ReadyPlanet.com
dot dot
กิจกรรม สพท.

This Column Intro



สพท. คปค. ยื่นหนังสือถึงนายกฯ "ขอเสนอมาตรการการบังคับใช้กฎกระทรวง"

 27/4/2563  สภาฯพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย(สพท)และเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน(คปค.)ไปยื่นหนังสือถึงพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี )

โดยมีข้อเสนอให้มีคำชี้แจงและกำหนดให้หลักเกณฑ์ให้ชัดเจนถึงมาตรการการบังคับใช้กฎกระทรวงฯฉบับวันที่17เมษายน2563กรณีหยุดงาน อันเนื่องจากเหตุสุดวิสัย ที่ลูกจ้างจะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน เพื่อมิให้นายจ้างจะหลบเลี่ยงกฎหมาย ที่ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย แต่อ้างเหตุสุดวิสัย จะทำให้กองทุนเสียหายและเรื่องให้รัฐจัดงบมาสนับสนุนกองทุนประกันสังคมให้ลูกจ้างที่ว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยตามพรบประกันสังคมมาตรา24วรรคสองเป็นการเฉพาะ โดยคัดค้านนโยบายที่สปสจะนำดอกผลที่เกิดจากการลงทุนของเงินกองทุนฯมาใช้ในกรณีว่างงานจะทำให้กองทุนมีเงินลดน้อยลง

ยุเพิ่มเงินว่างงานทำผลงานโบแดง

 เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 63 นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย (สพท.) กล่าวถึงการแก้ปัญหาเรื่องแรงงานในช่วงที่ผ่านมาว่า ผู้น้ำแรงงานมองว่าในเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ แม้ขณะนี้จะมีการปรับขึ้นแต่ก็ยังไม่สมดุลกับค่าใช้จ่าย ค่าครองชีพที่ขยับสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้การปรับค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นแทนไม่มีความหมาย แต่สำหรับเรื่องประกันสังคมเรามองว่าการที่รัฐบาลขยายอายะของผู้ประกันตนจาก 60 ปี เพิ่มเป็น 65 ปี นั้น ถือเป็นเรื่องที่โดนใจผู้ใช้แรงงานเพราะในอนาคตจำนวนผู้สูงอายุจะมากขึ้น นอกจากนั้นเรากำลังขับเคลื่อนเรื่องสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน ซึ่งจากเดิมที่มีการจ่าย 30% ของเงินเดือนเป็นเวลา 90 วันกรณีลาออกจากงานและจ่าย 50% ของเงินเดือน เป็นเวลา 180 วันกรณีถูกเลิกจ้าง ซึ่ง สพท.และเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน(คปค.) ได้ขับเคลื่อนเพื่อขอให้ปรับเพิ่มเป็นจ่าย 75% ของเงินเดือน ระยะเวลา 180 วัน ไม่ว่ากรณีใดๆ เพื่อให้คนที่ว่างงานมีเงินพอที่จะยังชีพได้ในช่วงเวลาหางานใหม่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้แรงงานจำนวนมาก และถือเป็นผลงานที่สามารถจับต้องได้

นายมนัส โกศล กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมากระทรวงแรงงานก็รับเรื่องไปแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา และในวันที่ 9 มี.ค. นี้ ตัวแทนของ สพท.และคปค.จำนวนหนึ่งจะเดินทางไปติดตามความคืบหน้าเรื่องดังกล่าวที่กระทรวงแรงงาน และขอให้มีการนำเรื่องดังกล่าวเข้าพิจารณาในการประชุมบอร์ดประกันสังคมในวันที่ 10 มี.ค. นี้ ทั้งนี้คิดว่าหากรัฐบาลสามา่รถขับเคลื่อนเรื่องนี้ได้ จะเป็นผลงานชิ้นโบแดงของรัฐบาลและรมว.แรงงาน เพราะสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานยังไม่เคยปรับอัตราการจ่ายเลยตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งสภาวการณ์ปัจจุบันการว่างงานมากขึ้น มีการปิดโรงงานการลาออกจำนวนมาก เราจึงมองว่าการที่ลูกจ้างจะอยุู่ได้จึงต้องมีกองทุนว่างงานคอยสนับสนุนในอัตรา 75% ของเงินเดือน ระยะ 180 วัน 

เมื่อถามถึงกรณีที่กรุงเทพโพลล์เผยผลสำรวจซึ่งไม่พบว่า รมว.แรงงานมีผลงานเลยนั้น นายมนัส กล่าวว่า ตนมองว่า รมว.แรงงานมีผลงานอยู่บ้าง แต่อาจจะไม่เด่น ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการรับฟังปัญหาจากกลุ่มแรงงานที่เสนอไปและมีการแก้ไขปัญหาในภาพรวม.

