่ยวกับ สพท.
dot
bulletประวัติความเป็นมา
bulletวิสัยทัศน์
bulletนโยบาย
bulletคณะกรรมการบริหาร
bulletคณะที่ปรึกษา
bulletเจ้าหน้าที่สภาฯ
dot
ทั่วไป
dot
bulletกฎหมาย
bulletค่าจ้างขั้นต่ำ
bulletกิจกรรมสภาฯ
bulletกิจกรรมสภาพแรงงาน
bulletปรึกษาคดีแรงงาน
bulletถาม - ตอบ
bulletสรุปสาระสำัคัญเปรียบเทียบพรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 กับร่างพรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ....(ฉบับผู้ใช้แรงงาน)
bulletข้อเสนอ พ.ร.บ.ประกันสังคม ฯ มาตรา 8


กระทรวงแรงงาน
ฐานเศรษฐกิจ
ข่าวสด


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย
เลขที่ 25/59 ซ.วิภาวิลล์แมนชั่น ถ.สุขุมวิท
ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270
โทร.02-7552165 โทรสาร 02-7565346 กด 0
Email : ctl_manas@hotmail.com
http://www.ctl.or.th