เข้าพบปลัดกระทรวงแรงงาน เพื่อติดตามข้อเสนอเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่ลูกจ้าง

สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย นำโดย นายมนัส โกศล ประธานสภาฯ เข้ายื่นหนังสือกับรองปลัดกระทรวงแรงงาน ติดตามความคืบหน้า เรื่องขยายสิทธิประโยชน์ กรณีว่างงาน ในวันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 63 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. ณ กระทรวงแรงงาน

เวทีเสวนาเชิงนโยบาย “การพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ” และพิธีมอบโล่เกียรติยศและประกาศเกียรติคุณสถานประกอบการต้นแบบ

 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเวทีเสวนา “การพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ” จัดโดย สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย เน้นย้ำ ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะของคนทำงาน ส่งเสริมให้คนทำงานมีสุขภาพอนามัยที่ดี

         วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09.15 น. หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดเวทีเสวนาเชิงนโยบาย “การพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ” จัดโดย สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมี พลโทนันทเดช เมฆสวัสดิ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน คณะผู้บริหารกระทรวงแรงงาน นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน ผู้นำสมาคม คณะกรรมการกำกับทิศทางแรงงานฯ สสส. ผู้บริหารสถานประกอบการ และสมาชิกชมรมด้านแรงงาน จำนวนกว่า 300 คน เข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุมจอมพล ป.พิบูลสงคราม ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน
         หม่อมราชวงศ์จัตุมงคลฯ กล่าวว่า เวทีเสวนาเชิงนโยบายในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อพัฒนากลไกความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ นายจ้าง หรือเจ้าของสถานประกอบการและองค์กรแรงงานในสถานประกอบการ นักวิชาการ การพัฒนาแนวทางการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ เสริมศักยภาพผู้นำแรงงานและองค์กรเครือข่ายให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิและบริการการคัดกรองโรคเนื่องจากการทำงานและไม่เนื่องจากการทำงาน เพื่อให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขระเบียบหรือแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง โดยการสร้างเสริมสุขภาวะของคนทำงาน เป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเมื่อคนทำงานมีสุขภาพที่ดี ย่อมส่งผลต่อศักยภาพในการทำงาน เกิดความพร้อมในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นกำลังสำคัญในการสร้างผลิตภาพและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ซึ่งการดำเนินการเชิงป้องกันและส่งเสริมเพื่อให้คนทำงานมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีความคุ้มค่ามากกว่าการรักษา หรือฟื้นฟูให้สุขภาพกลับคืนมา
         “การดำเนินการสร้างเสริมสุขภาวะของคนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง ตลอดจนภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีการดำเนินโครงการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการครั้งนี้ขึ้น ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของการร่วมสร้าง ร่วมมี ร่วมธำรงไว้ เพื่อให้คนทำงานมีระบบของการมีสุขภาพอนามัยที่ดี อันเกิดจากการบูรณาการขับเคลื่อนกิจกรรมการสร้างสุขภาวะคนทำงานที่มีทุกภาคส่วนร่วมกันดำเนินการ” รมว.แรงงาน กล่าวในท้ายสุด
         ทั้งนี้ โดยกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย พิธีมอบโล่เกียรติยศและใบประกาศเกียรติคุณ 22 สถานประกอบการต้นแบบ โดยนายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน และเวทีเสวนา “การพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการ” จากผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง
สพท.เข้าพบปลัดกระทรวงแรงงาน ติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2563 ณ กระทรวงแรงงาน สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) องค์กรแรงงาน และภาคีเครือข่าย ได้มีข้อเสนอต่อท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ต่อมาเมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงแรงงานเข้าร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว   ๒ ประเด็น ดังนี้  

ข้อ ๑. ปฏิรูปเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตน
-      กรณีลูกจ้าง(ผู้ประกันตน) ถูกเลิกจ้าง ลาออกจากงาน หรือพ้นจากการเป็นลูกจ้าง ไม่ว่ากรณีใดๆให้ได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานในอัตราเดียวร้อยละ ๗๕ ของค่าจ้างระยะเวลาจ่าย ๑๘๐ วัน

ข้อ ๒. รัฐต้องจัดสรรงบประมาณเพิ่ม“กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง” ๑,๐๐๐ ล้านบาทในปีงบประมาณ ๒๕๖๓

-      ขยายวงเงินช่วยเหลือลูกจ้างในกรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย ค่าจ้าง หรือเงินตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ (ฉบับที่ ๗) แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๖๒ โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

ทำงานครบ   ๑๒๐  วัน        แต่ไม่ครบ  ๓  ปี     จ่ายให้   ๙๐    วัน

ทำงานครบ       ๓  ปี          แต่ไม่ครบ ๑๐ ปี  จ่ายให้   ๑๘๐  วัน

ทำงานครบ      ๑๐ ปี          แต่ไม่ครบ ๒๐ ปี  จ่ายให้   ๒๔๐  วัน

ทำงานครบ       ๒๐ ปี             ขึ้นไป  จ่ายให้  ๓๐๐  วัน

หน้า 7/38
[ก่อนหน้า]   1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38  [ถัดไป]
[Go to top]



dot
เกี่ยวกับ สพท.
dot
bulletประวัติความเป็นมา
bulletวิสัยทัศน์
bulletนโยบาย
bulletคณะกรรมการบริหาร
bulletคณะที่ปรึกษา
bulletเจ้าหน้าที่สภาฯ
dot
ทั่วไป
dot
bulletกฎหมาย
bulletค่าจ้างขั้นต่ำ
bulletกิจกรรมสภาฯ
bulletกิจกรรมสภาพแรงงาน
bulletปรึกษาคดีแรงงาน
bulletถาม - ตอบ
bulletสรุปสาระสำัคัญเปรียบเทียบพรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 กับร่างพรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ....(ฉบับผู้ใช้แรงงาน)
bulletข้อเสนอ พ.ร.บ.ประกันสังคม ฯ มาตรา 8


กระทรวงแรงงาน
ฐานเศรษฐกิจ
ข่าวสด


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย
เลขที่ 25/59 ซ.วิภาวิลล์แมนชั่น ถ.สุขุมวิท
ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270
โทร.02-7552165 โทรสาร 02-7565346 กด 0
Email : ctl_manas@hotmail.com
http://www.ctl.or.th